ข่าว

แปลความง่ายๆ ม.44เร่งรถไฟ“กทม.-โคราช”เปิดทางอะไรให้“จีน”บ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คำสั่ง ม.44 เร่งโครงการรถไฟฟ้าไทยจีน เปิดทางจ้างรัฐวิสาหกิจ “จีน” เข้ารับงาน ไม่ต้องทำตามกฎหมาย-ระบบตรวจสอบ

        16 มิ.ย. 2560 -การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วง กรุงเทพ- นครราชสีมา เราลองมาถอดความว่า คำสั่งดังกล่าวมีความหมายอย่างไร

        ประการแรก จุดประสงค์ของการออกคำสั่งก็ออกมาเพื่อเร่งรัดโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วง กทม. - นครราชสีมา ตามชื่อของคำสั่ง

        โดยเนื้อหากกำหนดให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ทำสัญญาจ้างรัฐสิสหากิจที่เป็นตัวแทนของประเทศจีน สำหรับโครงการนี้ในสามด้านด้วยกัน คือ

        1.งานออกแบบรายละเอียด โครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา

        2.งานที่ปรึกษาควบคุมคุมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา

        3.งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมถึงการจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมทรัพยากร

 

        โดยมีการกำหนดว่าหากทั้งนี้ ถ้ารัฐวิสาหกิจของจีนทีจะเข้ามารับงาน ไม่มีลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาขีพสถาปัตยกรรมของไทยก็ให้ยกเว้นกฎหมายเสีย และค่อให้สภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิกจัดอบรมในภายหลัง

        การกำหนดมูลค่าโครงการ ค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย การทำสัญาจ้าง เงื่อนไขอื่นในการทำสัญญาจ้าง ให้ รฟท. ใช้ผลการเจรจาต่อรองของคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งมติ ครม. และผลปรชุมของคณะกรรมการร่วมมือด้านรถไฟฟ้าไทยจีน มาเป็นกรอบพิจารณา

        ซึ่งการร่างสัญญาต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ และให้ใช้วงเงินที่ ครม. อนุมัติเป็นราคากลาง (ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท) ตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. ซึ่งือเป็นการยกเว้น พ.ร.บ. ป.ป.ช. เรื่องการกำหนดราคากลาง

 

        หากทำไม่เสร็จต้องแจ้งให้นายกฯพิจารณา ถ้านายกฯไม่ขยายเวลาให้ ก็ให้การรถไฟยุติการดำเนินการ และให้ ครม.พิจารณาต่อไป

 

        ทั้งนี้ในการจัดซื้อจัดจ้างก็กำหนดให้ยกเว้นกฎหมายที่ไม่ต้องปฏิบัติตาม 7 ฉบับ ประกอบด้วย

        1.กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ เฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับการจัดหาผู้ประกอบการและการเสนอราคา

        2.กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ

        3.คำสั่ง คสช. ที่ 11/2560 เรื่องการกำกับการจัดซื้อจัดตจ้างของหน่วยงานรัฐ

        4.ระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุ 2535

        5.ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กโทนิกส์ 2549

        6.ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจ่างปี 2544

        7.ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพัสดุ 2544

        ซึ่งหมายความว่ายกเว้นเรื่องการตรวจสอบในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงการต้องเปิดประมูลในการจ้างโครงการ

        ทั้งนี้เมื่อร่างสัญญาจ้างเสร็จแล้ว ให้ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา และให้ตรวจให้เสร็จภายใน 30 วัน ก่อนส่งให้ ครม. เห็นชอบ ถ้า ครม. ไม่เห็นชอบ ให้ส่งเรื่องคืนไปเพื่อทำความเห็นเสนออีกครั้ง หากเห็นชอบแล้วให้ รฟท. เซ็นสัญญาจ้างได้

------------

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ