ข่าว

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตรจัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตร   จัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

 

               การจัดระเบียบแหล่งน้ำภาคเหนือตอนล่างกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนเมื่อครั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ที่ จ.นครสวรรค์เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อย่างน้อยการขุดลอกคูคลอง กำจัดผักตบชวาที่เป็นปัญหาการไหลของน้ำให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หรือก่อนถึงช่วงฤดูน้ำหลาก

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตรจัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

 

 

           “หลังจากที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ติดตามฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อบินดูแล้วปรากฏแม่น้ำมีแต่วัชพืชแล้ว บางจุดแทบไม่เหลือร่องรอยความเป็นแม่น้ำอยู่เลย ที่เดินทางมาวันนี้(28 มิ.ย.)เพื่อมาดูว่าจุดไหนบ้างที่มีความต้องการขุดลอกหรือกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นพิเศษ ก็จะต้องรีบทำให้เสร็จภายใน 2-3 เดือนก่อนช่วงฤดูฝนนี้”

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตรจัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

          ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) กล่าวกับ "คม ชัด ลึก" ระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการจัดระเบียบแหล่งน้ำภาคเหนือตอนล่างตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ได้มีการประชุมจัดทำแผนบูรณาการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมโยธาธิการและผังเมือง และองค์การบริหารจังหวัดพิจิตร เพื่อหารือแผนการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรและบึงสีไฟ จ.พิจิตร โดยได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานกลางบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนพัฒนาแม่น้ำพิจิตรเพื่อให้แม่น้ำพิจิตรเป็นแหล่งเก็บกักน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเร็ว 

              โดยเฉพาะแผนงานในระยะสั้นที่ต้องดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมภายใน 2-3 เดือนนี้ ประกอบด้วยการรับน้ำเข้าแม่น้ำพิจิตรให้กรมชลประทานพิจารณาเพิ่มเติมถึงปริมาณน้ำสูงสุดที่จะนำเข้าสู่แม่น้ำพิจิตร รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ของระบบชลประทานพื้นที่สองฝั่งที่ทำการเกษตร ขณะเดียวกันเพื่อให้การฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและรวดเร็วมากขึ้น ได้มอบหมายให้กรมชลประทานสำรวจในเชิงวิศวกรรม เพื่อให้เห็นว่าน้ำจะไหลจากไหนไปไหน และสิ่งกีดขวางทางน้ำโดยเร็ว เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางในการศึกษาพัฒนาระยะต่อไป ส่วนการออกแบบปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ ได้มอบให้กรมทรัพยากรน้ำเร่งปรับแผนงานจุดไหนที่สามารถเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่ระดับน้ำแม่น้ำพิจิตรจะสูงขึ้นได้จะต้องเร่งทำทันที 

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตรจัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

                เลขาธิการสทนช. กล่าวต่อไปว่า สำหรับแผนการดำเนินการขุดลอกที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นได้มอบหมายให้ กอ.รมน.ทำร่วมกับอุทกพัฒน์ รวมถึงการขุดลอกจุดวิกฤติที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนที่กรมทรัพยากรน้ำมีแผนจะดำเนินการด้วยว่าใช้งบประมาณเท่าไหร่ และดินที่ขุดได้จะนำไปไว้ที่ใด ในส่วนของแผนที่และข้อมูลสิ่งก่อสร้างรุกล้ำทางน้ำ การแก้ปัญหาการบุกรุก 2 ฝั่งแม่น้ำ ปัญหาวัชพืช แม่น้ำตื้นเขิน น้ำเน่าเสีย และสิ่งกีดขวางทางน้ำ 83 แห่ง กรมเจ้าท่าจะเป็นผู้ดำเนินการ 

                 ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองจะดำเนินการกำจัดวัชพืช ในแม่น้ำพิจิตร 127 กิโลเมตร และขุดลอกทางน้ำของคลองข้าวตอกที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำพิจิตรกับแม่น้ำน่าน  58 กิโลเมตร รวมระยะทาง 185 กิโลเมตร จากนั้น สทนช.จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และรวบรวมเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน และจัดทำเป็นร่างแผนปฏิบัติการ (Master Plan) ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป 

              “ในส่วนที่มีการรุกล้ำแม่น้ำพิจิตรอยู่บนสองฝั่งของตลิ่ง ซึ่งมีอยู่ 5 หลัง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาของทางกอ.รมน.ว่าจะโยกย้ายหรือออกไปก่อน คาดว่าภายในเร็วๆ นี้ก็จะเรียบร้อย ส่วนทางกั้นที่เป็นจุดที่ขวางทางน้ำซึ่งมีอยู่ 2 จุดใหญ่ เราก็จะมาปรับรูปแบบว่าจะเป็นแบบไหนจะเป็นแบบท่อหรืออะไรที่เหมาะสมกำลังพิจารณากันอยู่” ดร.สมเกียรติ เผยข้อมูลความคืบหน้าล่าสุด 

             สำหรับแม่น้ำพิจิตรเป็นสายเก่าของแม่น้ำน่าน อยู่ระหว่างแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยม มีความยาว 127 กิโลเมตร โดยเริ่มไหลแยกจากแม่น้ำน่านที่บ้านวังกระดี่ทอง อ.เมืองพิจิตร ไหลผ่าน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.ตะพานหิน แล้วบรรจบแม่น้ำยมที่บ้านบางคลาน อ.โพทะเล มีทิศทางการไหลน้ำอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ สภาพลำน้ำคดเคี้ยวบางแห่งตื้นเขิน เนื่องจากมีฝายกั้นน้ำไว้เป็นช่วงๆ เพื่อสูบน้ำมาทำสวนผลไม้และพื้นที่การเกษตร 

 ผู้ว่าฯเผยคืบหน้าขุดลอก“บึงสีไฟ-แม่น้ำพิจิตร” 

 จาก"บึงสีไฟ"สู่แม่น้ำพิจิตรจัดระเบียบแหล่งน้ำ"เหนือตอนล่าง"

             วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวกับ “คม ชัด ลึก” ถึงความคืบหน้าการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ จ.พิจิตร ตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยระบุว่าหลายสิ่งหลายอย่างเริ่มมีความชัดเจนขึ้น หลังมีหน่วยงานกลางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)เข้ามาดูแลทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม

            "ผมว่าหลายสิ่งหลายอย่างเริ่มเห็นชัดเจนหลังท่านเลขาฯ สทนช. ได้กรุณาเป็นเจ้าภาพใหญ่ในการดูแลระบบบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำพิจิตร รวมถึงคลองข้าวตอกและคลองซอยย่อยด้วย เรื่องของงบประมาณเดี่ยวทางเราบริหารจัดการจัดการศึกษารายละเอียดว่าทำตรงไหนทำอย่างไร โดยท่านคอยทำหน้าที่เป็นคนประสานให้ ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมากเพราะว่าตอนนี้เราขาดคนเชื่อมโยง อย่างแม่น้ำพิจิตรหรือคลองข้าวตอกเองจะมีหลายหน่วยงานมากที่ทำงานอยู่ตรงนี้ แต่ขาดคนที่เชื่อมโยงหรือเป็นโค้ชชิ่งตรงนี้ ถามว่าเหนื่อยไหมต้องเหนื่อยแน่นอน พวกเราคนพิจิตรมีความหวังขึ้นเยอะเลยในการที่ท่านเลขาฯ กรุณาจัดการให้

             "ส่วนภายในสองเดือนจะให้เป็นรูปธรรมจะทำอะไรบ้างนั้นก็จะมีการขุดลอก การกำจัดผักตบชวา โดยจะขุดลอกในช่วงที่วิกฤติมากๆ แต่ศึกษาแผนแม่บทแม่น้ำพิจิตรความยาว 127 กิโลเมตรและคลองข้าวตอกอีก 58 กิโลเมตร เบื้องต้นเอาช่วง 25 กิโลเมตรก่อน อะไรที่เป็นจุดวิกฤติปัญหาน้ำเข้ามาไม่สามารถกักเก็บได้ก็ต้องดำเนินการก่อน ส่วนความคืบหน้าพัฒนาบึงสีไฟตอนนี้คืบหน้าประมาณ 30-40% สิ่งที่ต้องแก้เร่งด่วนอาจจะเป็นเรื่องของการทิ้งดิน อยู่ระหว่างดำเนินการ ทางกรมเจ้าท่ายินดีให้ดิน แต่การขนส่งต้องขนเอง คนที่อยากได้ไม่มีค่าขนส่ง ซึ่งจะต้องปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป" 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ