ข่าว

5 วิธีเก็บเงินที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเกษียณอย่างมั่นคงในอนาคต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จักกับ 5 วิธีเก็บเงิน เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว และมีเงินเก็บเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณอย่างมีความสุข หมดห่วงเรื่องการเงินช่วงบั้นปลายชีวิต

ผู้กำลังเริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ว่าจะอายุเท่าไร หรือทำอาชีพอะไร นอกจากเรียนรู้วิธีหาเงินให้ได้มากๆ  การศึกษาวิธีเก็บเงินก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะต่อให้หาเงินได้เท่าไหร่ก็ตาม แต่ถ้าไม่มีเงินเก็บ จากการใช้จ่ายเกินตัว ก็ไม่สามารถสร้างความมั่งคงทางการเงินในระยะยาวได้
 

ด้วยเหตุนี้เราจึงนำ 5 วิธีเก็บเงิน ง่ายๆ มาฝากผู้เริ่มต้นออมเงินเพื่ออนาคตตั้งแต่วันนี้ ให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดี และมีเงินเกษียณอย่างมั่นคงในอนาคต 
    

1.วางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณ
ก่อนเริ่มต้นออกแบบวิธีเก็บเงิน จำเป็นต้องวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปดังนี้

     1.ตั้งเป้าหมายเงินเก็บหลังเกษียณ
เป็นปัญหาใหญ่ทีเดียวที่ทุกคนไม่ทราบว่าต้องมีเงินเท่าไรถึงจะเพียงพอกับชีวิตหลังเกษียณ? โดยเราแนะนำให้ตั้งเป้าหมายเก็บเงินตามสูตร

"จำนวนเงินที่คาดว่าจะใช้ในแต่ละเดือน x 12 เดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อ" 

เช่น หากคาดว่าจะใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 10,000 บาท และคิดว่าจะอยู่ได้อีก 20 ปี จะได้ว่าเงินเก็บหลังเกษียณที่ควรมีเท่ากับ 10,000*12*20 = 2,400,000 บาท

     2.การบริหารค่าใช้จ่าย
การเริ่มต้นออมเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณว่าเป็นเรื่องยากแล้ว การบริหารค่าใช้จ่ายถือว่ายากกว่าหลายเท่า เพราะแต่ละวันค่าใช้จ่ายก็มีมากมายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า หรือบางคนก็ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทำให้วิธีเก็บเงินที่วางแผนเอาไว้เป็นเรื่องยาก จนหลายคนเริ่มต้นไม่ได้เสียที
    
    
แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อคุณควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้มากจนเกินไป โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหนี้สิน เช่น ลดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นอย่างหนี้บัตรเครดิต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่นอย่างมาก หรือใช้เทคนิค "รีไฟแนนซ์" ที่ช่วยให้สินเชื่อบ้านถูกลง และจะทำให้คุณมีเงินเก็บสำหรับวัยเกษียณมากขึ้น 

    

     3.การลงทุนต่อยอด
เมื่อเริ่มมีเงินเก็บบางส่วนแล้ว การนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนต่อปีสูง ก็ช่วยให้คุณมีเงินเก็บเพิ่มพูนมากขึ้นไปอีก แต่ถ้าไม่ชอบลงทุนกับกองทุนรวม เพราะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ 

อาจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน "MAKE by KBank" ที่ให้ผลตอบแทน 1.5% ต่อปี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

    
เมื่อใช้เทคนิควางแผนเก็บเงินทั้ง 3 ขั้นตอนที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เชื่อว่าทุกคนสามารถมีเงินเก็บได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจลองใช้อีก 4 เทคนิคที่เหลือต่อไปนี้ควบคู่ไปกับเทคนิคการวางแผนการเงิน จะทำให้วิธีเก็บเงินของคุณได้ผลมากขึ้นอีกด้วย


2.เก็บเงินด้วยตารางออมเงิน
ตารางออมเงินเป็นวิธีเก็บเงิน ที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณมีวินัยทางการเงินมากขึ้น เพราะตารางจะกำหนดว่าแต่ละวันคุณต้องออมเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งเงินที่ต้องออมมีตั้งแต่หลักสิบบาทไปจนถึงหลักร้อยบาทต่อวัน โดยคุณสามารถเลือกตารางออมเงินที่เหมาะสมต่อตนเองได้ เช่น ตารางออมเงิน 5,000 บาท หรือตาราง 10,000 บาท เป็นต้น


ดังนั้นหากคุณเก็บเงินได้ตามที่ตารางออมเงินกำหนดแล้ว รับรองว่าจะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแน่นอน ที่สำคัญยังพัฒนาทักษะการเก็บเงินให้มีวินัยสม่ำเสมออีกด้วย หากใครเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ อาจลองใช้ตารางดังกล่าวช่วยเก็บเงินด้วยก็ได้


3.บัญชีรายรับรายจ่าย
การทำบัญชีรายรับรายจ่าย แม้เหมือนเป็นวิธีเก็บเงินเบื้องต้นที่ทุกคนทำได้ แต่ความจริงการทำบัญชีฯ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะต้องลงตัวเลขสม่ำเสมอ รวมทั้งใส่รายการในบัญชีให้ครบถ้วน ซึ่งหลายคนมักละเลยการใส่รายการเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าน้ำดื่ม หรือค่าขนมจุกจิกที่เผลอซื้อข้างทาง เป็นต้น
    
    
นอกจากต้องลงรายการให้ครบถ้วนแล้ว การใส่วันที่ในบัญชีก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหน้าที่ของบัญชีรายรับรายจ่าย คือ ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่ามีวันใดใช้เงินมากเกินไปหรือไม่ และทำให้คุณลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นนั้นลง

    
โดยเราแนะนำให้คุณเลือกใช้งานสมุดขนาดเล็กสำหรับทำบัญชีรายรับรายจ่าย เนื่องจากพกพาสะดวก ทำให้ลงรายการค่าใช้จ่ายได้ทันทีเมื่อมีเวลาว่าง ลดโอกาสหลงลืมที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำงานที่เหนื่อยเกินไป และไม่ควรจำรายการแล้วไปลงบัญชีที่บ้าน ไม่อย่างนั้นแล้วตัวเลขที่ออกมาไม่สมจริงแน่นอน


4. โปรโมชันต่างๆ อย่าลืมใช้
การใช้โปรโมชันเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณเก็บเงินได้ง่ายๆ โดยปัจจุบันมีช่องทางรับโปรโมชันจำนวนมาก เช่น แอปพลิเคชันค่ายมือถือที่มีโปรโมชันใช้แต้มจากการจ่ายบิลรายเดือน เป็นส่วนลดสินค้าและบริการต่างๆ หรือแอปพลิเคชัน E-commerce ก็มีโปรโมชันส่วนลดมาให้เราเก็บอยู่บ่อยๆ

    
ดังนั้นหากคุณหมั่นติดตามโปรโมชันอยู่สม่ำเสมอ จะลดค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย และถ้าใครกำลังใช้บัตรเครดิตอยู่ ก็อย่าลืมนำมาใช้เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย ซึ่งช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากกว่าเดิม
    


5.ทฤษฎี 6 Jars ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้
ทฤษฎีไห 6 ใบ คือเทคนิคแบ่งเงินเป็นสัดส่วน 55-10-10-10-5-10 ที่ช่วยให้เก็บเงิน บริหารค่าใช้จ่าย และแบ่งเงินไปลงทุนได้ภายในเทคนิคเดียว ซึ่งไหทั้ง 6 ประกอบด้วยชื่อต่างๆ ดังนี้

     1.ไหแห่งการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน - ใช้จ่าย 55% ของรายได้
เป็นเรื่องปกติที่ทุกวันต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร หรือแม้กระทั่งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้านที่รออยู่หลังสิ้นเดือน ซึ่งการบริหารเงินดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพควรใช้จ่ายไม่เกิน 55 % ของรายได้ ถ้าเกินกว่านั้น ก็มีโอกาสนำเงินเก็บมาใช้จ่ายเพิ่มเติม จนไม่สามารถเก็บเงินได้ตามที่ต้องการ


     2.ไหแห่งความรู้ - เก็บออม -10% ของรายได้
แม้ว่าจะอยู่ในวัยทำงานแล้ว แต่ความรู้ และทักษะการทำงาน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ซึ่งการเก็บเงินไว้พัฒนาทักษะการทำงาน จะช่วยให้คุณมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มเติม จนเก็บเงินได้มากขึ้น และสามารถปรับตัวทันยุคสมัยได้อยู่ตลอดเวลา


     3.ไหแห่งรางวัลสำหรับตนเอง - ใช้จ่าย 10% 
แน่นอนว่าการมุ่งมั่นเก็บเงินเพื่อเกษียณเพียงอย่างเดียว จะทำให้คุณไม่อาจซื้อของตามที่ต้องการได้ ด้วยเหตุนี้คุณควรแบ่งเงินมาซื้อของให้รางวัลแก่ตนเองบ้างไม่ว่าจะของเล็กๆ อย่างนาฬิกา หรือสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้เราอยากเก็บเงินมากขึ้น และไม่ตึงเครียดจนเกินไป

 


     4.ไหแห่งการลงทุน-ใช้จ่าย 10% ของรายได้
เชื่อว่าผู้วางแผนเกษียณต่างวางแผนลงทุนในระยะยาวอยู่แล้ว แต่มักไม่ทราบว่าต้องลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ดี ถึงจะเหมาะสม? ซึ่งตามทฤษฎีแนะนำให้ลงทุน 10% ของรายได้เป็นประจำ จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากกว่าเดิม จากผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยทบต้นของบัญชีเงินฝากนั่นเอง
    

     5.ไหแห่งการบริจาค - 5 % ของรายได้
ผู้รักการทำบุญ ชอบการบริจาค สามารถเก็บเงินไว้ทำบุญสังคมประมาณ 5% ของรายได้ก็ถือว่าเพียงพอ ไม่อย่างนั้นแล้วอาจเก็บเงินไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นการจ่ายเงินเพื่อการทำบุญไม่ควรมากเกินไป จนกระทบกับการวางแผนเกษียณ

 

     6.ไหแห่งการเกษียณ - เก็บออม 10% 
เมื่อตั้งเป้าหมายเก็บเงินเกษียณตามสูตรที่เราแนะนำได้แล้ว ก็เริ่มต้นออมเงินได้เลย โดยแนะนำให้ออม 10% ของรายได้เป็นประจำทุกเดือน เพียงเท่านี้คุณจะมีเงินเพียงพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ หมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายที่กำลังรออยู่ข้างหน้า


แนะนำแอปเก็บเงิน MAKE by KBank  
 

วิธีเก็บเงินง่ายๆ MAKE by KBank

 

 

ถ้ากำลังอยากได้ผู้ช่วยจัดการเงิน เพื่อเก็บเงินหลังเกษียณ อาจลองใช้งานแอปพลิเคชัน "MAKE by KBank" ที่ทำให้คุณสามารถออกแบบวิธีเก็บเงิน ได้ง่ายๆ มาพร้อมกับฟีเจอร์เด็ดอย่าง "Cloud Pocket" และ "Expense Summary"


1. Cloud Pocket 
Cloud Pocket ฟีเจอร์อเนกประสงค์ ที่ให้ผู้ใช้งานปรับเปลี่ยนวิธีเก็บเงินตามความต้องการของตนเองได้ ด้วยการสร้างกระเป๋าเงินขึ้นมา โดยกระเป๋าแต่ละใบทำหน้าที่แบ่งเงินเป็นสัดส่วนตามชื่อของกระเป๋าที่คุณตั้งขึ้น เช่น กระเป๋าเกษียณ คือเงินสำหรับเตรียมพร้อมวัยเกษียณ โดยไม่มีการนำเงินออกมาใช้ หรือกระเป๋าลงทุน ก็ทำหน้าที่เก็บเงินไว้ลงทุนประเภทต่างๆ เป็นต้น


2. Expense Summary 
ลืมวิธีเก็บเงินรูปแบบเดิมอย่างการทำบัญชีไปได้เลย ด้วยฟีเจอร์ Expense Summary ที่ช่วยให้คุณทราบว่า แต่ละเดือนหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายรายการใดบ้าง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาตรวจสอบย้อนหลังเหมือนบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่ง Expense Summary อัปเดตข้อมูลแบบ Real time มั่นใจได้เลยว่าทุกข้อมูลของการใช้จ่ายถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วนแน่นอน


สรุป
วิธีเก็บเงิน เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณประกอบด้วย 5 ขั้นตอนตามที่ได้แนะนำไป ซึ่งคุณสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน MAKE by KBank สำหรับเป็นผู้ช่วยจัดการเงินได้ง่ายๆ และทำให้การเก็บเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย


หากสนใจ MAKE by KBank ฟีเจอร์ใช้งานง่าย สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง App Store และ Play Store มาเริ่มดาวน์โหลด MAKE by KBank ตั้งแต่วันนี้ เตรียมพร้อมเก็บเงินเพื่ออนาคตหลังเกษียณ หมดกังวลเรื่องเงินไปได้เลย


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ