ข่าว

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กาฬสินธุ์ - คมข่าวทั่วไทย

 

                ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อ.ยางตลาด บ้านหนองกาว ม.5 ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์ นายผดุงศักดิ์  อิ่มเอิบ นายอำเภอยางตลาด  นายอิสระ ทินภัทรภิญโญกุล  ปลัด อบต.นาเชือก  น.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ นางละม่อม   สุนทรชัย  เกษตรอำเภอยางตลาด นายวิรัตน์   แสงแก้ว ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์ นายบุญช่วย   สงฆนาม ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์(สวพ.) พร้อมด้วยหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field  Day (อ้อย) ปี 2562 และประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จังหวัดกาฬสินธุ์

 

 

 

                นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์  กล่าวว่า สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเขตพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ และภาคเอกชน ร่วมทั้งฝ่ายปกครอง และผู้นำชุมชนจัดวันถ่ายทอดความรู้(Field  Day)ตามนโยบายของจังหวัดกาฬสินธุ์ และรัฐบาล เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่  เนื่องจากภาคเกษตรของไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

                นายวิบูลย์ กล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อต้องการเผยแพร่เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำและสร้างความตระหนักของเกษตรกร  ให้เห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างรู้คุณค่าและประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ให้เกิดการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการพระราชดำริต่างๆ ให้เข้าถึงเกษตรกรพร้อมนำไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมบริการและช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร  ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย

                ด้านน.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมในงานมีการแบ่งฐานเรียนรู้ออกเป็น 6 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย  ฐานที่ 2 การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า  ฐานที่ 3 การลดการเผา ฐานที่ 4 องค์ความรู้เครื่องจักรกลการเกษตร  ฐานที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียง และ ฐานเรียนรู้ที่ 6 บัญชีครัวเรือน โดยมีเกษตรกรร่วมกว่า 500 กว่าคน นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน  สินค้าจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจาก อ.ยางตลาด  มีการประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม  จัดทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย  ร่วมปลูกอ้อยชำถุง  สาธิตการการใช้เครื่องสางใบอ้อยติดรถไถและการรณรงค์ไม่เผ้าอ้อย

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

              ขณะที่นางละม่อม   สุนทรชัย  เกษตรอำเภอยางตลาด กล่าวว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีโรงงานน้ำตาลทราย 2 โรงงาน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.กุฉินารายณ์และอำเภอสามชัย  ในช่วงนี้โรงานนำตาลทั้ง 2 แห่งกำลังรับซื้ออ้อยป้อนโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ซึ่งการตัดอ้อยให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง เราสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ให้ตรวจสอบอายุและความแก่ของอ้อยก่อนการตัด ควรทำผังแปลงที่จะตัดเพื่อสะดวกในการตัดอ้อย เตรียมแรงงานตัดอ้อย และรีบติดต่อรถบรรทุกอ้อยให้พร้อม การตรวจสอบความแก่ของอ้อย เพื่อให้อ้อยมีน้ำหนักและความหวานสูง ชาวไร่สามารถสังเกตได้จากอ้อยออกดอกหรือใบอ้อยเริ่มเหลือง อ้อยที่เราจะจัดมีอ้อยปลายฝน อ้อยตอและอ้อยต้นฝน

              นางละม่อม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับวิธีการตัดอ้อย แรกๆควรติดต่อรับใบคิวในเขตส่งเสริม จะทำให้อ้อยไม่ตกค้างในไร่นาน ควรตัดอ้อยที่แก่ หากตัดอ้อยออกดอกต้องตัดก่อนดอกจะร่วง ควรตัดอ้อยให้ชิดดิน ลอกกาบออกแล้วตัดยอดที่กาบใบแห้งสุดท้าย เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย กรณีที่ใช้รถขนส่งควรส่งอ้อยเข้าโรงงานภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักอ้อย แต่มีข้อระวังไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัด จะทำให้เสียน้ำหนักและความหวาน และทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง 5-10% ต่อปี มีผลเสียต่อการไว้ตออ้อยในปีต่อไปและยังทำให้เกิดมลพิษอีกด้วย

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ