คอลัมนิสต์

ไม่เหมือนเดิม!! "โหวตโน" กับการเมืองไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกร็ดเลือกตั้ง : "โหวตโน" กับการเมืองไทย

 

               “โหวตโน” เป็นเรื่องน่าสนใจขึ้นมาทันที เมื่อพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะใช้กลไก “โหวตโน” มาต่อกรกับฝ่าย คสช. หากว่าพรรคเพื่อไทยถูกยุบ และสมาชิกพรรคไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งได้

 

ไม่เหมือนเดิม!! "โหวตโน" กับการเมืองไทย

(อ่านต่อ..."VOTE NO" : ไม้ตายพรรคเพื่อไทย !!)

 

               เรื่องการ "โหวตโน” (Vote No) คือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเสียงให้ใคร สำหรับประเทศไทยมีการกำหนดไว้ครั้งแรกในกฎหมายเลือกตั้งปี 2541 หลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540

               โดยกำหนดไว้ในมาตรา 56 ว่า กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งให้ผู้สมัครหรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทําเครื่องหมายกากบาทในช่องไม่ลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง

               ครั้งนั้นมีการกำหนดเรื่อง “โหวตโน” ไว้ แต่ก็ไม่ได้เอามาเกี่ยวข้องกับการนับคะแนนเลือกตั้ง นั่นคือ คะแนนโหวตโนไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง

               ตอนนั้นมีการกำหนดไว้เพียงว่า ถ้าเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครคนเดียว ผู้สมัครนั้นจะได้รับเลือกตั้งเมื่อได้เสียงไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ถ้าไม่ได้ต้องเลือกตั้งใหม่

               หลังจากนั้นมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าควรจะให้คะแนนเสียง “โหวตโน” มีผลต่อการเลือกตั้งด้วย หลังการยึดอำนาจโดย คมช. และมีรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง 2550

               ระบุว่า ถ้าเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครคนเดียวผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง หรือเสียงโหวตโน ถ้าไม่ได้ก็ให้ประกาศรับสมัครเลือกตั้งใหม่

               มาถึงรัฐธรรมนูญยุค คสช.ได้ให้ความสำคัญกับเสียง “โหวตโน” มากขึ้นไปอีก และกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

               รัฐธรรมนูญ มาตรา 92 กำหนดว่า ถ้าเขตเลือกตั้งไหนที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด หรือคะแนน “โหวตโน” ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และให้ กกต.รับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมทุกรายไม่มีสิทธิลงสมัครอีก

               เข้มขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ว่าเขตนั้นจะมีผู้สมัครกี่คน คนชนะก็ต้องได้คะแนนมากกว่าเสียงโหวตโน 

               ที่สำคัญ ถ้าไม่มีใครได้คะแนนมากกว่าเสียงโหวตโน ห้ามผู้สมัครชุดนั้นลงสมัครอีกในการเลือกตั้งครั้งใหม่.

 

===========

โดย @jin_nation

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ