ข่าว

"บ้านเอื้ออาทรบ้านฉาง"ท่ามกลางไออุ่นสุขภาวะกลางดงโรงงาน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บ้านเอื้ออาทรบ้านฉาง"ท่ามกลางไออุ่นสุขภาวะกลางดงโรงงาน 

 

             ชุมชนบ้านเอื้ออาทรบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง จัดสร้างเป็นบ้านเดี่ยวขนาด 21 ตารางวา รวมทั้งโครงการ 665 หน่วย มีคนอาศัยมากกว่า 2,000 คน

             ไม่น่าเชื่อว่า ที่นี่เป็นสวรรค์น้อยๆ แม้อยู่ไม่ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ดารดาษด้วยโรงงาน และใกล้แค่ 1 กิโลเมตร จากแหล่งท่องเที่ยวหาดพลาที่ผู้คนพลุกพล่าน โดยเฉพาะในวันหยุด

            “ไม่มีปัญหา เวลาเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม มีแก๊สหรือสารเคมีรั่วก็ลอยลมมาไม่ถึงที่นี่ซึ่งอยู่ห่างกันราวๆ 10 กิโลเมตร ที่นี่เราอยู่เหนือลม” นายสุวิทย์ ใบทอง ประธานกรรมการชุมชนบ้านเอื้ออาทรบ้านฉางพูดเป็นเสียงเดียวกับ นายภิญโญ ชัยมัง พนักงานจัดการทรัพย์สิน 6 ฝ่ายบริหารงานชุมชน 1 กองพัฒนาชุมชน 1 การเคหะแห่งชาติ

                 ต่างจากความคาดคะเนของคนนอกที่กังวลว่า ใครก็ตามที่อาศัยแถวเมืองอุตสาหกรรมชายฝั่งภาคตะวันออกจะต้องระวังภัยสารพิษจากโรงงาน โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุก๊าซหรือสารเคมีรั่วไหล เพราะโดยหลักๆ ทิศทางลมจะพัดไปที่อื่นที่อยู่ใต้ลม

                นอกจากทำเลอยู่เหนือลมแล้ว บริเวณโครงการยังอยู่ในพื้นที่สีเขียว ไม่มีโรงงานและอยู่ติดกับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และใกล้มอเตอร์เวย์ตัดใหม่ รวมทั้งเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง

                  “น่าอยู่มาก” เป็นคำยืนยันของทั้งสองคน ทั้งที่ถามตอบต่างกรรม ต่างวาระ ไม่ได้เจอร่วมกัน แต่คำตอบเหมือนกันราวนัดหมาย

                    ความน่าอยู่นี้บวกกับทำเลทอง ทำให้ราคาบ้านเดี่ยวเอื้ออาทรที่นี่ขยับราคาจาก 3.9 แสนบาท เมื่อเปิดขายปี 2555 เป็น 7 แสนบาท และหลังริมที่มีการต่อเติมมีราคาถึง 1 ล้านกว่าบาทเลยทีเดียว สอดรับกับราคาบ้านของเอกชนที่ขึ้นโครงการใกล้ๆ กันมีราคามากกว่าหลังละ 2 ล้านบาท

                 ถึงจะทำเลทอง แต่ถ้าไม่ใช่ทำเล “น่าอยู่มาก” ราคาอาจเป็นหนังคนละม้วน

              ความน่าอยู่ของชุมชนบ้านเอื้ออาทรบ้านฉางมาจากหลายปัจจัย อาทิ อาชญากรรมมีน้อยมากจนแทบไม่มี พื้นที่โครงการสะอาดสะอ้าน มีต้นไม้ร่มรื่น มีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมต่างๆ อาทิ ธนาคารขยะ ปลูกผักปลอดสารพิษ กีฬา และตำรวจบ้าน เป็นต้น

            “ทั้งหมดนี้มาจากลูกบ้านที่เป็นจิตอาสา ช่วยกันทำ ช่วยกันดูแล ลำพังคณะกรรมการชุมชนไม่ได้มีงบมากมาย ส่วนใหญ่ได้จากการบริจาค หรือจัดกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ” นายสุวิทย์กล่าว

             มองดู “จิตอาสา” เหมือนเป็นคำตอบสำเร็จรูปครอบจักรวาลที่ง่ายดายมาก แต่เนื้อแท้นายสุวิทย์เล่าว่า แรกมา ต่างคนก็ต่างอยู่ ต้องจัดกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ทำบุญตักบาตรในวาระพิเศษ อาทิ วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันพ่อ วันแม่ หรือจัดกีฬาเชื่อมสามัคคี ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ชักพาให้คนออกมาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และร่วมกันช่วยแก้ปัญหาในชุมชน

             ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ใครมีแรง ลงแรง ถ้าไม่ลงแรงก็ช่วยด้วยข้าวหม้อ แกงหม้อ หรือบริจาค ทำนองนั้น เพราะลำพังกรรมการชุมชนอย่างเดียวก็ไปไม่ได้ ต้องมีสมาชิกสนับสนุน

             “อย่างอาชญากรรมที่นี่มีน้อย เพราะเรามีตำรวจอาสาร่วมกับเทศบาล ตำรวจ ภายในชุมชนเองก็มีตำรวจทหารเข้ามาซื้อบ้านอยู่เช่นกัน กลางคืนก็ตระเวนร่วมกัน คดีจึงแทบไม่มี”

              ชุมชนที่นี่มีวิธีการสื่อสารกับสมาชิกอย่างน่าสนใจ เพราะเลือกใช้หลายสื่อ ตั้งแต่ประกาศเสียงตามสายโดยให้เทศบาลตำบลพลาช่วยประกาศ ติดแผ่นป้ายไวนิล แจกใบปลิว ขี่จักรยานหรือซาเล้งแล้วใช้โทรโข่งประกาศ จนกระทั่งการใช้เครื่องมือสื่อสารทันสมัย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เกิดประโยชน์มาก รับรู้กันรวดเร็ว ทันการณ์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินเคาะประตูบ้าน

              “แม้กระทั่งการระดมทุนช่วยโรงพยาบาลของคุณตูน บอดี้สแลม ที่วิ่งรับบริจาคตั้งแต่ภาคใต้ยันภาคเหนือ เราก็เดินรับบริจาคในโครงการได้เงินกว่า 1 หมื่นบาท นำไปสมทบกับทางอำเภอ อันนี้ก็จะเห็นความเข้มแข็งของชุมชนได้ดีทีเดียว”

             จิตอาสาของคนในชุมชนในทุกกิจกรรม มีจำนวนมากกว่า 100 คนขึ้นไป จากประชากร 2,000 คน หรือราวๆ 5% ถือว่าไม่น้อย และมีพลังขับเคลื่อนชุมชนที่เข้มแข็งมากทีเดียว

             เป็นทุนทรัพยากรที่มีค่ามากที่จะสร้างสรรค์ชุมชนไปสู่ความยั่งยืน ดังที่โครงการแห่งนี้ได้รับการยกระดับเป็นชุมชนพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืนระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) และการเคหะแห่งชาติร่วมกันตั้งเป็นเกณฑ์ยกระดับชุ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ