Lifestyle

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“ปฎิรูปการศึกษา” ดูจะเป็นเรื่องที่เราได้ยินบ่อยครั้ง แถมก็มีการดำเนินการมาหลายรอบ เพราะไม่ว่าจะรัฐบาลชุดไหนๆ รมว.ศึกษาธิการคนใดก็มุ่งปฎิรูปการศึกษา

      ยุครัฐบาลทหารก็เช่นเดียวกัน ด้วยทุกฝ่ายมักมองว่าปัญหาการศึกษาต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา ซึ่งมี “ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา" แต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

        โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา รวมถึงจัดตั้งกองทุนให้แล้วเสร็จภายใน 1ปี นับแต่วันประกาศใช้รธน. และต้องมีกลไกระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ รวมถึงปรับการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ และจัดทำข้อเสนอแนะและร่างกฎหายให้แล้วเสร็จและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

“ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา"     

         ศ.นพ.จรัส ฉายภาพการศึกษาไทย ว่าการศึกษาไทยวิกฤตและมีปัญหาอย่างมาก ทั้งเรื่องของคุณภาพ ความเหลื่อมล้ำ ความเป็นเลิศในการแข่งขัน ประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ซึ่งผลสรุปจากรายงานที่ผ่านมา พบว่า คุณภาพศึกษาไทยต่ำอย่างยิ่งยวด อย่าง คุณภาพการศึกษาต่ำมาก ดูได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (โอเน็ต) ต่ำมาก ผลการสอบPISA ต่ำมาตลอด 15 ปี ครึ่งหนึ่งผลการต่ำ ส่วนผลคะแนนที่ดีมีอยู่ไม่ถึง 1 % เด็กจบม.3 ไม่เรียนต่อและเด็กออกกลางคันก่อนจบปีละ 60,000 คน ผลการทดสอบเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า การศึกษาไทยไม่ได้เรื่อง และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ผู้ที่จบการศึกษาของไทยยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ

      ขณะที่ “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย” สูงมาก เด็กจากโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น กับโรงเรียนในเมืองคุณภาพแตกต่างกัน ผลการทดสอบใน PISA นักเรียนที่สอบได้คะแนนดีๆ มาจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ แต่โรงเรียนในเมืองหรือชนบทกลับคะแนนต่ำสุดๆ ส่วน ความสามารถในการแข่งขันของชาติ ก็ต่ำจนน่าละอาย ทั้งที่ประเทศไทยมีดีทุกอย่าง ทั้งวัฒนธรรม ภูมิอากาศภูมิประเทศที่ดี ผลงานวิจัยของอุดมศึกษาไทยก็ไม่สามารถตีพิมพ์จนได้รับการอ้างอิง ไม่สามารถแข่งขันได้

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

      "ไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษา 20 % ของงบประมาณแผ่นดิน แต่ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่ำ โรงเรียน การศึกษาไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศอยู่ระดับ POOR การศึกษาไม่มีคุณภาพ เหลื่อมล้ำเยอะ มหาวิทยาลัยไทยแพ้แข่งขันไม่ได้ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะไม่มีใครรับผิดชอบ ขาดธรรมาภิบาล การปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้ จึงไม่ได้รับผิดชอบเฉพาะการศึกษาในระบบ 11 ล้านคน แต่รับผิดชอบการศึกษาทั้งใน และการศึกษานอกระบบ อีก 47 ล้านคน และครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการปฎิรูปการศึกษาเท่าที่จะทำได้ แต่ดึงทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน ประชาสังคม เข้ามามีส่วน ทุกคนต่างมอบความหวังไว้ที่การปฎิรูปครั้งนี้

        6 เดือนที่ผ่านมาของการทำงานของคณะกรรมการอิสระฯ มีหน้าจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ได้มีการตั้งคณะอนุกรรการมาดูแลในหลายๆ เรื่อง ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ....และคณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างดังกล่าวแล้ว

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

      ก้าวต่อไปในปี 2561 ของการปฎิรูปการศึกษา ศ.นพ.จรัส เล่าต่อไปว่า ปฎิรูปการศึกษา ยังคงต้องทำตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ โดยความสำเร็จต้องมองไปอีก 5-10 ข้างหน้าว่าคุณภาพคนดีขึ้น มีบุคลิกภาพ สมรรถนะของคนที่เหมาะสม คนมีคุณภาพจริยธรรม การศึกษาต้องทำให้คนเห็นประโยชน์ส่วนร่วมไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน โดยหลังจากนี้

      คณะกรรมการอิสระฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ และนอกระบบ ต้องมีการริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ แก้กฎหมายต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ทำให้เกิดการทดสอบ หลักสูตรที่มีสมรรถนะเป็นพื้นฐาน การบริหารโรงเรียนที่ีมีความเป็นอิสระ หลากหลาย การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาระบบครูจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และนำไปบรรจุในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

      โดยการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาปฐมวัย พ.ศ.... ซึ่งขณะนี้มี 4 กระทรวงที่ดูแลเรื่องนี้ แต่เป็นต่างคนต่างทำ มีการประสานกันระดับหนึ่ง แต่การปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้ ต้องประสานทั้ง 4 กระทรวงเข้าด้วยกัน โรงเรียนและศูนย์ดูแลเด็กเล็กต้องมีคุณภาพ มาตรฐาน สิทธิประโยชน์ การบริหารจัดการ การดูแลสิ่งแวดล้อม นโยบาย ปฏิบัติ และความรู้ปฐมวัย ต้องแก้ไขไปในทิศทางเดียวกัน

      ส่วนร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ... ต้องคำนึงถึงความอิสระเป็นความหลากหลาย ผลิตบัณฑิต งานวิจัย นวัตกรรมที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและมีงบประมาณในการดำเนินการ รวมถึงต้องมีระบบข้อมูลรองรับ สร้างความสมดุลระหว่างอิสระและเสรีภาพในการบริหารจัดการ

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

      ขณะที่ โรงเรียนนิติบุคคล โรงเรียนอิสระ ที่จะมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการโรงเรียนได้ โรงเรียนต้องเข้าสู่การปฎิรูปการปฏิวัติดิจิตอล และการประเมินต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาอื่น คณิตศาสตร์แบบใช้งานได้ วิทยาศาสตร์ที่เกิดการคิด วิเคราะห์ เรื่องดิจิตอล การสื่อสาร การเงิน วิชาชีพ และเรื่องคุณภาพชีวิต กรจัดการศึกษาต้องเน้นให้เกิดสมรรถนะควบคู่การมีคุณธรรมจริยธรรม ความเหลื่อมล้ำต้องหายไปหรือลดลง คนที่จบการศึกษาในเมืองและต่างจังหวัดคุณภาพต้องไม่ต่างกัน ประเทศไทยต้องแข่งขันได้ การบริหารจัดการมีคุณภาพ ถ้าสิ่งเหล่านี้อีก 5-10 ปี เกิดขึ้นได้ แสดงว่าปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้สำเร็จ

     ศ.นพ.จรัส กล่าวอีกว่า ตอนนี้การศึกษากลายเป็นกับดักความเหลื่อมล้ำ กับดักความยากจน ทั้งที่การศึกษาเป็นความหวังของคนยากจน คนยากจนอยากให้ลูกได้เรียนเพื่อให้พ้นจากความยากจน แต่เมื่อเข้าไปเรียนกลับเข้าไปเรียนในโรงเรียนที่คุณภาพไม่ดี ออกมาก็ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ไม่พ้นความยากจน เป็นวงจรอุบาทว์ ที่พัฒนาคนให้ดีขึ้นไม่ได้ และเรื่องนี้เชื่อมโยงกับความมั่นคง ความสามารถในการแข่งขัน ถ้าปฎิรูปการศึกษาไม่สำเร็จ ประเทศจะแข่งขันได้อย่างไร จะเจอวิกฤตหนักมากกว่าที่เป็นอยู่ 

     “ปฎิรูปการศึกษา ไม่ใช่เพียงเรื่องการศึกษา แต่หมายถึงชีวิตของประชาชน เราจะต้องหลุดพ้นจากการติดกับดักความเหลื่อมล้ำ และความยากจนให้ได้ ต้องหาหมัดน็อค คือการเปลี่ยนวิธีคิด ปรับให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลก รับมือปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้ได้ ที่สำคัญต้องให้ความเคารพและศรัทธาต่อครู นักเรียน ขณะนี้เราไม่มีความศรัทธาต่อเด็กไทย ศรัทธาต่อครู ซึ่งถ้าเราจะศรัทธาต่อเด็ก และครูได้ ต้องเปลี่ยนวิธีคิด มีความอดทนและต่อสู้ให้ได้แม้อยู่ในสภาพที่แย่ แม้ระบบโรงเรียนเป็นอย่างไรแต่ต้องทำให้เด็กสู้ มีความสามารถ ศักยภาพที่ดีขึ้นให้ได้ ทำให้เด็กรู้สึกว่าทำได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"

“ปฎิรูปการศึกษา”มโน OR ของจริง?

       การศึกษากำลังก้าวสู่ดิจิตอล เลินนิ่ง แพด ฟอร์ม หากอยากให้เด็กเก่งภาษาอังกฤษ สถาบันภาษาหลายๆ แห่งต้องร่วมกันผลิตโปรแกรม หรือการเรียนการสอนในรูปแบบเกม หลักสูตรที่จะทำให้เข้าถึงตัวเด็ก ร่วมสร้างเด็กทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะในเมือง ชนบทมีสมรรถนะเช่นเดียวกัน ไม่ทำให้คนรวยเอาเปลี่ยนคนจน ต้องปลูกฝังให้เด็กมีกตัญญูและกตเวทิตา คือทำโดยไม่ได้รู้สึกเฉพาะในใจ แต่ต้องทำด้วยหัวใจ ลงมือปฎิบัติจริงๆ

      ต่อให้มีการเปลี่ยนผู้บริหารในโรงเรียน รัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หากทุกฝ่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน “เปลี่ยนวิธีคิด ค้นหาหมัดน็อคการศึกษา ศรัทธาต่อเด็ก และครู เชื่อมั่นในการปฎิรูปการศึกษา เห็นประโยชน์ส่วนร่วม” อะไรจะเปลี่ยนแปลงไปมา ก็ควรเดินหน้าตามปฎิรูปการศึกษา

 0 ชุลีพร อร่ามเนตร รายงาน [email protected] 0

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ