ข่าว

รอลุ้นฎีกาจบคดี “ นักรบศรีวิชัย การ์ด พธม บุกล้อมเอ็นบีที

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รอลุ้นฎีกาจบคดี " นักรบศรีวิชัย การ์ด พธม.-ผู้ชุมนุม" บุกล้อมเอ็นบีทีปี 51 ไล่รัฐบาลสมัคร ทำราชการเสียหาย ทนายเล็งรองศาลขอเลื่อนนัด เหตุมีจำเลยป่วยหนัก


          จากกรณีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เมื่อปี 2551 เพื่อกดดันให้รัฐบาลยุคนายสมัคร สุนทรเวช ลาออกและยุบสภา ซึ่งกลุ่มผู้ชมนุมได้เคลื่อนขบวนไปยังสถานที่ราชการหลายแห่งนั้น ต่อมาก็ได้ถูกดำเนินคดีหลายสำนวนซึ่ง 1 ในนั้นก็มีกรณีบุกรุกอาคารสำนักงานสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที

          โดยล่าสุดวันนี้ (25 ส.ค.) ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในเวลา 09.30 น. ณ  ห้องพิจารณาคดี 704
 
          แต่อย่างไรก็ดี น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง ทีมทนายความฝ่ายจำเลย เปิดเผยว่า เนื่องจากนายประเสริฐ ด้วงทิพย์ จำเลยที่ 37 ป่วยมีอาการคล้ายเป็นอัมพาตดังนั้นจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลขอเลื่อนนัดการฟังคำพิพากษาออกไปก่อน โดยจะเป็นดุลยพินิจของศาลต่อไป
           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้จำเลยได้รับการประกันตัว หลังยื่นหลักทรัพย์วงเงินคนละ 200,000 บาทโดยอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธเนศร์ คำชุม กับพวกซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย การ์ด พธม. , นายนนัสเซอร์ ยี หมะ อดีตหัวหน้าการ์ด คปท. และกลุ่มผู้ชุมนุมรวม 85 คน เป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำ อ.4486/2551 ต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 17 พ.ย.51 ความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ, ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210, 215, 309, 358, 364, 365, 371 , พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 ,พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 และพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2535 จากกรณีระหว่างวันที่ 22-25 ส.ค.51 จำเลยทั้ง 82 คนกับอีก 3 คนซึ่งเป็นเยาวชน ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานี NBT พร้อมพกอาวุธจำนวนมาก จากนั้นจำเลยได้ร่วมกันทำลายทรัพย์สินรวมค่าเสียหายทั้งสิ้นกว่า 6 แสนบาท ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของทางราชการ โดยจำเลยที่ 1 มีเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่จำเลยที่ 39 , 80 มีใบกระท่อม ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 รวมจำนวน 18 ใบไว้ในครอบครอง
 
          ในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ในข้อหาพกพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนจำเลยที่ 39 ให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหามีใบกระท่อมไว้ในครอบครอง แต่ภายหลังกลับให้การปฏิเสธ ส่วนข้อหาอื่นจำเลยที่ 1-85 ให้การปฏิเสธ
           ขณะที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.53 ให้จำคุกนายธเนศร์ คำชุม จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 1 ปี 18 เดือน , นายชนินทร์ อินทร์พรหม จำเลยที่ 2  จำคุก 1 ปี 6 เดือนและปรับ 500 บาท ส่วนจำเลยที่ 3-29 , 31-38 ,40,41,43-46 ,48-79 , 82 จำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน , นายเมธี อู่ทอง จำเลยที่ 24 จำคุก 1 ปี  12 เดือน และนายจรัส วีระพันธ์ จำเลยที่ 39 กับนายธนพล แก้วเชิด ที่ 80 จำคุกคนละ 1 ปี  6 เดือนและปรับ 500 บาท
 
          และจำเลยที่ 30, 47 , 81 จำคุกคนละ 12 เดือน ส่วนจำเลยที่ 83-85 จำคุกคนละ 9 เดือน ซึ่งระหว่างกระทำผิดจำเลยที่  30 ,47 ,81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี และจำเลยที่ 83-85 ยังเป็นเยาวชน และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงเห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลย 30 ,47,81,83,84,85 มีกำหนด 2 ปี และให้จำเลยรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในกำหนดเวลา 1 ปี
           ต่อมาโจทก์ – จำเลย ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 พ.ย.57 เห็นว่า แม้จำเลยจะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การที่บุกรุกให้หยุดเสนอข่าวต้องมีกฎหมายรองรับ ซึ่งที่จำเลยขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เห็นว่า ลักษณะการชุมนุมขอจำเลยเป็นการชุมนุมทางการเมือง ก่อความไม่สงบวุ่นวาย สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง และบุกรุกสำนักงานของผู้อื่น ที่ศาลชั้นต้นไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกด้วย อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่จากพยานหลักฐานที่วินิจฉัยมา การกระทำของจำเลยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวต่อเนื่องกันซึ่งผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษบทหนักสุดฐานบุกรุกที่แม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องความผิดดังกล่าว แต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจนำมาวินิจฉัยได้ตามกฎหมาย
           จึงพิพากษาแก้ปรับบทลงโทษและอัตราโทษใหม่ส่งผลโทษจำคุกน้อยลงเป็นว่า จำเลยที่ 1-29 , 31-41 , 42 – 46 , 48 – 80,82 มีความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและข่มขู่จะใช้กำลังประทุษร้ายจำคุกคนละ 1 ปี ซึ่งนายธเนศร์ คำชุม จำเลยที่ 1 ให้จำคุกอีก 4 เดือนด้วยฐานพากพาอาวุธปืนและมีเครื่องวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงให้จำคุกจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น 1 ปี 4 เดือน ส่วนจำเลยที่ 30,47, 81 ให้จำคุกคนละ 8 เดือน และจำเลยที่ 83-85 ให้จำคุกคนละ 6 เดือน
           โดยคำให้การจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีจึงลดโทษให้จำคุกนายธเนศร์ คำชุม จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 เดือน ,นายเมธี อู่ทอง จำเลยที่ 24 จำคุก 8 เดือน ,จำเลยที่ 2-23, 25-29 , 31-41 , 43– 46 , 48 - 80 ,82 จำคุกคนละ 6 เดือนและเมื่อรวมโทษปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นายชนินทร์ อินทร์พรหม จำเลยที่ 2 ,นายจรัส วีระพันธ์ จำเลยที่ 39 กับนายธนพล แก้วเชิด ที่ 80 จึงเป็นจำคุกคนละ 6 เดือนและปรับ 500 บาท ส่วนนายอัมรินทร์ ยี่เฮง จำเลยที่ 48 ให้บวกโทษคดีอื่นกับคดีนี้จึงเป็นจำคุก 9 เดือน และนายประดิษฐ์ คงช่วย จำเลยที่ 70 ก็เช่นกันจึงจำคุกทั้งสิ้น 8 เดือน สำหรับจำเลยที่ 30 ,47,81 จำคุกคนละ 4  เดือน , จำเลยที่ 83-85 จำคุกคนละ 3 เดือนขณะกระทำผิดทั้งหกเป็นเยาวชน จึงเห็นควรให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ ส่วนความผิดฐานซ่องโจรนั้นให้ยกฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
 
ต่อมายังได้มีการยื่นฎีกา ซึ่งศาลนัดอ่านคำพิพากษาในวันนี้
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับจำเลยทั้ง 85 คนประกอบด้วย
1.นายธเนศร์ คำชุม
2.นายชนินทร์ อินทร์พรหม
3.นายสุธรรม จันทร์วงษ์
4.นายสัญญา สุขเกื้อ
5.นายจำแลง คุ้มสังข์
6.นายปัญญาเดช เอกภาณุพัตร์
7.นายมนตรี แซ่ลิ้ม
8.นานสมถวิล แซ่เอี้ย
9.นายวุฒิชัย ช่วยบุยชู
10.นายมนัส สีสายหูด
11.นายยุทธนา โอชาพงค์
12.นายธนพัฒน์ วิไลภรณ์
13.นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
14.นายนนัสเซอร์ ยี หมะ อดีตหัวหน้าการ์ด คปท.
15.นายสุรชัย สุทธิวรานนท์
16.นายชัชวาล จันชนะพล
17.นายสัมพันธ์ อ่อนช่วย
18.นายสหัส ทองวิจิตร
19.นายบัญชา ดีบรรจง
20.นายเฉลิม โลกภิบาล
21.นายวิชาญ หยะอัด
22.นายทรงวุฒิ จุลษร
23.นายกิตติกร ขุนศรี
24.นายเมธี อู่ทอง
25.นายธีรพร ชูเมือง
26.นายสมเกียรติ รัตนพันธ์
27.นายนพดล เอี่ยมอุดม
28.นายศุภชัย สมทอง     
29นายบุญฤทธิ์ เชิญทอง
30.นายคฑาวุธ ชูศรี
31.นายจีรวัฒน์ คงหนู
32.นายพิเชษฐ์ ด้วงช่วย
33.นายวิเชียร เขียวเล็ก
34.นายสุรินทร์ แก้วหัวไทร
35.น.ส.อนัญชญา เพ็ญพลกรัง
36.นายสุรสิทธิ์ แย้มประชา
37.นายประเสริฐ ด้วงทิพย์
38.นายดำรงศักดิ์ จันทพันธ์
39.นายจรัส วีระพันธ์
40.นายอำนวย เพชรเส้ง
41.นายจรัญ หนูสังข์
42.นายมานิต อรรถรัฐ
43.นายสมโชค จันทร์แก้ว
44.นายประสงค์ ตรัยรัตน์
45.น.ส.แก้วกาญ แพสุวรรณ์
46.นายกฤษฎา มณีพรหม
47.นายศตวรรษ จอนทอง
48.นายอัมรินทร์ ยี่เฮง
49.นายสุรเดช วราภรณ์
50.นายสาโรจน์ ดุลยคง
51.นายภิชัย ทองนวล
52.นายปราโมทย์ พุทธขาว
53.นายประจิตร นุ่นหอม
54.น.ส.สายใจ มณีอุปถัมภ์
55.นายอดิลักษณ์ อนุชาติ
56.นายคำรณย์ อู้สกุลวัฒนา
57.นายธัชชัย ทองจิตร
58.นายนพดล ขาวเรือง
59.นายวีระศักดิ์ บรรจงช่วย
60.นายรอย บุญนิล
61.นายสุนทร รักษายศ
62.นายประสิทธิ์ มากแก้ว
63.นายพรชัย บรรจงช่วย
64.นายคมชิต พุฒดำ
65.นายสมพงศ์ สารมาศ
66.นายณรงค์ บัวใหญ่
67.นายเดโช มะลิลา
68.นายกะวี ยิ้มละไม
69 น.ส.วรรณวิมล แพสุวรรณ
70.นายประดิษฐ์ คงช่วย
71.นายวุฒธิไกร สังข์แก้ว
72.นายวิเชษฐ์ คงจันทร์
73.นายอำไพ สิริชยานนท์
74.นายสุริยา สกุณา
75.นายสุนทร สุวรรณ
76.นายสุเทพ สุวรรณ
77.วิชัย อินทร์พรหม
78.นายวันชัย รักษายศ
79.ไพศาล สุขแก้ว
80.นายธนพล แก้วเชิด
81.นายสุธี จันทวงศ์
82.นายสมเกียรติ หนูใหญ่
83.นายวรานนท์ สุวรรณชาตรี
84.นายวิธวัช สืบกระพันธ์
85.นายสมเกียรติ ดวงมณี

(อ่านข่าวเพิ่มเติม) ศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีบุก "เอ็นบีที"

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ