ข่าว

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

700 องค์กรยื่นจดหมายกดดัน นายกตู่ ยกเลิกยาฆ่าหญ้า "พาราควอต - คลอร์ไพริฟอส"

               หลังจาก “คณะกรรมการวัตถุอันตราย” มีมติตัดสิน “ไม่ยกเลิก” การขายสารพิษอันตรายฆ่าหญ้า ๓ ชนิด ได้แก่ “พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา สร้างความสงสัยเคลือบแคลงใจให้กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้แทนเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง เป็นผู้อ่านแถลงการณ์และจดหมายถึงนายกฯ จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฤษฎา บุญราช รับจดหมายถึงนายกฯ

 

 

 

               เนื่องจากสารพิษกลุ่มประเทศทำเกษตรกรรม 53 ประเทศห้ามซื้อขายและห้ามใช้อย่างเด็ดขาดแล้ว และและอีก 15 ประเทศควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด  ทำให้กลุ่มแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการและองค์กรภาคประชาชนประกาศความร่วมมือจัดกลุ่มเสวนาและเผยแพร่หลักฐานอันตรายของสารพิษทั้ง 3 ตัวนี้ออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนรัฐบาลยังไม่รับทราบถึงปัญหาและอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นจากสารพิษเหล่านี้
               โดยเฉพาะหลักฐานงานวิจัยพบการตกค้าง “พาราควอต” ในซีรั่มทารกแรกเกิด เนื่องจากหญิงตั้งท้องพบความเสี่ยงรับสารพิษพาราควอตมากกว่าคนทั่วไป 6 เท่า ส่วนสารไกลโฟเซตมากกว่าคนทั่วไป 12 เท่า ผลสำรวจแม่ลูกอ่อนพบสารเคมีคลอร์ไพริฟอสในน้ำนมแม่ร้อยละ 41 และมีทารกน้อยร้อยละ 5 รับสารตัวนี้ผ่านทางน้ำนมแม่  เนื่องจากสารพิษทั้ง 3 ชนิดนี้ เกษตรกรนิยมซื้อมาเพื่อใช้ฆ่าหญ้าหรือวัชพืชในแปลงผัก เช่น  กระเทียม ผักชี ไร่อ้อย ไร่ยางพารา ฯลฯ นอกจากสารพิษตกค้างในอาหารแล้วยังกระจายลงสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่งผลให้สุขภาพชาวบ้านย่ำแย่เจ็บป่วยเรื้อรัง

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

คนไทยเอาไงดี ? พิษยาฆ่าหญ้า "จากแม่สู่ทารก" (อ่านต่อ...)

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

               ล่าสุด เช้าวันที่5 มิถุนายน 2561 ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน 686 องค์กร นัดเคลื่อนขบวนประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือแถลงการณ์ถึงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีเนื้อหาดังนี้
               “ขอให้ทบทวนมติและกระบวนการพิจารณาเพื่อยกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส
               ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีการประชุมครั้งที่ ๓๐-๑/๒๕๖๑ และมีการพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตราย ๓ ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา และมีมติไม่ยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง ๓ ชนิด โดยให้เหตุผลว่าข้อมูลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังไม่เพียงพอ ซึ่งขัดแย้งกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการหลายชุดก่อนหน้านี้ รวมทั้งความเห็นของประชาคมวิชาการและมติของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการนี้เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชน 686 องค์กร ที่ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องนี้และสนับสนุนมติของกระทรวงสาธารณสุข มีข้อสังเกตต่อกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายและการทำงานของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตราย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ดังนี้ 
               ๑) ในขณะที่กรมวิชาการเกษตรขอปรึกษาคณะกรรมการวัตถุอันตรายในประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อควบคุมสารทั้ง ๓ ชนิด แต่การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการควบคุมวัตถุอันตรายฯ  กลับเลือกตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และอดีตข้าราชการกระทรวงเกษตรฯถึง ๔ คน และอีก ๔ คนเลือกจากผู้ที่แสดงจุดยืนสนับสนุนกระทรวงเกษตรฯ จากคณะกรรมการที่มีจำนวน ๑๒ คน ซึ่งล้วนแต่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบต่อสุขภาพ
               ๒) อนุกรรมการเฉพาะกิจฯดังกล่าวใช้ข้อมูลเก่าล้าสมัย เพื่อโน้มน้าวให้มีการใช้สารพิษร้ายแรงดังกล่าวต่อไป โดยเพิกเฉยต่อข้อมูลเชิงประจักษ์และรายงานใหม่ๆเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเครือข่ายนักวิชาการจากหลายสถาบัน เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องจัดเวทีให้ข้อเท็จจริงทางวิชาการ
               ๓) กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ มีกรรมการอย่างน้อย ๓ คนมีส่วนได้เสียกับสมาคมค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่กลับไม่มีการแสดงการมีส่วนได้เสียและไม่มีการสละสิทธิ์ลงคะแนน ซึ่งอาจขัด พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๒ วรรค ๒ (เอกสารแนบ ๖)

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

               เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงจึงขอกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาบัญชาให้มีการดำเนินการ ดังนี้
               ๑) ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนมติ และพิจารณายกเลิกพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ตามกรอบเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอไว้ โดยกระบวนการพิจารณาข้อมูลและลงมติต้องไม่มีผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วม เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๒ วรรค ๒ ใช้ข้อมูลที่ทันสมัย เป็นกลางทางวิชาการ และมาจากหน่วยงานที่มีความเชียวชาญโดยตรง ได้แก่ ผลการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุข (เอกสารแนบ ๑ และ ๓)  คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เอกสารแนบ ๔) และข้อมูลจากเครือข่ายประชาคมวิชาการ (เอกสารแนบ ๕) ซึ่งเพียงพอต่อการพิจารณายกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เนื่องจากเป็นเหตุผลที่สอดคล้องกับ ๕๓ ประเทศที่ยกเลิกการใช้พาราควอตไปก่อนหน้านี้ และเป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เอกสารแนบ ๗) นำประเทศมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
               ๒) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการศึกษาหาวิธีการทดแทน ตามมติของสภาเกษตรกรแห่งชาติ (เอกสารแนบ ๒) เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ทั้งนี้จากการสำรวจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และมันสำปะหลัง ร้อยละ ๖๓ ไม่ได้ใช้พาราควอตในการกำจัดวัชพืช นั่นหมายถึงมีสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นและวิธีการในการจัดการวัชพืชที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพาราควอตอยู่แล้ว หากแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้มาเผยแพร่ในวงกว้าง 
               ๓) ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ก่อนจะยกเลิกการใช้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสในปี ๒๕๖๒ หากพบว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนของเกษตรกร เสนอให้กระทรวงการคลังศึกษาและจัดเก็บภาษีจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง มาใช้ในการเยียวยาผลกระทบและสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีจัดการวัชพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะลดผลกระทบจากการถูกกีดกันทางการค้าจากความไม่ปลอดภัยของสารพิษตกค้าง การละเมิดสิทธิเกษตรกรที่ใช้สารพิษที่อันตรายร้ายแรง ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกในระยะยาว
               จึงกราบเรียนมาเพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีโปรดพิจารณาดำเนินการ เพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประโยชน์สุขของประชาชนไทยทั้งประเทศ

 

 

คุณต้องการให้หยุดใช้ 'ยาฆ่าหญ้า-พาราควอต กับ ยาฆ่าแมลง - คลอไพริฟอส' หรือไม่

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

700 องค์กรประท้วง รัฐขายสารพิษฆ่าผู้บริโภค

 

 

 

(คลิกร่วมหยุดใช้ 'ยาฆ่าหญ้า-ยาฆ่าแมลง' ที่นี่...)

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ