ข่าว

เปิดภารกิจศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางทะเล จ.ภูเก็ต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ว่าฯภูเก็ต เปิดศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางทะเล ตรวจเข้มเรือบริการนำเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว บูรณาการรัฐ-เอกชนสร้างมาตรฐานบริการ

 

          จากเหตุการณ์เรือล่มบริเวณเกาะเฮ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 5 ก.ค.61 ที่ผ่านมา ทำให้มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจำนวน 47 ราย ถือเป็นโศกนาถกรรมครั้งใหญ่ ล่าสุดได้มีการมาตรการป้องกันอุบัติภัยทางทะเล

          โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลขึ้นมาจำนวน 2 จุด จุดแรกที่ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง จ.ภูเก็ต และท่าเทียบเรืออ่าวพังงา จ.พังงา ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

 

          นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าฯภูเก็ต เปิดเผย” ผู้สื่อข่าว” ถึงภารกิจของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลทั้งสองแห่งนี้มีความสำคัญและการทำงานเป็นอย่างไร   

          “เรือทุกลำที่จะออกไปต่อไป จะต้องมีจุดที่ต้องมีการตรวจออกทั้งหมด ตัวคน เรือ ผู้โดยสาร ชื่อผู้โดยสาร โดยจะตรวจความถูกต้องทั้งหมด โดยบูรณาการกับทัพเรือภาคที่ 3 กรมเจ้าท่า และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด”                    
          ซึ่งหลักของการทำงานของศูนย์ฯดังกล่าวคือ หนึ่งจะมีเรืออยู่ประจำตลอดเวลา ขณะที่ที่อ่าวฉลองมีเรือประจำอยู่จำนวน 3 ลำ สองจะมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำศูนย์ฯตลอด 24 ชั่วโมง

 

เปิดภารกิจศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางทะเล จ.ภูเก็ต

 

          โดยทั้งสามศูนย์ฯจะมีเครื่องมือ วิทยุสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นเรือประมง เรือของราชการ และสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดในพื้นที่ เพื่อที่จะเกาะเกี่ยวสถานการณ์ กรณีเกิดเหตุขึ้นสามารถแจ้งได้ทันที

          “และที่สำคัญศูนย์ฯจะมีอุปกรณ์ เครื่องมือ อย่างเช่น ชุดมนุษย์กบ โดยจะประสานกับทางชมรมภาคเอกชน กรณีที่เขามาแล้วไม่มีอุปกรณ์ เราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ ให้ยืม”                                       

          เพราะฉะนั้น นับจากไปนี้ทันทีที่เรือออก เราจะตรวจสอบยืนยัน ว่าเรือต้องมีมาตรฐาน ผู้ขับเรือ ผู้โดยสาร ลูกเรือ และเป้าหมายของการเดินทาง โดยจะใช้ระบบการติดตาม เพื่อให้ทราบว่าเรือไปอยู่จุดไหน                        

 

          หลังจากที่มีการดำเนินการของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลแล้ว สิ่งที่จะมีการดำเนินการควบคู่กันไปก็คือการจัดระเบียบการลงเรือและบริการ ต่อจากไปทันทีที่เรือออกแต่ละลำ ข้อมูลผู้โดยสาร เรือ เป้าหมาย ปลายทางที่ไป จะต้องมีเก็บข้อมูลกลางเหล่านี้เป็นข้อมูลกลา เพื่อให้เจ้าหน้าที่แต่ละส่วนงานจะต้องใช้เข้าไปตรวจสอบความเรียบร้อย เนื่องจากเรือแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะไม่เหมือนกัน            

          อย่างเช่น เรือเฟอร์รี่ก็มีลักษณะเรือที่วิ่งประจำทัวร์ เรือสปีดโบ๊ทก็มีจำนวนคนไม่มาก การเดินทางระยะที่ไม่ไกลนัก เรือไดวิ้งหรือเรือดำน้ำซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ

          ซึ่งต่อไปนี้การตรวจสอบการออกเรือต่างๆเหล่านี้ ทางการท่องเที่ยวและกีฬาจะต้องจัดเจ้าหน้าที่มาดูว่าเรือดำน้ำจะต้องมีอุปกรณ์ มีครูฝึก โค้ช ทั้งหมด เพียงพอต่อจำนวนคนที่ไปหรือไม่

 

เปิดภารกิจศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยทางทะเล จ.ภูเก็ต

 

          หากพบว่าอุปกรณ์ไม่พร้อมก็จะไม่อนุญาตให้ออก จนกว่าจะได้รับการดำเนินการแก้ไขทั้งหมดเสียก่อน  โดยมาตรการต่างๆเหล่านี้ได้มีการประชุมกันมาหลายรอบแล้ว

          ซึ่งจะมีการออกประกาศเป็นมาตรการต่างๆออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฎิบัติขณะนี้ได้ดำเนินการได้เริ่มไปแล้ว เช่น การส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาอยู่ประจำที่ศูนย์ฯแล้วในขณะนี้  

          “อย่างเช่นทหารเรือทางผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ก็ได้ส่งกำลังเข้ามาประจำที่ศูนย์ฯแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ขณะเดียวกันศูนย์ฯที่อ่าวฉลองที่ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการดำเนินการติดตั้งกล้องบันทึกภาพอีกจำนวน 38 ตัว” ผู้ว่าฯภูเก็ต กล่าว.
 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ