ข่าว

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมสรรพาวุธทหารบก จัดพิธีบวงสรวงกลองมโหระทึก ในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

 


          เมื่อเวลา 08.08 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เขตดุสิต กรุงเทพฯ กรมสรรพาวุธทหารบกจัดพิธีบวงสรวงกลองมโหระทึก และเปิดการฝึกชุดครูฝึกและกำลังพลกรมสรรพาวุธทหารบก ในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยมีผู้บริหารกรมสรรพาวุธ และกำลังพลผู้เข้ารับการฝึกเข้าร่วมในพิธี

 

 

          โอกาสนี้ พล.ท.ศักดา ศิริรัตน์ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ผู้อำนวยการกองอำนวยการกรมสรรพาวุธทหารบกสนับสนุนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทำพิธีบวงสรวงกลองมโหระทึก ลำดับพิธีตามที่เจ้าหน้าที่พราหมณ์กำหนด จากนั้นให้โอวาท ก่อนกล่าวเปิดการฝึก ความว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานในการเปิดการฝึกชุดครูฝึกและกำลังพลกรมสรรพาวุธทหารบก ในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สำคัญยิ่ง กรมสรรพาวุธทหารบกได้รับพระมหากรุณาธิคุณมอบหมายภารกิจอันเป็นเกียรติประวัติอันยิ่งใหญ่ในการจัดกำลังพบเข้าร่วมในริ้วขบวนงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานแบกหามกลองมโหระทึกในริ้วขบวนที่ 2 คือริ้วขบวนราบใหญ่ และในริ้วขบวนที่ 3 คือขบวนพยุหยาตราสถลมารค นับเป็นภารกิจสำคัญยิ่งและมีเกียรติยศสูงสุด ขอให้กำลังพลทุกนายตั้งใจฝึกซ้อมเพื่อให้พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นความภาคภูมิใจของตนเอง ครอบครัว และเกียรติยศของกรมสรรพาวุธทหารบก รวมทั้งเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติด้วย และเสร็จสิ้นพิธี    

 


บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก
     

     

          ทั้งนี้ กรมสรรพาวุธ ได้รับมอบมอบหมายภารกิจในการจัดกำลังพลเข้าร่วมในริ้วขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 โดยปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานแบกหามกลองมโหระทึกน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ริ้วขบวนละ 4 หมู่จำนวน 16 นาย และสารวัตรกลองในริ้วขบวนจำนวน 2 นาย ซึ่งกำลังพลเหล่านี้จะร่วมเดินในริ้วขบวนที่ 2 และริ้วขบวนที่ 3 คือริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค ระยะทางรวมทั้งสิ้น 6.6 กิโลเมตร ทางกรมสรรพาวุธจึงต้องจัดกำลังพลเป็น 2 ผลัด มีจุดเปลี่ยนที่วัดบวรนิเวศวิหาร      
     

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

          สำหรับท่าที่ทำการฝึกมี 12 ท่าประกอบด้วย บุคคลท่ามือเปล่า ท่าถวายบังคม ท่านั่งคุกเข่าวันทยาหัตถ์ ท่าถอดหมวก-สวมหมวก ท่านั่งพับเพียบกราบ ท่าถอดหมวกถวายบังคม ท่าหันอยู่กลับที่ ท่ายกกลอง-ลดกลอง ท่าเดินขณะยกกลอง ท่าเดินประกอบดนตรี ท่าผลัดเปลี่ยน และมารยาทราชสำนัก โดยมี พ.ท.สิทธิศักดิ์ ศรีนวลดี ทำหน้าที่หัวหน้าชุดครูฝึก โดยจะเริ่มซ้อมตั้งแต่วันนี้(26 กุมภาพันธ์)ไปจนถึง 3 พฤษภาคม 2562 รวมระยะเวลา 10 สัปดาห์ สำหรับการฝึกซ้อมครั้งที่ 1 และ 2 ในวันที่ 21 มีนาคม และ 28 มีนาคม ที่พื้นที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ส่วนครั้งที่ 3-5 จะเป็นการซ้อมในพื้นที่จริง ในวันที่ 12 เมษายน, 21 เมษายน และ 28 เมษายน
   

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

          พราหมณ์ คีษณพันธ์ รังสิพราหมณกุล พราหมณ์พิธี กล่าวว่า พิธีบวงสรวงครั้งนี้จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณี เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในพระราชพิธีจะมีเทวดารักษาอยู่ การใช้ของจึงต้องใช้ถูกวิธี จึงมีการจัดพิธีบวงสรวงในครั้งนี้ ซึ่งการบวงสรวงกลองมโหระทึกเป็นการบอกกล่าวเทวดาทั้งหลายว่า เครื่องดนตรีนี้จะใช้บรรเลงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขณะเดียวกันเป็นการแสดงความพร้อมว่าจะปฏิบัติงานใดๆ ทั้งนี้ ขั้นตอนการบวงสรวงแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากทำประการใดผิดพลาด 2.การถวายของ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในพิธีบวงสรวงทุกครั้งคือ กล้วยกับมะพร้าว รวมถึงของที่มีชื่อมงคล รสหอมหวาน ไม่ตกไม่ช้ำไม่เน่า สำหรับพิธีบวงสรวงในวันนี้ใช้สูตรมังสวิรัติ ไม่มีเนื้อสัตว์แต่มีไข่ต้มบนยอดพานบายศรี และ 3.เป็นการขอพรเพื่อให้กำลังพลของกรมสรรพาวุธทหารบกที่เข้าร่วมขบวนฯ ได้ประสบความสำเร็จ   
     

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

          "กลองมโหระทึกจะใช้ในพระราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณ ตีในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต  และราชพิธีต่างๆ สำหรับในพิธีบวงสรวงครั้งนี้ มีกลองมโหระทึกจากสำนักพระราชวัง 4 ใบ ที่ใช้ในพระราชพิธีจริง นอกจากนี้ มีกลองมโหระทึกที่กรมสรรพาวุธได้จำลองขึ้นให้ใกล้เคียงของจริงเพื่อใช้ในการฝึกซ้อมริ้วขบวนอีก 2 ใบ ร่วมพิธีบวงสรวง" พราหมณ์พิธี แจกแจงรายละเอียด
     

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

          สำหรับประวัติศาสตร์กลองมโหระทึกในประเทศไทย ถือเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน โดยมีหลักฐานแสดงถึงการใช้กลองมโหระทึก เช่น ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงสมัยสุโขทัย กล่าวว่า มีการใช้กลองมโหระทึกกันแล้วแต่จะเรียกว่า "มหรทึก" ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการกล่าวถึงชื่อกลอง มโหระทึก ในกฏมณเฑียรบาล ซึ่งประกาศใช้ในแผ่นดินสมัยนั้นแต่เปลี่ยนเป็นชื่อเรียกว่า "หรทึก" และใช้ตีในงานราชพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร ขุนนางที่ทำหน้าที่ตีมโหระทึกมีตำแหน่งเป็น "ขุนดนตรี" จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เรียกชื่อกลองดังกล่าวว่า "มโหระทึก" และเรียกต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล หรืองานรัฐพิธีต่างๆ รวมถึงพิธีบรมราชาภิเษกปี 2562 ครั้งนี้ด้วย

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

บวงสรวงกลองมโหระทึกในขบวนพยุหยาตราสถลมารค พิธีบรมราชาภิเษก

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ