
พระพุทธคุณเกิดแต่..."พุทธาภิเษก-ปลุกเสก"
พระพุทธคุณเกิดแต่..."พุทธาภิเษก-ปลุกเสก" : ชั่วโมงเซียน โดย อ.ยุทธ โตอดิเทพ
"เสือปืนแตก" ของสำนักวัดตะเคียน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบัน และเนื่องในโอกาสที่หลวงปู่แย้ม เจริญอายุวัฒนะครบ ๘ รอบ ๙๖ ปี โดย พระครูสมุห์สงบ กิตติญาโณ พระเลขาฯ และคณะศิษย์ได้จัดสร้าง "เสือปืนแตกยันต์กลับ รุ่น ๘ รอบ บารมี ๙๖" โดยนำชนวนมวลสาร โลหะเสือปืนแตกทุกรุ่น ตะกรุดคอหมารุ่นเก่า แผ่นจารยันต์นับ ๑๐๘ ที่หลวงปู่มอบให้พระครูสมุห์สงบเก็บรักษาไว้ นำมาหล่อหลอมอย่างครบถ้วนบริบูรณ์
ทั้งนี้ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างครบเครื่องจากพระเกจิดังแห่งยุค ๕ ภาค เช่น หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี หลวงพ่อวงศ์ วัดประชาวงศาราม จ.สุราษฎร์ธานี หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี ครูบาเหนือชัย วัดถ้ำอาชาทอง ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา และเกจิสายเขาอ้อ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
และปลุกเสกอีกครั้งในคืนวันที่พฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นคืนวันลอยกระทง โดยผู้ที่ร่วมงานพิธีอาบน้ำเพ็ญทางวัดได้นำเสือออกมาแจกฟรีแก่ผู้ร่วมงานทุกท่าน
ธาตุ หรือกระดูกคนตาย หรือสิ่งอื่น และตัวทำแข็ง ทำเหลว ตัวยึดติด อาจเป็นเป็นน้ำมันเหลวแห้งได้ดีเมื่อรมด้วยควันไฟ เช่น ตังอิ๊วที่มีกลิ่นหอม ยางไม้รมบาตรมาจากประเทศจีนมีราคาแพง หรือน้ำมันชนิดอื่น หรือการทำด้วยปูนปลาสเตอร์ (ปูนปารีส) ชนิดแห้งไว หรือหล่อด้วย ธาตุแข็งชนิดอื่น เช่น ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว ทองขาว เหล็ก อื่นๆ หรือด้วยพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุต่างๆ แล้วนำมาปลุกเสก เรียกเป็นภาษาราชการว่า ทำพิธีกรรม
ที่ทราบกันดีคือการพุทธาภิเษก หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง ของมงคล ตามพิธีกรรมที่สืบทอดกันมา หรือทำให้สิ่งธรรมมีชีวิตทางไสยวิทยาขึ้นมา จนเสร็จพิธี ส่วนต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเสร็จตามขั้นตอน แบบที่คติชนวิทยา หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะยอมรับว่าสิ่งนั้นศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วยพิธีกรรมเหล่านี้แล้ว จะปรากฏออกมาในท้องตลาด หรือในสังคมทั่วไปทุกระดับ เช่น พระเครื่อง วัตถุมงคล รุ่นต่างๆ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
พิธีพุทธาภิเษกแล้ว สามารถใช้ป้องกันตัว หรือเก็บพกพาติดตัวเป็นมงคลอื่นๆ เช่น ยิงรันฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาด กันผี บำรุงขวัญ เป็นเสน่ห์ เป็นมงคล เมตตามหานิยม ค้าขายดี มีหลายรูปแบบ เช่น สมเด็จรุ่นแรก วัดระฆัง ที่เชื่อว่าปลุกเสกออกมาโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรํสี) วัดระฆัง เป็นต้น
การปลุกเสกยังแยกออกไปอีกเช่น การปลุกเสกด้วยน้ำธรรมดาเพื่อเสกให้เป็นน้ำมนต์ เพื่อรดป้องปัดรังควาญเสนียดจัญไร เป็นต้น
จุดสำคัญเพื่อให้รำลึกในคุณพระรัตนตรัยเท่านั้น และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวโดยมีสิ่งที่กำหนดนี้เป็นสื่อ เมื่อเชื่อเช่นนี้แล้ว ประกอบด้วยพิธีกรรมที่มีลักษณะคล้ายการปลุกเสกนี้ขึ้น ที่เชื่อว่าจะบำรุงขวัญคนได้ ทำให้รักษากายใจได้ ถือว่าเป็นเรื่องจิตบำบัดชนิดหนึ่งและในพุทธศาสนาสิ่งสำคัญตรงนี้คือต้องยึดศีล ๕ เป็นประการสำคัญด้วย และไม่งมงาย
การบริกรรม การภาวนา การปลุกเสก ที่สามารถทำให้แก้โรคห่าลงเมืองได้ ด้วยพระปริตรที่พระในพระพุทธศาสาสวดใช้กันตามปกติทุกวัน อาทิบท "ยานี" เป็นต้น จะพบเสมอที่เรียกว่า "การสวดพระพุทธมนต์ และการเจริญพระพุทธมนต์ " ของพระสงฆ์ ตามลำดับ ผลของการปลุกเสกจะทำให้จิตใจผู้ใช้มีสมาธิ มีขวัญดี มีความเชื่อมั่นตนเองขึ้น มีผลดีทางจิตวิทยามากมาย การปลุกเสกดังกล่าวนี้กล่าวเฉพาะฝ่ายดีเท่านั้น
เล่นของ เช่นคนธรรมดา อยากจะปลุกพระเครื่อง เขาจะนั่งสมาธิ บริกรรมคาถาในสูตรของเขา มีมือกำพระเครื่องไว้ในอุ้งมือแน่น แล้วภาวนา หลับตาอย่างมีสมาธิแน่วแน่ตามสูตร จนพระเครื่องหรือสิ่งของที่ปลุกเสกนั้นขึ้น คนที่ทำคือคนที่ปลุกเสกจะมีอาการเต้นสั่นบ้างบางครั้ง ขณะเต้นไม่มีใครเอาอยู่จนกว่าจะมีกำลังเหนือปกติขึ้นมา จนปล่อยพระเครื่องหรือวัตถุที่ปลุกเสกนั้นออกจากมือของคนปลุกเสก อาการก็จะหมดไป นี่เป็นตัวอย่าง
ไว้ หรือเป็นโยคีหนึ่งระยะ และยังมีอีกหลายวิธีตามแต่ละสำนึกสืบทอดกันมา บางอย่างมาจากพราหมณ์ บางอย่างมาจากศาสนาอื่น บางอย่างมาจากพุทธ (ทางพุทธศาสนาไม่ส่งเสริมเรื่องนี้ทีเดียว) บางอย่างมาจากผีบรรพบุรุษ บางอย่างมาจากคติชนวิทยาทั่วไป
เสกในโบสถ์-เสกในกุฏิ
ปัจจุบันประเพณีการปลุกเสกในโบสถ์คงทำเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนทั้งหลายว่าของนี้ได้มีการสร้างจริง มีจำนวนแบบนี้ๆ และคงถือกันว่าโบสถ์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่สุดในวัดเป็น เขตบริสุทธิ์ที่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา ถือเป็นเขตของพุทธจักรไม่ใช่อาณาจักร ยกถวายพระพุทธเจ้าแล้ว รวมถึงจะได้อาราธนาบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในโบสถ์ มาอำนวยพรให้วัตถุมงคลที่ปลุกเสก
ท่านปลุกเสกได้เต็มที่ ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงการไหว้พระเวลากลางคืนหรือช่วงเช้ามืด บางเกจิอาจารย์ก็ปลุกเสกในเวลาดึกสงัด การปลุกเสกแบบนี้ย่อมเพ่งสมาธิได้นานตามที่ต้องการ เพราะทั้งเป็นเวลาที่สะดวกและไม่มีใครรบกวน อีกทั้งในห้องที่กุฏิต้องมีรูปสักการะ ตำรับตำราของครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาต่างๆ ให้ ถือได้ว่าเป็นการปลุกเสกต่อหน้าครูบาอาจารย์น่าจะเป็นการปลุกเสกที่ดีเช่น เดียวกัน ทั้งระยะเวลาในการนั่งปลุกเสกและสถานที่
ท่านเป็นหลัก เพราะเป็นการปลุกเสกต่อหน้าโต๊ะหมู่บูชาที่มีครูบาอาจารย์และปลุกเสกได้ตลอดเวลาไหนที่ว่างและ จิตพร้อมทั้งตอนเช้ามืด กลางคืนหรือดึกๆ ของเก่าๆ ล้วนปลุกเสกในกุฏิทั้งนั้น