ชีวิตดีสังคมดี

สปสช. เปิดเผยผลสำรวจรูปแบบ Convergence Media

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สปสช. เปิดเผยผลสำรวจ การสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายและบริการใหม่ในระบบหลักประกันสุขภาพในรูปแบบ Convergence Media

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายและบริการใหม่ในระบบหลักประกันสุขภาพในรูปแบบ Convergence Media ซึ่งได้ทำการสำรวจผ่าน Google Form 

 

เปิดให้ประชาชนร่วมตอบแบบสอบถามช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ย. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจ และความพึงพอใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประชาชน รวมถึงข้อเสนอแนะและปัญหาการเข้าถึงสิทธิและบริการ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการประชาชนให้มากยิ่งขึ้น 
 

ทั้งนี้มีประชาชนร่วมตอบแบบสำรวจำนวน 444 คน เป็นเพศหญิง 261 คน คิดเป็นร้อยละ 58.8 เป็นเพศชาย 183 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 กลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.4  ช่วงอายุ 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.0 ช่วงอายุ 15-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.6 ช่วงอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 13.5 และช่วงอายุมากกว่า 61 ปี คิดเป็นร้อยละ 7.4 

 

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นการสร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายและบริการใหม่ในระบบหลักประกันสุขภาพในรูปแบบ Convergence Media

 


มีการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า 213 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 รองลงมาเป็นปริญญาตรี/เทียบเท่า 144 คน คิดเป็นร้อยละ 32.4 ระดับมัธยมศึกษา/เทียบเท่า 54 คน คิดเป็นร้อยละ 12.2 และระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า  21 คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเป็นข้าราชการ/ลูกจ้างรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 นักเรียน/นักศึกษา 63 คน คิดเป็นร้อยละ 14.2 อาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 พนักงานเอกชน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 12.8 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ  39 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8  อาชีพเกษตร/ประมง 18 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1 และผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป 15 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 


ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาท 102 คน คิดเป็นร้อยละ 23.0  รายได้  30,001-40,000 บาท 72 คน คิดเป็นร้อยละ 16.2  รายได้ 20,001-30,000 บาท 48 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8  รายได้ 10,001-20,000 บาท 63 คน คิดเป็นร้อยละ 14.2  และรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 78 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ไม่มีรายได้ จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 และมี 12 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 ไม่ใส่ข้อมูล
 

ในส่วนของสิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นสิทธิประกันสังคม 177 คน คิดเป็นร้อยละ 39.9 สิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์กรของรัฐ/องค์กรปกครองท้องถิ่น 108 คน คิดเป็นร้อยละ 24.3  สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 90 คน คิดเป็นร้อยละ 20.3 สิทธิประกันสุขภาพเอกชน/ประกันชีวิต 30 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 และผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่มีสิทธิใดๆ  27 คน คิดเป็นร้อยละ 6.1 และอื่นๆ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7


ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลในส่วนของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง จำนวน 424 คน หรือสูงถึงร้อยละ 95.5 ไม่รู้จักมีเพียง 20 คน หรือร้อยละ 4.5 เท่านั้น และส่วนใหญ่ยังทราบว่า สปสช. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบสิทธิบัตรทอง โดยมีผู้ตอบ 369 คน หรือร้อยละ 83.1 นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังทราบถึงช่องทางสายด่วน สปสช. 1330 ในการติดต่อสอบถามสิทธิบัตรทอง 215 คน หรือร้อยละ 48.4 และมีผู้ที่เคยใช้สิทธิบัตรทอง 183 คน หรือร้อยละ 42.3 โดยเป็นบริการผู้ป่วยนอกมากทีสุด 141 คน หรือร้อยละ 45 รองลงมา เป็นบริการทันตกรรม 85 คน หรือร้อยละ 27.2 และบริหารผู้ป่วยใน 46 คน หรือร้อยละ 14.7 

 

สำหรับในส่วนของการรับรู้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างมีการรับทราบ ดังนี้ 


-บริการโรคมะเร็งรับบริการที่ไหนก็ได้ (ทั่วประเทศ) รับทราบ 117 คน คิดเป็นร้อยละ 26.4  และไม่ทราบ 327 คน คิดเป็นร้อยละ 73.6


-บริการสายด่วนเลิกบุหรี่ และสายด่วนสุขภาพจิต ทราบ 141 คน คิดเป็นร้อยละ 31.8 ไม่ทราบ 303 คน คิดเป็นร้อยละ 68.2          

 
-ริการทันตกรรมรักษาไปรับบริการระดับปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ทราบ 159 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8 ไม่ทราบ 285 คน คิดเป็นร้อยละ 64.2 


-บริการการแพทย์ทางไกลดูแล 42 กลุ่มโรค ผ่าน 4 แอปสุขภาพ รับทราบ 69 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 ไม่ทราบ 375 คน คิดเป็นร้อยละ 84.5


-บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 6 รายการที่ร้านยา รับทราบ 117 คน คิดเป็นร้อยละ 26.4  ไม่ทราบ 327 คน คิดเป็นร้อยละ 73.6


-บริการถุงยางอนามัย ผ่านตู้จ่ายถุงยางอนามัยอัตโนมัติ “เลิฟปัง รักปลอดภัย” รับทราบ 129 คน คิดเป็นร้อยละ 29.1 ไม่ทราบ 315 คน คิดเป็นร้อยละ 70.9 และ


-ผู้มีสิทธิบัตรทอง “เปลี่ยนหน่วยบริการประจำใช้สิทธิรักษาได้ทันที” รับทราบ 213 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 ไม่ทราบ 231 คน คิดเป็นร้อยละ 52.0 


-บริการส่งเสริมป้องกันทันตกรรมในโรงเรียนด้วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ทราบ 180 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5 ไม่ทราบ 264 คน คิดเป็นร้อยละ 59.50 


-บัตรทองครอบคลุมบริการผ่าตัดตาต้อกระจก/เลนส์แก้วตาเทียม และข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับทราบ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 และไม่ทราบ 252 คน คิดเป็นร้อยละ 56.8


-สิทธิบัตรทองตัดสินใจร่วมกับแพทย์ เลือกวิธีล้างไตแบบที่ใช่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับทราบ 150 คน คิดเป็นร้อยละ 33.8 และไม่ทราบ 294 คน คิดเป็นร้อยละ 66.2 

           
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจ ต่อการรับบริการสาธารณสุขโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผลที่ได้อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจสูงสุดได้แก่ การบริการผู้ป่วยรับยาใกล้บ้าน รองลงมาได้แก่ การคัดกรองโรคโควิด-19 และข้อที่ผู้ป่วยโควิด-19 รักษาโรงพยาบาลรัฐ/เอกชน ฟรี ส่วนที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ การให้บริการ เช่น ลงทะเบียนใช้สิทธิ, รอคิวตรวจ เป็นต้น ส่วนคำถามด้านการรับรู้ความเข้าใจต่อการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า โดยในประเด็นการจ่ายค่าใช้ค่าบริการสาธารณสุข โดยใช้สิทธิบัตรทองนั้น กลุ่มตัวอย่าง 
358 คน คิดเป็นร้อยละ 80.6 ไม่เคยเสียค่าใช้จ่าย โดยมีเพียง 86 คน หรือร้อยละ 19.4 เท่านั้นที่เคยเสียค่าใช้จ่าย 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ