พระเครื่อง

'ชวนน้องท่องพุทธวจน'ท่องแดนพุทธภูมิ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ชวนน้องท่องพุทธวจน' พาเยาวชน ไปอินเดีย 'พบธรรมะจากพระพุทธเจ้า' : โครงการชวนน้องท่องพุทธวจน มูลนิธิพุทธโฆษณ์รายงาน

              'พุทธวจน' เชื่อเหลือเกินว่าคงจะมีหลายคนสงสัยว่าคำที่ขึ้นต้นมานั้นอ่านออกเสียงอย่างไร บางคนอาจจะอ่านว่า “พุท-ธะ-วะ-จน” เสียด้วยซ้ำ ซึ่งแท้จริงแล้ว “พุทธวจน” จะอ่านออกเสียงว่า “พุท-ธะ-วัจ-จะ-นะ”  และไม่ใช่คำที่เขียนขึ้นมาเท่ๆเท่านั้น

              แต่คำนี้มีความหมายลึกซึ้ง และมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพราะ “พุทธวจน” หมายถึง พระสูตร หรือคำสอนจากพระธรรมเทศนาที่ออกจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงธรรมยังที่ต่างๆ และมีการบันทึกกันไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังนั้นจึงเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ไม่ผิดเพี้ยน

              เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการเผยแผ่หลักคำสอนตามพุทธวจน ให้แพร่หลายในสังคมไทย โดยเริ่มดำเนินการเผยแผ่หลักคำสอนตามหลักพุทธวจนมาตั้งแต่พ.ศ....... เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

               ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าในสังคมไทย ที่แม้จะเป็นสังคมที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนามากกว่าร้อยละ85 กลับยังไม่รู้ความหมายของคำว่า “พุทธวจน” อย่างแท้จริง ส่งผลให้มีการนำคำสอนของพระพุทธองค์ไปดัดแปลงตามความเข้าใจของตัวเอง ทำให้เกิดผลเสียมายังพระพุทธศาสนา

              พร้อมกันนี้กลุ่มพุทธบริษัทที่เกิดความศรัทธาในพระอาจารย์คึกฤทธิ์ และแนวทางการสอนตามหลักพุทธวจน จึงรวมตั้งกันก่อตั้งเป็น มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เพื่อดำเนินการเผยแผ่คำสอนพุทธวจน อย่างเป็นรูปธรรม

              แต่สิ่งหนึ่งที่ทางมูลนิธิพุทธโฆษณ์เล็งเห็นคือ แม้ว่าจะมีการเผยแผ่คำสอนตามหลักของพุทธวจนอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม แต่การที่จะทำให้เกิดผลระยะยาวอย่างแท้จริง ควรเริ่มปลูกฝังคำสอนนี้ตั้งวัยเด็ก เพราะเด็กยังเป็นวัยที่เรียนรู้ได้ง่าย และเมื่อเด็กได้จดจำพระสูตรในพุทธวจนแล้ว เมื่อโตขึ้นความทรงจำนั้นจะยังคงอยู่ เช่นเดียวกับการท่องสูตรคูณ หรืออาขยาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดหลักธรรมะในการใช้ชีวิตประจำวันขึ้น

              โครงการ “ชวนน้องท่องพุทธวจน” จึงเกิดขึ้นจากแนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งหวังเพื่อปลูกฝังหลักคำสอนตามพุทธวจนลงในตัวเด็ก ซึ่งเป็นคำสอนที่ออกจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพุทธเจ้า และมีการบันทึกกันไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อเด็กได้ท่องบทพุทธวจนจะทำให้เด็กมีหลักธรรมะในการยึดเหนี่ยวจิตใจ                       

              ส่วนของการดำเนินการโครงการชวนน้องท่องพุทธวจนนั้น นางปราณี สืบวงศ์ลี ประธานคณะทำงาน โครงการชวนน้องท่องพุทธวจน มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เล่าว่า ทางมูลนิธิพุทธโฆษณ์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นโครงการที่สนับสนุนความสามารถของเยาวชน ด้านการสาธยายพุทธวจน ในกลุ่มเยาวชนที่กำลังศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และประชาชนไทย หันมาสนใจการนำพุทธวจน ซึ่งหมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นเสาหลักของจิตใจ เป็นหลักยึดเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการจัดประกวดจะให้แต่ละโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าประกวดเป็นทีมๆละ10 คน และเมื่อจัดโครงการนี้เสร็จแล้ว จะมีการประเมินเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการรณรงค์ให้นักเรียนท่องพุทธวจนหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนทุกวันด้วย

              นางปราณี บอกด้วยว่า หลังจากปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมาพบว่ามีโรงเรียนจากทั่วประเทศส่งนักเรียนเข้าร่วมประกวดรวม 17,300 คน ซึ่งในพื้นที่จ.บุรีรัมย์ถือว่ามีการส่งนักเรียนเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้มากที่สุดถึงกว่า 1,500คน โดยช่วงนี้เป็นช่วงของการประกวดในรอบแรกระดับเขตพื้นที่การศึกษา จากนั้นจะเป็นการจัดประกวดในรอบสองระดับภาคประมาณเดือนส.ค. และรอบสุดท้ายประมาณเดือนก.ย.นี้ โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเดินทางไปยังแดนพุทธภูมิ ตามรอยพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดียด้วย ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดการประกวดได้ที่เว็บไซต์ www.nongtongbuddhawajana.com

               “หลังจากดำเนินโครงการนี้ไปได้สักระยะ จะมีการประเมินผลโครงการว่าเด็กที่เข้าร่วมประกวดโครงการนี้มีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด แต่จากการสอบถามไปยังผู้ปกครองในบางพื้นที่ยอมรับว่าเมื่อเด็กได้เข้าร่วมโครงการนี้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น และอยากขอบคุณที่มีโครงการนี้ขึ้นมาด้วย” ประธานคณะทำงาน โครงการชวนน้องท่องพุทธวจน กล่าวถึงผลตอบรับหลังจากที่เริ่มดำเนินการโครงการชวนน้องท่องพุทธวจน

              แม้กว่าจะสรุปผลของการดำเนินการโครงการนี้ได้ อาจจะต้องรอไปจนใกล้สิ้นสุดโครงการ หรือรอให้สิ้นสุดโครงการแล้ว แต่ตัวอย่างผลของการที่เด็กที่ได้เรียนรู้พุทธวจน ที่ไม่ต้องรอการประเมินจากโครงการชวนน้องท่องพุทธวจนก็คือ เด็กๆ ที่เข้าไปศึกษาพุทธวจนยังวัดนาป่าพง และ“น้องเก้า” ด.ช.สิรวิชญ์ งามอนันต์ประทีป ซึ่งอายุเพียง 5 ปี ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ที่สามารถจำพระสูตรได้มากถึง 14 พระสูตร ทั้งที่ยังมีอายุเพียง 5 ปีเท่านั้น

              โดยน้องเก้า บอกถึงสาเหตุที่สนใจในพุทธวจน เพียงสั้นๆ แต่อาจจะทำให้ชาวพุทธที่เป็นผู้ใหญ่หลายๆคนถึงกับสะดุ้ง ว่า ที่สนใจท่องบทพุทธวจนเพราะรักพระพุทธเจ้า และอยากจำคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งยังอยากท่องพระสูตรต่างๆให้ได้มากที่สุด

              และการสนใจท่องพุทธวจนของน้องเก้า ไม่ได้มาจากการถูกบังคับ แต่มาจากการสนใจของตัวน้องเก้าเอง ซึ่ง น.ส.อาลีวรรณ เภตรา อายุ 38 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว แม่ของน้องเก้า เล่าว่า เมื่อปี 2555ได้เห็นพระอาจารย์คึกฤทธิ์ สอนธรรมะทางโทรทัศน์ และเกิดความศรัทธา ประกอบดับโดยส่วนตัวก็จะเป็นคนชอบปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว จึงได้เดินทางไปยังวัดนาป่าพง และพาน้องเก้า กับน้องกิม พี่ชายของน้องเก้าไปด้วย พอกลับมาบ้านตนก็นั่งท่องบทพุทธวจน แต่อยู่ๆน้องเก้าก็ท่องตาม และตนเห็นว่าน้องเก้าสนใจบทพุทธวจน จึงสอนให้ท่องโดยการท่องให้ฟัง เพราะน้องเก้ายังอายุน้อยมาก อยู่แค่ระดับอนุบาล 2 จึงยังอ่านหนังสือ และเขียนหนังสือไม่ได้ แต่พอท่องบทพุทธวจนให้น้องเก้าฟัง น้องเก้าก็สามารถจำได้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง ซึ่งน้องเก้า จะชอบท่องบทพุทธวจนมาก บ้างครั้งถึงกับละเมอมาเป็นบทพุทธวจน หรือบางทีขณะกำลังเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็จะท่องบทพุทธวจนไปด้วย

              น้องเก้า เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของเด็กอีกหลายๆคนที่สนใจท่องคำสอนของพระพุทธเจ้า จนจำขึ้นใจ ซึ่งแม้จะยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าเด็กๆที่เริ่มท่องคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีกี่เปอร์เซนต์ที่จะนำคำสอนพระพุทธเจ้าไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

              แต่อย่างน้อยการนำเด็กเข้าวัด ท่องบทพุทธวจน ก็ย่อมดีกว่าปล่อบให้เดกไปมั่วสุมกันอยู่ในร้านเกม ห้างสรรพสินค้า มิใช่หรือ

              ทุกสัปดาห์ เสียงท่องพระสูตรบทต่างๆ ยังคงก้องกังวาลอยู่ที่วัดนาป่าพงเป็นประจำ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตเสียงการท่องพระสูตรเหล่านี้จะเกิดขึ้นในโรงเรียนต่างๆ เฉกเช่นการท่องแม่สูตรคูณ หรือการท่องบทอาขยาน เพื่อให้ “คำสอนของพระพุทธเจ้า” ได้หยั่งรากลึกลงไปในจิตใจของเด็กไทยทุกคน... 

              ล่าสุด พาทีมชนะคือ ร.ร. อุดมศึกษา จากจังหวัดราชบุรีเดินทางไปประเทศอินเดียไหว้สังเวชียสถานทั้ง 4 แห่ง  ล้วนสร้างความประทับใจให้กับเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง จากการทำงานในครั้งนี้ ส่งผลให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงในตนเอง มีสมาธิมากขึ้น อดทนได้ต่อสิ่งยั่วยวน มีเหตุผล และสามารถดึงพระสูตรมาใช้ในชีวิตได้ทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ