วันนี้ในอดีต

4 ม.ค. 2437 สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร" พระองค์แรกแห่งสยาม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รักใคร จะรักแม้น ชนกนารถ รักบอยากจะคลาด สักน้อย รักใด จะมิอาจ เทียมเท่า ท่านนา รักยิ่งมิอาจคล้อย นิราศแคล้ว สักวัน

          วันนี้เมื่อ 124 ปีก่อนนับเป็นอีกวันที่ชาวไทยต้องโศกอาดูร เมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ต้องมาสิ้นพระชนม์ในพระชันษาที่น้อยนักเพียง 1 6 พรรษา

          ย้อนกลับไปในวันวาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 แรม 12 ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จ.. 1240 ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.. 2421

 

4 ม.ค. 2437  สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร"  พระองค์แรกแห่งสยาม

     

    พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์, สมเด็จเจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร, สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)

          ทั้งนี้ ภายหลังการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.. 2428 ก็ไม่มีการสถาปนาผู้ใดขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และอาจทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจสับสน

          จากนั้นจึงทรงมีพระราชดำริว่า พระราชอิสริยยศ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งเรียกว่า "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศที่มีราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นมกุฎราชกุมารดำรงตำแหน่งรัชทายาท

          ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธยสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.. 2429 มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า

 

4 ม.ค. 2437  สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร"  พระองค์แรกแห่งสยาม

 

          สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร”

          ซึ่งนั่นก็ได้นับเป็นครั้งแรก!! ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท แทนตำแหน่ง “พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในการนี้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ได้ส่งโทรเลขมาอำนวยพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วย

          เมื่อพระองค์มีพระชันษาครบ 13 พรรษา ล้นเกล้ารัชกาลที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่โตซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-25 มกราคม พ.. 2433

 

4 ม.ค. 2437  สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร"  พระองค์แรกแห่งสยาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีโสกันต์

 

          จากนั้นได้ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.. 2434 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ 22 มกราคม พ.. 2434 จึงลาผนวช

          สำหรับพระราชกรณียกิจ นั้น พระราชบิดาและพระองค์ขณะเสด็จออกรับซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่ประพาสสยาม เมื่อปี พ.. 2434 หลังจากที่ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เสด็จออกรับแขกเมืองและรับฎีกาของราษฎรแทนพระองค์ รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในงานต่าง ๆ อยู่เสมอ

          ในส่วนของราชการทหารนั้น พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งผู้ว่าการแทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหารจนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วยพระองค์เอง

 

4 ม.ค. 2437  สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร"  พระองค์แรกแห่งสยาม

 

          เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรทหารโดยให้ดำรงพระยศที่นายร้อยโท

          แต่ช่างน่าเศร้าใจ ไม่นานหลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ประชวรด้วยพระโรคไข้รากสาดน้อย จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันศุกร์ เดือน 2 ขึ้น 9 ค่ำ ปีมะเมียฉศก จ.. 1256 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ.. 2437 ขณะมีพระชนมายุ 16 พรรษา 6 เดือน กับ 7 วัน

          คนไทยได้สูญสิ้น หนึ่งหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ ผู้ที่ได้ชื่อว่า ทรงเจริญพระชนมายุเข้าสู่วัยหนุ่ม และมีพระโฉมงดงามเป็นสง่า และทรงด้วยพระสติปัญญารอบรู้ และทรงได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระราชบิดาอย่างใกล้ชิด ในทางหนึ่งยังว่ากันว่า พระองค์นั้น ทรงเป็นราชโอรสที่ซุกซนโลดโผน ห้าวหาญ และแข็งกล้าอย่างเด็กผู้ชาย แตกต่างจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (ต่อมาคือ มกุฏราชกุมารองค์ต่อมา) พระอนุชาต่างพระมารดา กลับมีอุปนิสัยสุภาพอ่อนโยน โปรดการนั่งพับเพียบเรียบร้อย

     

    นอกจากนี้ยังทรงสนพระทัย การจดไดอารี และยังทรงทรงแต่งโคลงไว้หลายบท อาทิ โคลงว่าด้วยรักซึ่งพระองค์ทรงแต่งขึ้นเพื่อถวายพระบรมชนกนาถสำหรับลงหนังสือวชิรญาณ ความว่า

          รักใครจะรักแม้น                                          ชนกนารถ

          รักบอยากจะคลาด                             สักน้อย

          รักใดจะมิอาจ เทียมเท่า                      ท่านนา

          รักยิ่งมิอาจคล้อย นิราศแคล้ว              สักวันฯ

          และพระองค์ทรงบันทึกถึงเรื่องการแต่งนิทานเป็นภาษาอังกฤษเพื่อไปลงหนังสือ Little Folks ของประเทศสิงคโปร์และทรงได้รับรางวัลด้วย ในช่วงท้าย ๆ ของบันทึก เมื่อมีพระชันษาได้ 13-14 ปี ทรงบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งทรงศึกษาจากครูฝรั่ง และทรงเรียกพระบรมชนกนาถในไดอารีว่า Papa

          แต่หลังจากวันพุธที่ 24 มีนาคม พ.. 2436 ทรงบันทึกข้อความสั้นๆ ว่า

          “At 6 o'clock we returned on board and sailed about 3.”

          หลังจากนั้นก็มิได้บันทึกอะไรต่ออีก สันนิษฐานว่าทรงเริ่มมีพระอาการประชวรแล้ว

          จนอีกสิบเดือนต่อมาก็เสด็จสวรรคต

 

4 ม.ค. 2437  สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร"  พระองค์แรกแห่งสยาม

 

          สมุดจดบันทึกรายวันเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ "จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ" โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งมีการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 23 เมษายน พ.. 2499

          อ่านบันทึกอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ได้ตามลิงค์นี้ http://ebookstou.org/view/0000358600000001738910162/index/

/////////////

 

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

และเวบไซต์ www.ebookstou.org

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ