คอลัมนิสต์

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด กับ ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่” : เรื่อง - จักรวาล ส่าเหล่ทู /ภาพ - นิติ วังสโรจน์

 

            ตลาดบนทางเท้าสุขุมวิท 1 - 21 หรือย่านว่าง่ายๆ ย่านรถไฟฟ้าสถานีนานา ถึง สถานีอโศก เป็นหนึ่งในตลาดแผงลอยริมทาง ที่ศาลได้ทุเลา คำสั่ง กทม. ขอยกเลิกจุดผ่อนผัน เป็นเวลา 60 วัน เนื่องจาก กทม. ยังหาพื้นที่ทดแทนให้ผู้ค้าไม่ได้ ซึ่งคืนวันเสาร์ 25 .. ที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายของตลาดแห่งนี้ เพราะครบกำหนด 2 เดือนแล้ว

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            ทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปกติ ตลาดแผงลอยแห่งนี้ยังคงมีชีวิตหลังเวลา 1 ทุ่มเป็นต้นไป นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็เริ่มพากันมาแวะเวียนที่แห่งนี้ ครั้งก่อนที่ทางเราได้เดินสำรวจกับผู้ค้าขาย บางส่วนก็เตรียมตัวหาอาชีพใหม่รองรับแล้ว หากยื้อชีวิตของตลาดแห่งนี้ไม่ได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่า เขาจะมีเงินเลี้ยงปากท้องและครอบครัวตัวเองต่อไป บางส่วนก็ใช้วิธีขอเช่าพื้นที่เอกชนเพื่อขายของหน้าตึก แต่ก็ใช่ว่าจะมีที่เพียงพอให้กับผู้ค้าทุกๆคน นั่นก็หมายความว่าต้องมีร้านค้าบางส่วนหายไป

            หากถามตัวผู้ค้าเอง ก็ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าเขาต้องรู้สึกเสียใจ แล้วความรู้สึกของนักท่องเที่ยวล่ะ จะเป็นอย่างไรบ้าง?

            เออนี่ ลอเร้นท์” (Erny Laurent) นักท่องเที่ยวจากฝรั่งเศส เล่าว่า ตนเองเคยมาเที่ยวไทย 2 ครั้ง แล้ว ซึ่งก็เคยมาเดินที่นี่ และมีความรู้สึกที่ดี แต่ถ้าตลาดนี้ถูกปิดไปแล้ว ตนจะไปเดินที่ไหน ส่วนตัวมองว่าตลาดแห่งนี้ดีต่อนักท่องเที่ยว เพราะอยู่ใกล้โรงแรม รถไฟฟ้า นอกจากนี้ตลาดนี้ก็ยังเป็นแหล่งรวมของเสื้อผ้า และที่ระลึกจากประเทศไทยด้วย ส่วนตัวจึงอยากให้มีตลาดนี้ต่อไป

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            เดินไปสักพักก็เจอนักท่องเที่ยวรุ่นเก๋าวัย 74 ปี นามว่า “มานน์” (Mann) เป็นนักท่องเที่ยวจากนิวซีแลนด์ พูดถึงความรู้สึกหลังได้ทราบว่าตลาดนี้จะถูกปิดตัวลงว่า ที่ๆแห่งนี้มีเม็ดเงินทางธุรกิจ เป็นตลาดที่มีชีวิตในยามค่ำคืน เพราะเป็นที่รู้กันว่าตลาดแห่งนี้จะเปิดทำการตั้งแต่ 1 ทุ่มเป็นต้นไป ส่วนตัวรู้สึกชอบมากๆกับตลาดทางเดินสุขุมวิท

            ผมเคยมาเที่ยวที่ไทย 6 ครั้ง ครั้งละ 1 สัปดาห์ ซึ่งแต่ละครั้งก็ต้องแวะเวียนมาแถวนี้ เชื่อได้เลยว่านี่คือตลาดที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องการแน่ๆ”

            ขณะที่ Mr.Moutassem Hammoum นักท่องเที่ยวเมืองน้ำหอมอีกคน ก็เล่าถึงความรู้สึกภายหลังทราบข่าวว่าของการจัดระเบียบทางเท้าว่า รู้สึกเสียใจที่ได้ยินข่าวนั้น และรู้สึกเห็นใจกับคนที่ทำมาค้าขายที่นี่ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วก็อาจรู้สึกดีก็ได้ เพราะตลาดบางจุดที่ขายบนทางเท้ามีร้านค้ามากเกินไป ทำให้เดินลำบาก ก็ดีใจที่ได้มีทางเท้าเดิน

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            แต่ต้องบอกก่อนว่าตลาดที่นี่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะเขาจัดระเบียบกันเอง เว้นพื้นที่ให้เราเดินได้สะดวก ก็เห็นว่าควรจะให้มีตลาดนี้ต่อไป ที่ผ่านมาผมเคยมาเที่ยวไทย 5 ครั้ง ซึ่งไม่เคยพลาดที่จะแวะมาตลาดที่นี่เสมอ” นักท่องเที่ยวเมืองน้ำหอม กล่าวด้วยรอยยิ้ม

            ส่วนมากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่างก็บอกว่าเขารู้จักตลาดแห่งนี้ในฐานะแหล่งทองเที่ยว ที่ได้รับการแนะนำจากเว็บไซต์ www.tourismthailand.org ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในชื่อของ “Sukhumvit Street Soi Nana Night Market” จึงอาจไม่แปลกที่หลายคนรู้สึกเสียหายถ้าตลาดนี้ปิดตัว

 

  • ผลกระทบลูกโซ่ หากตลาดริมทางสุขุมวิทปิดตัวลง

            จริงๆแล้วการปิดตลาดแห่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ค้าริมทางเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อ ผู้ประกอบการในพื้นที่เอกชนด้วย

            นางนภา ขันทะพล ผู้ดูแลร้าน Cozy Spa ที่อยู่ใกล้ บริเวณตลาดกลางคืนเล่าว่า ในช่วง 3 เดือนก่อนที่มีการปิดตลาดนั้น ต้องบอกว่าลูกค้าลดลงเยอะมาก ครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งปกติเวลาทำการลูกค้าจะเต็มร้าน เมื่อไม่มีตลาดกลางคืน ก็ไม่มีคนเดินแถวนี้ เพราะที่นี่เป็นที่รู้จักในนามของตลาดกลางคืน ทั้งนี้เมื่อตลาดปิดไป เราก็คงทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            เป็นที่แน่นอนว่าหากปิดตลาดกลางคืน ต้องกระทบต่อธุรกิจละแวกนี้แน่ๆ ก็ยังอยากให้มีตลาดเหมือนเดิม แต่ว่าให้มีการควบคุมจัดระเบียบเรียบร้อย ซึ่งตลาดนี้มีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ เพราะเป็นโซนของนักท่องเที่ยว จะเป็นไปไม่ได้ที่ลูกค้าจะมาเสียค่าโรงแรม แล้วมากินข้าวอย่างเดียว เพราะไม่มีที่เที่ยว” ผู้ดูร้านสปากล่าวทิ้งท้าย

            นอกจากนี้เจ้าของกิจการร้านอาหารย่านใกล้กับตลาดแผงลอยแถวนั้น เล่าให้ฟังว่าช่วง 3 เดือนที่ตลาดทางเท้าสุขุมวิทถูกปิดตัวไป ส่งผลทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอุดหนุนเขาน้อยอย่างชัดเจน โดยนักท่องเที่ยวที่มาในช่วงนั้น เห็นได้ชัดว่าเขานั่งเป็นเวลานานเพราะไม่รู้จะไปไหนต่อดี และไม่มีอะไรทำ ต้องบอกว่านักท่องเที่ยวที่มากินอาหารที่ร้านของตนนั้น ส่วนมากมีจุดประสงค์มาเดินตลาดที่นี่ ซึ่งเขารู้กันว่าเป็นตลาดกลางคืนที่ต้องมาแวะเวียนหากมาเที่ยวที่กรุงเทพ นอกจากนี้พอตลาดปิดไปยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจแถวนี้อีกหลายที่ เพราะเงินสะพัดน้อยลง

            ถึงแม้ว่าหลายๆคนอาจจะบอกว่า ที่สวนจตุจักร จะเป็นตลาดที่ขายของที่ระลึก หรือของที่หาได้เฉพาะในประเทศไทย แต่ต้องอย่าลืมว่าตลาดนั้นเปิดเฉพาะ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แล้ววันธรรมดานักท่องเที่ยวจะไปเดินหาซื้อของเหล่านี้ที่ไหน คือตลาดกลางคืนที่นี่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศแน่นอน อย่างไรก็ดีตลาดกลางคืนก็ถือเป็นหนึ่งในการแสดงออกถึงวัฒธรรมของท้องถิ่นนั้นด้วย เพราะไม่ว่าคุณจะไปเที่ยวที่ประเทศไหน ก็ต้องมีตลาดกลางคืนอย่างแน่นอน” เขากล่าวทิ้งท้าย

            สภาพของตลาดแห่งนี้จึงมีภาพของสภาวะของการพึ่งพิงพึ่งอาศัย ซึ่งกันและกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่แน่นอน

 

  • อยากย้อนเวลา ช่วงที่ได้รับการหนุนจากรัฐ

            นายเรวัต ชอบธรรม หนึ่งในผู้ค้าขาย ที่เป็นแกนหลักในการเดินหน้าเรียกร้องให้เปิดตลาดต่อ เล่าว่า ทาง กทม.ขอความร่วมมือเราไม่ให้ขายหลังวันที่ 25 ..ซึ่งครบระยะที่ศาลปกครองทุเลา และก็ไม่ให้ชุมนุมประท้วงในพื้นที่ ซึ่งเราก็ให้ความร่วมมือเหมือนอย่างที่เราเคยทำมาเมื่อ3 เดือนที่ผ่านมา ในการประชุมครั้งแรกระหว่างผู้ค้ากับ กทม. เขาก็บอกเราว่า ไม่ได้ต้องการยกเลิก แต่จะหาพื้นที่ใหม่ให้ แต่จนถึงวันนี้ทาง กทม. ก็ไม่ได้หาพื้นที่ขาย ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของเราได้

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            เมื่อวันที่ 24 .. เราก็ได้มีการคุยกันอีก โดยทางเขตก็แนะนำให้ ทางกลุ่มผู้ค้าทำข้อเสนอไปว่า จะให้ทางเขตช่วยเหลืออย่างไร โดยเราก็บอกเขาไปว่าจะขอการค้าบนพื้นที่เดิม และจะขอให้มีกรรมการจัดการบริหารร่วมกัน โดยให้เจ้าหน้าที่เขตร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อก่อนตลาดที่แห่งนี้ เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวรู้จักในนามของ Sukhumvit Night Market เป็นที่รู้จักมานานแล้ว และถูกจัดเป็นหนึ่งใน Amazing Thailand เมื่อปี 41-42 ด้วย ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมให้เราเป็นตลาดท่องเที่ยว โดยตอนนั้นทาง กทม. ก็มาช่วยจัดระเบียบด้วย โดยเราอยากให้กลับไปเป็นเช่นนั้น”

            เขายังเล่าต่อไปว่า นักท่องเที่ยวมักบอกว่า เขามักจะมาเดินดูสินค้าที่นี่ อีกทั้งยังใกล้รถไฟฟ้า และโรงแรมเล็กใหญ่ด้วย ถ้ามีการยกเลิกตลาดนี้ไป พอนักท่องเที่ยวมาหาตลาดแล้วเขาก็ไม่รู้ เขาอาจจะรู้สึกเหมือนถูกหลอก และอาจจะไม่มาอีก ซึ่งจะทำให้เสียนักท่องเที่ยวไปเยอะพอควร ทำให้ประเทศเราขาดรายได้จากการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งไป อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อร้านค้าและโรงแรมละแวกนี้ด้วย ขอยืนยันว่าตลาดแห่งนี้มีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมาก เรายินดีที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางเขตและ กทม. ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ทำตามตลอด ผู้ค้าที่อยู่ในจุดผ่อนผันเราไม่เคยทำผิด จนถูกระงับห้ามขายเลย

 

  • การดำเนินการหลังจากนี้ และความหวังของการอยู่รอดของตลาด

            นายเรวัต พูดถึงความหวังต่อลมหายใจของตลาดไปว่า จนถึงวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้าย เราก็ได้รวบรวมความเห็นจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รบกวนให้เขาเขียนความรู้สึกเมื่อได้ยินข่าวว่าตลาดนี้จะปิดตัวลง โดยทำมาได้ 5 วันแล้ว ได้ความคิดเห็นประมาณ 200 กว่าแผ่น ซึ่งเราจะรวบรวมความเห็นทั้งหมด เพื่อนำไปทาง กทม. ได้ดู และให้เล็งเห็นว่าทางนักท่องเที่ยวเองก็อยากให้ตลาดนี้คงอยู่ อยากให้ทางผู้ว่าฯกทม. รัฐบาล ได้มีความเห็นใจกับเรา ด้วย

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

            นายเรวัต กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 24 .. ที่ผ่านมานายกฯ ก็ได้กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ว่า “เราไม่เคยละเลยเศรษฐกิจระบบฐานราก วันนี้ผมก็คิดถึงคนขายของริมถนน จะทำอย่างไร จะจัดระเบียบเขาได้ยังไง ที่เขาไม่เดือดร้อน คนบริโภค คนกินอาหารจะทำยังไง เพราะว่าต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมา แต่ทำยังไงมันถึงจะเป็นระเบียบ ถ้าท่านร่วมมือกัน มันก็พอจะอยู่กันได้” ส่วนนี้เองก็ทำให้เรามีความหวังว่า ตลาดแห่งนี้จะกลับมา เพราะนายกฯเริ่มให้ความสนใจแล้ว ซึ่งตนก็อยากให้รัฐบาลได้ส่งคนลงมาดู แสวงหาข้อเท็จจริงว่าที่เราพูดไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น อยากให้เห็นว่านี่คือตลาดท่องเที่ยวจริงๆ

            เราเคยเป็นผู้ที่หากินอย่างถูกกฎหมาย แต่วันนี้ถูกตราหน้าว่าทำผิดกฎหมาย จึงอยากให้นายกฯ ระบุชัดเจนเลยว่าจัดระเบียบกับไล่ที่ ต่างกันอย่างไร ถ้าเราทำผิดกฎหมายจริง ศาลก็คงไม่ทุเลาคำสั่งของ กทม. ให้กับเรา” ผู้ค้ารายนี้กล่าวทิ้งท้าย

            จากการพูดคุยหลายๆคนในละแวกนี้ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เสียดายที่ตลาดแห่งนี้จะปิดตัวลง ซึ่งข้อเสนอหลักๆก็คือ พร้อมที่จะอยู่ในกฏเกณฑ์ และการดูแลของรัฐ แต่ขอให้ยังมีพื้นที่นี้อยู่

            จวบจนเวลาเที่ยงคืน ร้านค้าต่างๆ ก็เริ่มพากันเก็บแผงของตัวเอง หลายๆคนต่างรู้ดีว่า สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ตลาดแห่งนี้จะไม่มี เหลือเพียงความเงียบที่มาทดแทน ขณะที่ลึกๆ พวกเขาก็ยังหวังว่าจะได้กลับมาในฐานะของผู้ค้าที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอีกครั้ง

 

เสียงครวญ...หลังแผงลอยถูกปิด : ผลกระทบเป็น “ลูกโซ่”

 

            เรื่องที่เกี่ยวข้อง : “อย่าย้ายตลาดนี้เลย...” เสียงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ