ข่าว

"อุตตม"หยอดคำหวาน ดูแลชาวไร่อ้อย พัฒนาเศรษฐกิจ Bio ยั่งยืน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อุตตม"หยอดคำหวาน ดูแลชาวไร่อ้อยนครสวรรค์ พัฒนาเศรษฐกิจ Bio ยั่งยืน

           "เกษตรกร" อ้อนสัญญาใจพร้อมสนับสนุนบริหารงานต่อ แต่ข้อแก้ปัญหาด่วน 2 ข้อรถบรรทุกอ้อย-รถลาก พร้อมยันค้านร่าง พ.ร.บ.อ้อย-น้ำตาล ติงที่มาผู้แทนเป็นกรรมการน่าห่วง ระบุ 15 พ.ย.พา 2,000 คนฟังคำตอบที่กระทรวง หากไม่รับปาก รมว.อุตฯ ออกตัวขอเวลาแก้ปัญหาจริงใจตามระบบ ยันเป็นธรรมดูแลทุกฝ่าย

          วันที่ 11 พ.ย.61  ที่หอประชุมสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 จ.นครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เมื่อเวลา 09.30 น. "นายอุตตม สาวนายน" รมว.อุตสาหกรรม เดินทางมาเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ของสมาชิกชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ , นายทองคำ เชิงกลัด นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ และคณะ รวมทั้งพาณิชย์จังหวัด รอต้อนรับ

             โดยนายอำนวย กลิ่นสอน เลขานุการสมาคมชาวไร่อ้อย เปิดเผยว่า การประชุมสามัญของสมาคมดังกล่าวเป็นการประชุมประจำปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสมาชิก 23,000 รายที่สังกัดสมาคมมีทั้งใน จ.นครสวรรค์ และพื้นที่นอกจังหวัดใกล้เคียง ขณะที่การประชุมเปิดให้เหล่าสมาชิกได้มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อน เพื่อสะท้อนปัญหาให้รัฐบาลรับทราบและหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยต่อไป

            จากนั้นนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมชาวไร่อ้อย ได้กล่าวเปิดใจกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มาร่วมการประชุมว่า  วันนี้โอกาสของกลุ่มพี่น้องเกษตรกรมาถึงแล้วที่จะร่วมกันเป็นหุ้นส่วนขับเคลื่อนการการปลูกอ้อยของเราที่นอกจากจะนำมาแปรรูปเป็นน้ำตาลแล้ว เรายังสร้างผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ด้วย ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือที่เรัยกว่า  Bio ทั้งการนำส่วนของอ้อย มาสร้างเป็นบรรจุภัณฑ์เป็นไบโอพลาสติก และไบโอเคมี อย่างเครืื่องสำอางค์ , เคมีภัณฑ์ , เวชภัณฑ์ ซึ่งหุ้นส่วนเราตอนนี้ คือ 1.กลุ่มเกษตรกร 2.กลุ่มโรงงาน 3.รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งภายใน 2 ปี มีความเป็นได้ที่เราจะปรับผลผลิตพืชผลทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องเต็มรูปแบบ และเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน มั่งคง เราจะดูแลกันอย่างต่อเนื่องให้เป็นเศรษฐกิจเพื่อชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มั่งคั่ง สร้างสรรค์ และยั่งยืนในเวทีโลก ก็ขอให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าเราจะทำให้เป็นจุดแข็งของประเทศ เราเป็นหุ้นส่วนจะแบ่งสันปันส่วนผลประโยชน์ให้อย่างเท่าเทียม

              รมว.อุตสาหกรรมกล่่าวต่อว่าวันนี้เราจะช่วยกันคิดว่าจะปรับโครงสร้างอย่างไรที่จะแชร์ผลประโยชน์อย่างแฟร์ๆ อย่าไปคิดว่าของเดิมดีอยู่แล้ว เอาของใหม่มาทำไม ตนยืนยันว่าเราจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ-อุตสาหกรรมการเกษตร สร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกร โดยไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน ซึ่งผลผลิตทางเกษตรของเราที่ส่งออกอันดับหนึ่งก็คือ มันสำปะหลัง , อันดับสอง อ้อย  น้ำตาล ดังนั้นเราอย่าไปกังวลกลัวว่าจะทำไม่ได้ เราต้องเชื่อว่าทำได้แต่เราต้องร่วมกันเสนอพูดคุยกันแบบพร้อมจะเปิดกัน

 

               ภายหลัง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวเปิดใจถึงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรแล้ว กลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั้งใน จ.นครสวรรค์ และ ตัวแทน จ.กาญจนบุรี ก็ได้กล่าวถึงปัญหาที่ยังรอให้รัฐบาลและรมว.อุตสาหกรรม พิจารณาแก้ไข ด้วยว่า มีปัญหา 2 ข้อ คือ 1.เรื่องบรรทุกขนอ้อย ที่จำกัดความสูงก็ขอให้ตอนนี้ขนได้สูง 4 เมตร ที่จะพิจารณาลดความสูงที่ละ 10 เซนติเมตรก็ขอให้ชะลอไปก่อน 2.เรื่องรถเทรลลเอร์หรือนถลาก ที่ชาวบ้ายเกษตรกรต้องใช้ลากอ้อยจากพื้นที่นั้น ก็ขอให้ยังใช้ได้อยู่เพราะชาวบ้านมีฐานะยากจน ก็ขนส่งอื่นจะลำบากตอนนี้ยังต้องขอใช้รถเทรลเลอร์ลากไปก่อน

                และที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่เข้าสู่ช้้นคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น พวกเราเกษตรกรทุกคนยังคงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ เพราะเนิ้อหาที่กำหนดไว้จะทำให้เกษตรกรอ่อนแอ จากเดิมที่เราเคยเข้มแข็งมาได้ถึง 40 ปี ร่างนี้จะทำให้กบุ่มโรงงานได้ประโยชน์มากว่า เราก็ขอให้ได้พูดคุยกันก่อน และที่มาของคณะกรรมการบริหารในร่างกฎหมาย ก็เป็นปัญหาว่าก็ให้ได้มาจากตัวแทนอย่างแท้จริง ซึ่งพวกเราเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็ขอบคุณ รมว.อุตสาหกรรม ที่ก่อนหน้านี้ได้แก้ปัญหาเบื้องต้นราคาผลผลิตให้อีก 50 บาทต่อตัน แต่ปัญหาเรื่องรถบรรทุกทั้ง 2 ข้อยังคงเป็นปัญหา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ..ด้วยที่จะทำให้เราอ่อนแอลง

                 ดังนั้นขอรัฐมนตรี ขอให้สัญญาประชาคมกับเกษตรกร ณ ที่นี้ในวันนี้ด้วยว่า จะแก้ไขปัญหา หากยังไท่มีคำตอบเรา 2,000 คนจะเป็นตัวแทนจสกสมาชิกกว่า 20,000 คน ไปถามหาคำตอบที่กระทรวงในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เราขอบคุณและก็สนับสนุนท่าน รมว.อุตสาหกรรม มาตลอด ก็คิดด้วยว่าท่านจะยังเป็นรัฐมนตรีต่อไปถึงสมัยหน้า และขออย่าทำให้เกษตรกรต้องอ่อนแอในยุคนี้ ถ้าจะอ่อนแอขอให้เป็นสมัยอื่น โดย "นายอุตตม " รมว.อุตสาหกรรม ได้กล่าวตอบในที่ประชุมต่อหน้ากลุ่มเกษตรกรจำนวนมากว่า ขอให้สัญญาประชาคม ณ ที่นี้จะรับข้อร้องเรียนถึงปัญหาดังกล่าวไปพิจารณา เพราะไม่ใช่ตนเพียงเดียวที่จะใช้อำนาจ ซึ่งจะทำอย่างไรได้บ้างก็ตรวจดูและศึกษา แต่รับรองได้ทุกคนจะได้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม

                  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ก่อนหน้านี้นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ก็ได้ระบุว่า นอกจากการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตในไร่อ้อยของเกษตรกรแล้วสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อก้าวไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยมีเทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ขณะที่ผลผลิตการปลูกอ้อยในช่วงปี 2561-2570 คาดว่าจะมีประมาณ 180 ล้านตัน โดยเป็นอุตสาหกรรมน้ำตาล ประมาณ 120 ล้านตัน และ 60 ล้านตันเป็นอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือ Bio ทั้งนี้ภายหลังจากเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมใหญ่สามัญในเวลา 10.30 น. แล้ว "นายอุตตม" รมว.อุตสาหกรรม ก็จะเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงไร่อ้อย เขตพื้นที่ อ.ตาคลี พร้อมเยี่ยมชมโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย เพื่อรับฟังโครงการ ไบโอคอมเพล็กซ์ Bio complex ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมชีวภาพจากอ้อยด้วย

 

 

                  ซึ่ง "นายอุตตม" ให้สัมภาษณ์ย้ำว่า ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่มีสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 เป็นเจ้าภาพและมีสมาคมอื่นมาร่วมอีกหลายสมาคม ซึ่งได้มีโอกาสพบปะหารือกับส่วนที่เราเรียกว่าเป็นหุ้นส่วนของอุตสาหดรรมอ้อยและน้ำตาล ก็คือ ชาวไร่อ้อยที่ถือเป็นหุ้นส่วนแรกที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ผลิตปลูกอ้อย หุ้นส่วนที่ 2 ที่สำคัญอีกก็คือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำอ้อยไปผลิตเป็นน้ำตาลซึ่งยังมีศักยภาพที่จะทำอย่างอื่นได้อีกมาก และหุ้นส่วนที่ 3 คือภาครัฐ โดยที่ผ่านมารัฐบาล , คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็มาร่วมกันดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

                  ขณะที่โจทย์ใหญ่วันนี้ที่ได้มาหารือ คือ การยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ สินค้าที่สร้างมูลค่าสูงๆ ขณะเดียวกันก็ยกระดับระบบบริหารจัดการให้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยหลักการแรก คือ มีความยั่งยืนเราจะก้าวสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม ไปสู่อุตสาหกรนมชีวภาพ หรือ Bio economy ที่เราจะทำอย่างครบวงจรมองตลาด มองสินค้า และมองกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกลับมาถึงต้นทาง คือ การพัฒนาเรื่องการเกษตร กานปลุูกอ้อย การดูแลพันธุ์อ้อยให้มั่นใจว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนั้นสามารถแบ่งสันจัดกันได้ลงตัวเป็นธรรมกับทุกส่วนทั้งหมด และส่วนของรายได้ ผลประโยชน์ที่จะเพิ่มขึ้นนั้นมีความยั่งยืน ไม่ใช่เกิดแล้วล้นตลาด หายไปไม่เอา ซึ่งวันนี้โครงการ Bio economy ก็เริ้มขึ้นแล้ว โดยที่ก่อนหน้านี้ตนได้นำเสนอสู่ ครม.แล้วว่ามีแผนที่จะดำเนินการเรื่องนี้ และจะไม่จำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น อย้างในพื้นที่ภาคตะวันออกก็มีอยู่แล้วเพราะมีฐานจาก ปตท. แต่มีข้อเสนอของภาคเอกชนร่วมกันว่ายังมีพื้นที่อื่น ระลอกแรกก็คืออีสาน ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครสวรรค์ที่เป็นฐานสำค้ญของการผลิตอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทยซึ่งทางนี้เรียกได้ว่ามีหุ้นส่วนที่เข้มแข็งทั้งภาคโรงงานและชาวไร่อ้อยโดยมีผลผลิตเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย

                    วันนี้จึงหารือกันพร้อมตั้งโจทย์ว่า การเอาเรื่องเข้าสู่ิครม.นั้นเป็นเฟสแรก ส่วนเฟสต่อไปคือจะทำอย่างไรให้ จ.นครสวรรค์และพื้นที่อื่นๆ ในอัวานเข้าสู่เป้าหมายที่เราร่วมกันวางว่าจะเป็น Bio hub  Bio economy ซึ่งคำว่า "hub" เกินจากอุตสาหกรรม  ไม่ใช่ว่าแค่เอาเทคโนโลยีมาผลิต แต่หมายถึงศูนย์กลางของการผลิตอ้อยและน้ำตาล ที่จะก้าวพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ  แต่ยังให้ยึดโยงกับการสร้างฐานความเจริญใหม่ในที่นั้นๆ เช่นเรื่องการพัฒนาชุมชน การพัฒนางานวิจัยและคน ที่จะทำให้การประกอบการรูปแบบใหม่อย่าง start up ได้หลากหลายขึ้น  ซึ่งตนก็ได้ฝากโจทย์นี้ไว้แล้วทั้ง บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS , ปตท.,  สมาคมชางไร่อ้อยฯ ว่าครั้งนี้เป็นโอกาสจริงๆ โดยให้มาร่วมกับภาครัฐสร้างให้เป็นศูนย์กลาง หรือ Center ทาง Bio ในพื้นที่นี้อย่างแท้จริง

                    โดยขณะนี้เราก็พยายามสร้างการลงทุนให้เป็นที่สนใจของต่างประเทศ เมื่อถามย้ำถึงความกังวลของกลุ่มเกษตรกรกับร่าง พ.ร.บ.ที่มีปัญหากรรมการตัวแทนอย่างแท้จริง และทำให้เกษตรก่อนอ่อนแอ "นายอุตตม" รมว.อุตวาหกรรม กล่าวยืนยันว่า ความเป็นไปได้ในการดูแลเกษตรกรนั้นดูแลอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงไม่ต้องพูดถึงความเป็นไปได้ ดูแลทุกนาทีอยู่แล้ว เมื่อถามว่า ร่างกฎหมายจะขับเคลื่อนไปพร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพหรือไม่ และจะให้คำมั่นได้หรือไม่ว่าจะไม่ออกฎหมายที่เอาเปรียบเกษตรกร

                      "รมว.อุตสาหกรรม" ย้ำว่า เรื่องนี้เราดูแลในทิศทางที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งกฤษฎีกา รัฐมนตรี เราดูแลตามระบบเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ แต่จะให้ตอบวันนี้ยังมำไม่ได้เพราะมันมีกระบวนการ เราบอกได้ว่าประเทศเรายึดกระบวนการและจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ตนให้คำมั่นเกษตรกรได้ว่า จะดูแลเต็มที่ ไม่ต้องเป็นห่วง กฎหมายที่ออกมาในทุกเรื่องจะตั้งอยู่บนหลักการว่าเหมาะสม เป็นธรรมกับทุกฝ่าย แบบวิน-วินเพื่อประเทศ ไม่ใช่เพื่อใคร เพราะอุตสาหกรรมนี้ จะส่วนอื่นจะก้าวไปด้วยความร่วมมือ 3 หุ้นส่วนที่เคยกล่าวไว้แล้วทั้งประเทศก็จะไปได้

 

 

                  เมื่อถามว่า จะยับยั้งกรณีที่เกษตรกรบอกว่า วันที่ 15 พ.ย. จะเข้าไปทวงถามคำตอบการแก้ปัญหาที่กระทรวงด้วยหรือไม่ "นายอุตตม" กล่าวว่า เราจะแก้ปัญหาอย่างเต็มที่โดยเราไม่ได้เอาเวลามาเป็นตัวกำหนดเพราะเรา มีความจริงใจที่จะทำ แต่อย่างไรในการแก้ปัญหาต้องใช้เวลาดำเนินการดังนั้นต้องคุยกันก่อน และลึกๆ จากการทำงานกับทุกคนที่ผ่านมา ตนก็เชื่อว่าเดี๋ยวก็มีทางออก เมื่อถามว่า เกษตรกรบอกให้สัญญาใจอยากใก้เป็นรัฐมนตรีอีกสมัยหรือได้มาบริหารอีก "นายอุตตม" กล่าวว่า ไม่เกี่ยวเลย วันนี้ตนมาทำงานในฐานะ รมว.อุตสาหกรรม

                   เมื่อถามว่าในนามของพรรคประชารัฐ ในอนาคตโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาลนั้นจะสานต่อใช่หรือไม่  "นายอุตตม" ย้ำว่าวันนี้มาในฐานะ รมว.อุตสาหกรรมที่ได้รับเชิญ วันนี้ตนขอตอบในฐานะ รมว.อุตสากรรมว่า อย่างไรเรื่องอุตสากรรมเมื่อถามไป หากใครบอกไม่เดินต่อ ก็ไม่ใช่แล้วไม่ว่าจะถามใครก็ตาม ดังนั้นตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประเทศไทย และโอกาสใหญ่ของประเทศที่เราต้องคว้าให้ได้  ในความเห็นตนคิดว่าในรัฐบาลอื่นก็ควรดำเนินการต่อไป

                   ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างเป็นประธานเปิดงานประชุมใหญ่สามัญฯ "นายอุตตม" รมว.อุตสาหกรรมยังเป็นประธานจับสลากรางวัลทองคำหนัก 2 สลึง ซึ่งสมาคมฯ จัดการจับสลากขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้รางวัลกลุ่มสมาชิกที่มาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ