คอลัมนิสต์

ย้อนรอย เผาวรรณคดี ไม่จบที่รุ่น 14 ตุลา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนรอย เผาวรรณคดี ไม่จบที่รุ่น 14 ตุลา กงล้อหมุนกลับ ปรากฏการณ์นักเรียนเลว เหมือนย้อนรอยอดีตนักเรียน รุ่น 14 ตุลา 

++
ปฏิบัติการ “นักเรียนเลว” ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ ถ.ราชดำเนิน ยังมีข้อถกเถียงตามมาอีกหลายประเด็น
 

จรัล ดิษฐาอภิชัย ได้โพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับม็อบนักเรียนเลว ว่า “มีลักษณะประวัติศาสตร์คือ เหตุการณ์ไม่เคยเกิดมาก่อน  จักต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเคลื่อนไปข้างหน้า  ส่วนเป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพราะมุ่งขจัดความติด ความเขื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณีเก่า สร้างแบบใหม่”

 

อ่านข่าว... เปิด 10 ข้อ "กลุ่มนักเรียนเลว" จะไม่ทน

อ่านข่าว... ยุคแสวงหา'นักเรียนเลว'กับ 'นักเรียนรักชาติ'

 


 

ย้อนรอย เผาวรรณคดี ไม่จบที่รุ่น 14 ตุลา

การเคลื่อนไหวของนักเรียนยุค 14 ตุลา

 

จริงๆแล้ว การลุกขึ้นมาชูแนวปฏิวัติการศึกษาไทย ไม่ใช้เพิ่งเกิดขึ้น “จรัล” ก็อยู่ในขบวนการปฏิวัติวัฒนธรรมสมัยโน้นด้วย
 

รวมถึง “คนเดือนตุลา” น่าจะจดจำบรรยากาศสมัยโน้นได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นมีการจัดพิมพ์หนังสือ “การศึกษาเพื่อมวลชน” , “โรงเรียนตายแล้ว”  ก่อผลสะเทือนถึง “ผู้ใหญ่” ในกระทรวงศึกษาฯอย่างมาก


++
ชำแหละหลักสูตร
++
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พายุสังคมนิยมพัดแรงจัด ขบวนการนักศึกษาไทยเอียงไปข้างซ้าย มีการจัดนิทรรศการจีนแดง ที่หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ มีประชาชนเข้าร่วมชมงานคึกคัก
 

หลายคนคงจำได้มีการวิพากษ์ระบบการศึกษาแบบเก่าว่า เป็นการศึกษาแบบล้าหลัง รับใช้สังคมทุนนิยม และใช้ระบบแพ้คัดออก ทำให้ชนชั้นล่างมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ยาก
 

 

 

ย้อนรอย เผาวรรณคดี ไม่จบที่รุ่น 14 ตุลา

นสพ.กำแพง ของนักเรียนหัวก้าวหน้า

 

 

เดือน มี.ค.2518 ศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย และศูนย์กลางนักศึษาครูแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด “นิทรรศการชำแหละหลักสูตร” ขึ้นที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วิจารณ์แง่มุมต่างๆ ของระบบการศึกษาไทย เสนอยกเลิกความสัมพันธ์ครู-นักเรียนที่เป็นระบบเจ้าคนนายคน ต้องให้เรียนแบบประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน ต้องสร้างจิตสำนึกทางการเมืองไม่ใช่กีดกันเด็กออกจากการเมือง 

++
เผาวรรณคดีไทย
++
อิทธิพลของแนวคิดสังคมนิยม ทำให้นักศึกษากลายเป็นแนวหน้าในการวิพากษ์วัฒนธรรมเก่าด้วยการเสนอคำขวัญ “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” มาหักล้างแนวทางศิลปะแบบเก่า โดยการวิพากษ์ว่า แนวทางศิลปวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่นั้น เป็นศิลปะที่มุ่งรับใช้ชนชั้นปกครองศักดินาและทุนนิยม เพื่อจะมอมเมาให้ประชาชนพร่ามัวอยู่กับความล้าหลัง และยอมรับการครอบงำของชนชั้นปกครอง 


 

ย้อนรอย เผาวรรณคดี ไม่จบที่รุ่น 14 ตุลา

ขบถการศึกษา ยุคดิจิตอล

 

ปี 2518 ได้มีการจัดนิทรรศการ “เผาวรรณคดี” โดยสาระคือการนำเอาวรรณคดีทั้งหลาย ที่ถือกันว่าทรงคุณค่ามาวิพากษ์วิจารณ์ให้เห็นด้านที่เป็นวรรณกรรมรับใช้ชนชั้นศักดินา 
 

แล้วความฝันของคนหนุ่มสาวเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ก็จบลงที่การรัฐประหาร 6 ต.ค.2519 
 

ตัดกลับมา พ.ศ.ปัจจุบัน กลุ่มนักเรียนเลว กำลังเสนอให้รื้อตำราประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งกรณีดังกล่าว ก็เป็นมรดกตกค้างมาแต่ยุค 14 ตุลานั่นเอง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ