ข่าว

“ไทยแลนด์ 4.0 - ประชารัฐ” กลไกสถาปนาอำนาจชนชั้นนำ (ชมคลิป)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อ "เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" จับไมค์วิพากษ์โครงการ "ไทยแลนด์4.0" และ "ประชารัฐ" ชี้ให้เห็นความพยายามสถาปนาอำนาจ และกีดกันนักการเมืองออกไปจากเกมนี้

 

 

         19 มิ.ย. 2560 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนา “Direk’s Talk ทิศทางการเมืองโลก ทิศทางการเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ ในงานมีปาฐกถา โดย “ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “การเมืองไทยกับสังคม 4.0” 

          “เสกสรรค์” เริ่มว่า ความหมายของการเมืองที่จะใช้วันนี้เป็นการเมืองในระดับกว้างสุด กินความรวมทั้ง นักการเมืองในระบบและนักการเมืองนอกระบบ ทั้งที่แสวงหาชัยชนะในการเลือกตั้งและแสวงหาอำนาจโดยผ่านการแต่งตั้ง ช่วง3-4 ปีที่ผ่าน มักการพูดถึงการเมืองโดยโยงนัยยะ เพียงนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น ทำให้เข้าใจกันผิดว่ามีแต่นักการเมืองที่เล่นการเมือง ฝ่ายอื่นๆไม่ได้เล่นการเมือง คำพูดแบบรวบรัดดังกล่าว เมื่อนำมาบวกกับเรื่องของคนดี คนไม่ดี จึงได้ข้อสรุปว่า นักการเมืองที่เคยกุมอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้ง ล้วนเป็นคนไม่ดี ส่วนคนที่อยู่ในเวทีอำนาจด้วยวิธีอื่น ล้วนไม่ใช่นักการเมือง ดังนั้นจึงเป็นคนดี ซึ่งคำพูดดังกล่าวขัดต่อหลักธรรมชาติของความจริง เพราะที่ไหนมีอำนาจ ที่นั้นมีการเมือง มีคนเล่นการเมือง เล่นคนที่มาเกี่ยวข้องกับอำนาจ มีดีมีชั่วบ่นกันไป ตั้งแต่ 22 พ.ค. 2557 มาจนถึงการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ทั้งหมดเกิดขึ้น เพราะมีคนเชื่อว่าตัวเองกำลังทำความดี เอาคนไม่ดีลงมาจากเวทีอำนาจ จากนั้นก็เขียนกติกาขึ้นมาใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้คนไม่ดีกลับมามีอำนาจหรือถูกฝ่ายคนดีควบคุมอย่างเข้มข้น

 

“ไทยแลนด์ 4.0 - ประชารัฐ” กลไกสถาปนาอำนาจชนชั้นนำ (ชมคลิป)

          หากดูจากรัฐธรรมนูญ จะมองเห็นเจตจำนงของผู้ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนระบบเลือกตั้งแบบเดิมให้เป็นระบบใหม่ ที่เรียกว่า จัดสรรปันส่วนผสม ที่ทำให้อิทธิพลของพรรคใหญ่ถูกจำกัดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และส่งเสริมโอกาสของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก ระบบดังกล่าวจะทำให้เสียงข้างมากของพรรคเดียวเป็นไปได้ยาก และรัฐบาลที่ตั้งขึ้น อาจจะต้องเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งไม่ค่อยมีเสถียรภาพ คือระบบเลือกตั้งส.ส.บัญชีรายชื่อได้ถูกดัดแปลงให้ขึ้นกับการเลือกตั้งส.ส.เขตและระบบนี้ทำให้การเสนอนโยบายในระดับชาติ ของพรรคการเมืองถูกลดความสำคัญลง เพราะการเลือกตั้งเดิม ที่ผ่านมาการเลือกตั้งส.ส.เขต ผู้ลงคะแนนจะเน้นตัวบุคคลมากกว่าพรรค แต่การเลือกตั้งส.ส.รายชื่อ มักเป็นการเลือกพรรคที่มีนโยบายโดนใจ

 

          ทั้งนี้เมื่ออำนาจของนักการเมืองและพรรคการเมืองถูกจำกัดลงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยังเปิดพื้นที่ทางการเมืองใหม่ ให้ชนชั้นนำภาครัฐอย่างเต็มที่ โดยกำหนดให้ราชการชั้นสูง เป็นทั้งกรรรมการสรรหาและได้รับการสรรหามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและกลไกคคุมต่างๆและบทบาทอำนาจฝ่ายตุลาการได้ถูกยกระดับให้สูงขึ้น และแผ่ขยายออกไปมาก ประเด็นสำคัญบทเฉพาะกาลยังได้กำหนดให้ส.ว.ชุดแรกมาจากการแต่งตั้งโดยคสช. และกำหนดให้มีอำนาจร่วมกับส.ส.ในการรับรองหรือไม่รับรองนายกฯ สามารถให้นายกฯอยู่นอกรายชื่อของพรคการเมืองได้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า เจตนารมณ์ขอรัฐธรรมนูญอยู่ตรงไหน

"ดังนั้นฉากที่จะเกิดขึ้นคือ พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งผนึกกำลังกันหนุนผู้นำจากกองทัพ ทั้งเพื่อกีดกั้นพรรคที่เคยชนะพวกเขา"       

          นอกจากนี้หากดูบทบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฎิรูประเทศกับพ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งต้องออกมาภายใน4 เดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญประกาศใช้ หมายถึงรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งแทบกำหนดนโยบายเพิ่มไม่ได้เลยและอาจจะต้องกลายเป็นผู้สืบทอดนโยบาย คสช.เสียเอง และรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้แก้ไขได้ยากจนถึงขั้นเกือบไปไม่ได้ ซึ่งเหมือนผู้ร่างวัตถุประสงค์จะตรึงโครงสร้างดังกล่าวไว้ให้นานแสนนาน ดังนั้นเมื่อบวกรวมกับช่วงรัฐบาลทหารปกครองโดยตรง การกุมอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐ คงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 9-10 ปี

 

          “เสกสรรค์” ระบุต่อว่า แม้ว่าผลการลงประชามติ 7 ส.ค. 59 ได้รับการยอมรับแต่การที่รัฐธรรมนูญสอบผ่านประชามติ ก็แต่ก็มีคนจำนวนมหาศาลแอบคิดต่างอยู่เงียบๆ ดังนั้นการวางแผนผังจัดสรรอำนาจ โดยไม่สอดคล้องกับดุลอำนาจของสังคมที่เป็นอยู่ โดยผลักดันครอบงำของฝ่ายอนุรักษณ์มากเกินจริง จึงทำให้กับซ้อนแรงเสียดท้านและระเบิดเวลาไว้ตั้งแต่ต้น เพราะผู้ร่างกำหนดให้เสียงของประชาชนมีผลน้อยที่สุดในการจัดตั้งรัฐบาลและการกำหนดนโยบาย

  

          เราคงต้องยอมรับว่า การยึดอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐในครั้งนี้ มีมวลชนสนับสนุนอยู่ไม่น้อย เพราะรัฐประหาร 57 ได้รับการเรียกร้องและนำร่อง ด้วยการเคลื่อนไหวมวลชน ซึ่งขยายตัวกลายเป็นยุทธการที่โจมตีโจมตีรัฐบาลจากาการเลือกตั้งและล้มกระดานประชาธิปไตยในคราเดียวกัน แม้ว่าที่ผ่านมาทั้งทหารและขบวนที่นำร่างต่างก็ยืนยันว่า ต้องการสร้างประชาธิปไตย ฉบับที่ดีกว่า แต่โดยไม่เป็นทางการ ถ้าติดตามข่าวสารในสื่อหลักและในโซเชียลมีเดีย จะพบว่าปัจจุบัน มีคนที่สนับสนุน ระบอบเผด็จการอย่างเปิดเผยมากขึ้น และเท่าที่มีการแสดงออก บรรดากลุ่มทุนใหญ่และกลุ่มคนชั้นกลางในเมือง ดูค่อนข้างจะสบายกับรัฐบาลอำนาจนิยมมากว่ารัฐบาลประชาธิปไตยอย่างชัดเจน

 

          “คำตอบน่าจะอยู่นโยบาย 2 ประการ คือ 1.การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูงหรือนโยบายไทยแลน 4.0 2. นโยบายขับเคลื่อนจุดหมายทางเศรษฐกิจดังกล่าวด้วยกลไกประชารัฐ หากดูภายนอกแล้วนโยบายทั้ง 2 อย่างดูเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ผมคิดว่าเป็น มาสเตอร์แพลน ในการช่วงชิงมวลชนและการสร้างความชอบธรรมใหม่ของชนชั้นนำภาครัฐที่แยบยลมากเป็นส่วนสำคัญของการยึดพื้นที่ทางการเมืองเพื่อสถาปนาอำนาจนำ ซึ่งเป็นการวางแผนที่เป็นระบบ และบูรณาการการโจมตีจากทุกมิติเข้าด้วยกัน”

 

          นโยบายไทยแลนด์  4.0 รัฐบาลยังคงยึดโยงอยู่กับระบบทุนโลภาภิวัฒณ์ ซึ่งโครงการต่างๆจะเป็นการดึงการลงทุนจากต่างประเทศและรัฐบาลยังมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน มีโครงการขนส่งในระดับต่างๆแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจไมได้ลดความเหลื่อมล้ำหรือการกระจายรายได้ในอัตโนมัติและผลประโยชน์สูงสุดจะต้องตกไปอยู่ฝ่ายทุนอย่างแน่นอน

 

          ส่วนปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศเหลื่อมล้ำอันดับ 3 ของโลก ทรัพย์สินที่แสดงให้เห็นควมเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจน คือที่ดิน เกษตรกรกว่า 40 เปอร์เซ็น ไม่มีที่ดินทำกิน ขณะที่คนไทยมากกว่า 3 ใน 4 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินใดๆเลย แต่นักธุรกิจบางตระกูลกับครอบครองที่ดิน ถึง 630,000 ไร่ โฉนดที่ดิน 61 เปอร์เซ็นอยู่ในมือประชาชน 10 เปอร์เซ็นที่รวยที่สุด ความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางด้านโอกาส โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาและทางเลือกในการประกอบอาชีพ

 

          นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีจุดหมายที่ดี ในการมุ่งพาประเทศก้าวให้พ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แต่คำถามมีอยู่ว่า คนไทยพร้อมแค่ไหนในการก้าวไปสู่การทำงานในระบบเศรษฐกิจ 4.0 ประเด็นความเหลื่อมล้ำยังเข้ามาเป็นอุปสรรคอย่างเลี่ยงไม่พ้น จากตัวเลขผู้มีงานทำ 37.4 ล้านคน แรงงานในระบบ มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปถึง 46 เปอร์เซ็น และสัดส่วนแรงงานในระบบ 50.5 เปอร์เซ็น เรียนหนังสือไม่เกินชั้นประถม ในจำนวนนี้ มี 1.2 ล้านคนที่ไม่มีการศึกษาเลย ในเมื่อแรงงานครึ่งหนึ่งมีอายุมากและมีการศึกษาน้อย การปรับตัวยกระดับทักษะให้เป็นแรงงาน 4.0 คงทำได้ยากทีเดียว ยิ่งกว่านั้น อำนาจต่อรองของคนงานลดลงมาก เพราะการผลิตการค้าและบริการ นับวันจะใช้แรงงานคนน้อยลง โดยมีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาแทนที่ แม้ฝ่ายผู้ประกอบการดูเหมือนมีความพร้อมมากกว่าในยุค 4.0 แต่เรื่องแรงงานในระยะเปลี่ยนผ่าน จึงจะนำกลับมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

          “เสกสรรค์” ระบุว่า  ผู้บริหารปัจจุบันรู้ปัญหาดีอยู่แล้ว จึงหันมาใช้รัฐสวัสดิการอ่อนๆ ระบบสังคมสงเคราะห์ เพื่อลดแทนแรงกดดันจากชนชั้นล่างสุด  จึงได้เตรียมงบประมาณไว้ถึง 8 หมื่นล้านบาท สำหรับการช่วยเหลือดูแลคนจนที่มาลงทะเบียนไว้14 ล้านคน โดยคิดยุทธศาตร์ที่ว่ากลไก “ประชารัฐ" ขึ้นมา เป็นเครื่องจักรใหญ่อีกตัวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทั้งไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการเติบโตของจีดีพีเท่านั้น ยังมีเป้าหมายลดความเลื่อมล้ำและกระจายรายได้ไปพร้อมๆกัน ตามนโยบายประชารัฐ โดยรัฐราชการ เสนอตัวเป็นแกนนำประสานระหว่างทุนให้กับธุรกิจรายย่อย หรือแม้แต่เกษตรกรในท้องถิ่นต่างๆ โดนมาเครือข่าย โดยมีเครือข่ายภาคประชาสังคมเป็นภาคีขับเคลือนด้วย ด้วยเหตุดังนี้นโยบาประชารัฐ จึงมีนัยยะทางการเมืองสูงมาก

 

          ทั้งนี้การจับมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน เคลื่อนไหวสู่มวลระดับฐานราก ซึ่งทับซ้อนกับฐานเสียงของนักการเมือง เรื่องนี้หากทำสำเร็จก็จะส่งผลให้ การเมืองภาคตัวแทนกลายเป็นโมฆะได้ คือความพยายามแปรความขัดแย้งทางด้านชนชั้นและความร่วมมือทางด้านชนชั้น ภายใต้การนำของรัฐราชการ กลไกล ประชารัฐ จึงมีกลิ่นไอความรักความสามัคคีของคนในชาติพอสมควร ถือเป็นนโยบายลอยแพ ตัดตอนนักการเมืองตั้งแต่แรก ด้วยการทำให้พวกกลายคนเป็นคนนอกกระบวนการพัฒนาประเทศหรือเป็นแค่ผลพลอยได้ของสูตรแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และนโยบายถูกออกแบบมาหักล้างตอบโต้นโยบายประชานิยมโดยตรง

 

          สิ่งที่คสช.เสนอนับเป็นการท้าทายครั้งใหญ่ต่อนักการเมืองและพรรคการเมือง ตลอดจนนักทฤษฎีฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งถ้าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับผังอำนาจและแนวทางบริหารประเทศแบบ ท็อปดาวน์ ก็คงต้องมีข้อเสนอแตกต่างในระดับที่แกรนด์พอๆกัน ถ้าพรรคการเมืองใดคิดอะไรไม่ได้มากไปกว่าชนชั้นนำภาครัฐ หรือไม่กล้าแตะต้องลัทธิเสรีนิยมใหม่ หรือไม่กล้าคิดต่างในเรื่องใหญ่ๆ พรรคเหล่านั้น ก็เป็นแค่กลุ่ม แสวงหาอำนาจ และเป็นแค่ส่วนตกแต่งของพลังอำนาจที่ขับเคลื่อนรัฐราชการและควบคุมสังคมไทยอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้มีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย เพราะนักการเมืองและพรรคการเมืองรุ่นเก่าจำนวนหนึ่ง ล้วนเติบโต จากช่วงระบบประชาธิปไตยครึ่งใบ จึงคุ้นเคยกับการร่วมมือกับชนชั้นนำภาครัฐ ในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีนายกคนนอก 

 

          “ดังนั้นฉากที่จะเกิดขึ้นคือ พรรคการเมืองจำนวนหนึ่งผนึกกำลังกันหนุนผู้นำจากกองทัพ ทั้งเพื่อกีดกั้นพรรคที่เคยชนะพวกเขา มาในการเลือกตั้งหลายครั้งหลัง และชิงส่วนแบ่งทางอำนาจมาไว้กับตน แม้จำต้องเล่นบทพระรองก็ตาม”

 

          อย่างไรก็ตามการดูถูกหมิ่นหยามนักการเมืองและพรรคการเมือง และสิ่งที่ชนชั้นนำภาครัฐแสดงออกอย่างเปิดเผยตลอดมาหลังช่วงรัฐประหาร คณะรัฐประหารและมวลชนที่สนับสนุน มักจะใช้วาทกรรมต่อต้านคอรัปชั่น พุ่งเป้าใส่พรรคการเมือง ซึ่งตอนแรกอาจหมายถึงพรรครัฐบาลที่ถูกโคลน แต่ต่อมา กับออกไปในทางเหมารวมนักการเมืองทั้งหมด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ราชการกับพ่อค้า นักธุรกิจต่างหาก ที่เป็นต้นตอการทุจริตในประเทศไทย และการคอรับชั่นก็ไม่ได้หายไปในช่วงการปกครองแบบอำนาจนิยม

 

          คำถาม 4 ข้อเรื่องธรรมาภิบาล ซึ่งฝ่ายรัฐ ตั้งขึ้นและรณรงค์ ช่วยกันตอบ แท้จริงแล้วคือการเปิดฉากรุกทางการเมือง ต่อบรรดานัการเมืองอีกระลอกหนึ่ง โดยช่วงชิงก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น วิธีต้องการสถาปนาความชอบธรรมของตนและลดทอนความชอบธรรมของคู่แข่ง

 

          ตอนท้าย “เสกสรรค์” ชีว่า การเมืองในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีแนวโน้มที่จะไปได้ทั้ง 2 ทาง ทางแรก นักการเมืองเล่นบทหางเครื่อง คอยผลัดหน้าทาแป้งกับชนชั้นนำภาครัฐ ที่จะกุมอำนาจต่อในฐานะรัฐบาลประชาธิไตย กลายเป็นการเมืองระบอบ เกี้ยเซี้ย หรือเกี้ยเซี้ยธิปไตย ทางที่สอง พรรคการเมืองสวนใหญ่อาจจะผนึกกำลังกัน ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ที่สร้างสรรค์ โดยมีข้อเสนอแนะ ข้อโต้แย้ง เชิงนโยบายที่แตกต่าง จากแนวคิดของฝ่ายอนุรักษณ์นิยม ถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นปรากฎหารณ์ที่เร้าใจยิ่ง และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการเมืองในประเทศเรา

----

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ