ข่าว

เรื่องราวการเหยียด “สีผิว- ชาติพันธุ์” ในเกมฟุตบอล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย ธนรัชต์ คูสมบัติ facebook.com/Tanaruch.Kusombut

ปัญหาการเหยียดสีผิวและชาติพันธุ์ในโลกฟุตบอลยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง  ช่วงปี 2017 ที่ผ่านมาเกิดกรณีใหญ่ๆเช่นการสอบสวนแฟนบอลบาสเตียกรณีทำท่าลิงล้อเลียน “มาริโอ บาโลเตลี่”  ขณะที่  “ซุลลี่ย์ มุนตารี่”  ของเปสคาร่าถูกแฟนบอลกายารี่ตะโกนด่า จนเดินออกจากสนามไปเฉยๆ และที่แรงสุดๆคงหนีไม่พ้นแฟนบอล  ดินาโม เคียฟ” แสดงพฤติกรรมสวมเสื้อผ้าสีขาวทั้งตัว พร้อมร้องเพลงเกี่ยวกับสีผิว ในเกมกับ ชัคตาร์ โดเน็ตส์ค

ปัญหาดังกล่าวต่างเกิดขึ้นจากปัญหาเชิงโครงสร้างความเชื่อทางสังคมที่บิดเบี้ยวและไม่ผ่านพ้นยุคสมัยจนส่งผลมาถึงปัจจุบัน ไม่เว้นแม่แต่ในเกมกีฬา

 

กองเชียร์ชาตินิยมหัวรุนแรงในอังกฤษ


"Stand by the Union Jack

Send those niggers back

If you're white, you're alright

If you're black, send 'em back"

 

หนึ่งในเนื้อเพลงเชียร์ทีมชาติอังกฤษยอดฮิตของเหล่ากองเชียร์ “ชาตินิยมหัวรุนแรง” (Hooligans patriotism) ในอดีต เป็นหลักฐานความด่างพร้อยของวงการฟุตบอลอังกฤษ ถึงทัศนคติที่คับแคบในการเปิดรับความแตกต่างทางชาติพันธุ์
เพลงเชียร์ที่มีท่วงทำนองและเนื้อหาดูถูกและเหยียดสีผิว เป็นที่นิยมและได้ยินบ่อยครั้งในสนามฟุตบอลยุคทศวรรษที่ 1970 และ1980  ซึ่งนอกจากการการร้องเพลงประสานแล้วยังทำเสียงและท่าทางแบบ “ลิง” เพื่อล้อเลียนยั่วยุนักเตะผิวสีในสนาม

 

ผู้เล่นผิวดำเองมิใช่ว่าจะเป็นเป้าหมายกลุ่มเดียวเท่านั้น พวกชาตินิยมหัวรุนแรงยังมีเป้าหมายยั่วยุ เสียดสี นักฟุตบอล และแฟนฟุตบอลต่างชาติพันธุ์ของสโมสรอื่น เช่นกลุ่มแฟนบอลหรือนักเตะทีมีเชื้อสายยิว

แฟนฟุตบอลที่โดนเหยียดในเรื่องดังกล่าวบ่อยที่สุดคือแฟนบอลทีม “ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์”  ซึ่งส่วนมากมีเชื้อสายยิว โดยใช้เนื่อเพลงเชียร์ที่ว่า 

 

"Those yids from Tottenham

The gas man's got them

Oh those yids from White Hart Lane”

 

แนวคิดสังคมวิทยาจากสำนักเบอร์มิงแฮม เชื่อว่าต้นกำเนิดของกองเชียร์ “ชาตินิยมหัวรุนแรง” มาจากค่านิยม "ขวาจัด"  เริ่มตั้งแต่ในทศวรรษที่ 1930 กลุ่มสหภาพอังกฤษ “British Union of Fascists” ได้ทำร้ายแฟนบอลชนชั้นกรรมชีพ จนเกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต

 

จนมาถึงทศวรรษที่ 70 ในอังกฤษ เหล่าแฟนบอลขวาจัดพัฒนากลายเป็นฮูลิแกนส์ สร้างความวุ่นวายในวงการฟุตบอล โดยกลุ่มที่เคลื่อนไหวสำคัญคือกลุ่ม “แนวร่วมแห่งชาติ” (The National Front) อีกทั้งออกนิตยสารที่ชื่อว่าบูลล์ด็อกมีเนื้อหา "การเหยียดสีผิว-ชาติพันธุ์" แฝงอยู่ในเรื่องราวของฟุตบอลจนถึงกับมีแฟนบอลหลายทีม อย่างเช่น เวสต์แฮม,เชลซี, ลีดส์ ยูไนเต็ด, ,มิลล์วอลล์, นิวคาสเซิล และ อาร์เซนอล

โดยนำเอาประโยคเด็ดในนิตยสารฉบับนี้ที่ว่า "most racist ground in Britain' มาเป็นสโลแกนของทีม

เข้าสู่ยุคทศวรรษที่ 80-90 เป็นยุคที่ฮูลิแกนส์ขวาจัดของอังกฤษเติบโตแบบขีดสุด มีการจับกลุ่มไปเชียร์พร้อมทั้งสร้างความวุ่นวายนอกประเทศ 

เหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำอันไม่น่าอภิรมย์ เกิดขึ้นในปี 1995 ที่อังกฤษ บุกไปอุ่นเครื่องกับไอร์แลนด์ที่กรุงดับลิน การปะทะกันของแฟนบอลทั้งสองฝ่ายทำให้เกมต้องยุติลง กลุ่มสนับสนุนพรรคชาตินิยม ถูกระบุว่าเป็นสาเหตุความรุนแรง มีการร้องเพลงเชียร์เสียดสีและด่าทอชาวไอริช 

แม้ว่าจะมีการยับยั้บที่เป็นรูปธรรมถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในอังกฤษ แต่นก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการลงโทษบปัจเจกบุคคลทำได้ยาก ทั้งจากเรื่องการหาหลักฐานและเจาะจงหาผู้กระทำผิด เพราะบนอัฒจันทร์ที่คละเคล้าไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตานั่นเอง

 

ลัทธิเหยียดชาติพันธุ์ในยุโรป

ขณะที่ในยุโรป ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับอังกฤษ แต่จะถูกนำโดยกลุ่ม ลัทธินาซีใหม่” (Neo-nazi) และกลุ่ม “ลัทธิฟาสซิสต์ใหม่” (Neo-fascist) กรณีของ รอนนี่ โรเซนธาล” ผู้เล่นเชื่อสายยิวไม่สามารถลงเล่นในอิตาลี กับต้นสังกัดอย่างอูดิเนเซ่แม้แต่เกมเดียว มาจากการกดดันของแฟนบอล Neo-fascist ของทีม

ขณะที่ “อารอน วินเตอร์” ก็ประสบปัญหาคล้ายกันที่ลาซิโอ เนื่องด้วยการมีเชื่อสายซูไรนาม ทำให้แฟนบอล Neo-fascist  ของทีมถึงกับทำป้ายขับไล่เขาด้วยข้อความ 'Niggers and Jews Out' 

“เยอรมนี” ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่แฟนบอลฝ่ายขวามีความแข็งแกร่งและเป็นกลุ่มก้อนสูง โดยเฉพาะกลุ่ม Neo-nazi  ที่มักทำร้าย-ข่มขู่นักเตะผิวสีใช้การแข่งขันฟุตบอลเป็นโอกาสในการจัดตั้งกลุ่มโจมตีชนกลุ่มน้อยในแต่ละท้องถิ่นรวมถึงสถานที่พักพิงของชาวยุโรปตะวันออกในเยอรมัน รวมถึงทำท่าแสดงความเคารพต่อ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในเกมที่ทีมชาติเยอรมนีลงแข่ง

“สเปน”เองก็ถือว่าเป็นชาติที่รวมความหลากหลายชาติพันธุ์ต่างๆ เกมฟุตบอลถือว่าเป็นกระจกสะท้อนความหลากหลายนั้น ความเป็นท้องถิ่นนิยมของทีมสโมสรในสเปนก็เป็นที่ขึ้นชื่อลือชา ในยุคของนายพลฟรังโก เรืองอำนาจ สองทีมที่เปรียบเสมือนหนามยอกอกคือ “บาร์เซโลน่า” ของชาวคาตาลัน และ “แอธเลติก บิลเบา” ของชาวบากส์

โดย “เรอัล มาดริด” คือกระบอกเสียงฟุตบอลฝ่ายขวา ของฟรังโก เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ บาร์เซโลน่า หรือ บิลเบา

ก็เหมือนกับการทำสงครามเชิงสัญลักษณ์ "การกำหราบชนกลุ่มน้อย” ซึ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีเรื่องของประวัติศาสตร์-ชาติพันธุ์ และการเมือง เกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ทำให้การเหยียดสีผิวและชาติพันธุ์ในสเปนจึงเป็นอีกแห่งที่มีความระอุร้อนของเกมกีฬาผสมผสานกับเรื่องของการเมือง

 

 

จะเห็นได้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย "การเหยียดผิว-ชาติพันธุ์" ก็ยังไม่สามารถขจัดได้อย่างเด็ดขาดสักที

ฟุตบอลโลก 2018 ที่ประทเศรัสเซียในปีหน้า กำลังถูกจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในชาติยุโรปที่ขึ้นชื่อฤาชาถึงเรื่องการ “เหยียด”

ซึ่งเป็นชนวนสำคัญต่อความรุนแรงและโศกนาฏกรรม

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ