ข่าว

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

 

           กรมชลประทานให้กลยุทธ์ “พลิกวิกฤตเป็นโอกาสเดินหน้าบูรณาการหนุนนโยบายรัฐบาล ผลักดันโครงการแหล่งผลิตอาหารลุ่มน้ำชี-มูลแก้ปัญหา น้ำท่วมนานอกอ่างหน้าเขื่อนราษีไศล  ปรับเปลี่ยนนาข้าว เป็นเกษตรผสมผสานตาม ศาตร์พระราชาเกษตรทฤษฎีใหม่

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

          ดร.สมเกียรติ  ประจำวงษ์  รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูสภาพปัญหาเขื่อนราษีไศลตามบัญชาพลเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศลและพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินงานโครงการแหล่งผลิตอาหารลุ่มน้ำชี-มูล  ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการทำการเกษตรแปลงใหญ่แบบประชารัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วมนานอกอ่างหน้าเขื่อนราษีไศล ในเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์ จำนวน 14 แห่ง  โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานวางแผนหลักในการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2560 นี้ โดยใช้กลยุทธ “พลิกวิกฤตเป็นโอกาส”  ด้วยการปรับสภาพการใช้ประโยชน์ของประชาชนที่มีที่ดินติดคันพนังของเขื่อนราษีไศลได้รับผลกระทบจากการถูกน้ำท่วมขัง(นานอกอ่าง)  เปลี่ยนจากการทำนาไปเป็นการทำประมงแทน พร้อมทั้งนำการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9  มาใช้เพื่อสร้างเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

        สำหรับเขื่อนราษีไศล ก่อสร้างโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน แล้วเสร็จเมื่อปี 2536  ได้ส่งผลให้เกิดผลกระทบ จากการกักเก็บน้ำในลำน้ำมูลทางด้านหน้าของเขื่อน ที่ระดับเก็บกัก +119.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง(รทก.) ซึ่งมีแนวคันพนังกั้นน้ำ (Dike) ก่อสร้างบนแนวตลิ่งตามลำน้ำทั้ง 2 ฝั่ง จำนวน 8 สาย ระยะทาง 47.343 กม. ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะประสบปัญหาน้ำท่วมขัง   ในพื้นที่ลุ่มต่ำติดคันพนังด้านบนตลิ่งจำนวนประมาณ 15 แห่ง   ในเขตจังหวัดศรีสะเกษและสุรินทร์จนประชาชนที่ทำการเกษตรในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือนร้อนทุกปี ต้องร้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐนำเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ทำการเกษตรมาโดยตลอด

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

        ทั้งนี้โครงการแหล่งผลิตอาหารลุ่มน้ำชี-มูล  เป็นการบูรณาการร่วมกันทำงานตามนโยบายของรัฐบาลและคำสั่งการของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี   เริ่มจาก กรมชลประทาน  กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมปศุสัตว์    โดยมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง  กรมชลประทาน เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนและประสานงาน  ซึ่งในปีนี้ (2560) ถือเป็นปีแรกในการดำเนินโครงการ จะนำร่องเริ่มต้นดำเนินการในพื้นที่ของกลุ่มนายทองดี อาจสาลี  ผู้ใหญ่บ้านดงแดง ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ  และพื้นที่อื่นๆอีกประมาณ 4-5 จุด  หลังจากนั้นจะขยายให้ครบทุกจุดภายในระยะเวลา 3 ปี

        รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่าในการดำเนินโครงการแหล่งผลิตอาหารลุ่มน้ำชี-มูลนั้น  กรมชลประทาน โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง จะเป็นผู้วางแผนและแบบระบบระบายน้ำรวมของพื้นที่โครงการ ตลอดจนเส้นทางลำเลียงผลผลิต   และกรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ  ทำการออกแบบรูปแปลงของเกษตรกรแต่ละราย  ตลอดจนจัดทำผังแปลงภาพรวมของโครงการ   จากนั้นกรมประมงโดยประมงจังหวัดศรีสะเกษ  และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดศรีสะเกษ  กรมปศุสัตว์โดยปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ  กรมส่งเสริมการเกษตร  โดยเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ  และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ จะนำผังแปลงทั้งโครงการและผังแปลงแต่ละราย  เกษตรกรมาวางแผนให้การ สนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชที่เหมาะสมตามรูปแบบของเกษตรผสม ผสานตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ

วางกลยุทธ์พลิกวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาราษีไศล

        ด้านนางหนูจันทร์ ธรรมวัตร เกษตรกรบ้านดงแดน ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ที่นาของครอบครัวประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีภายหลังที่การก่อสร้างเขื่อนราษีไศลแล้วเสร็จ ประมาณปี 2533-2534 จากเดิมที่เคยทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง อุดมสมบูรณ์ กลายเป็นไม่สามารถทำนาได้อีก ปัญหาน้ำท่วมสะสมมานาน จนกระทั่งกรมชลประทานเข้ามาก่อสร้างพนังกั้นน้ำ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ทำให้สามารถทำนาได้บ้าง ที่ผ่านมาชาวบ้านก็ได้รวมตัวกันเพื่อเสนอหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา แรกๆ คิดจะดำเนินการกันเองแต่ติดปัญหาเรื่องเงินทุน พอรู้ข่าวว่ารัฐบาลกำลังจะจัดทำโครงการนี้ขึ้น เป็นโครงการที่ตรงใจมาก ชาวบ้านทุกคนรู้สึกดีใจและตอบรับเข้าร่วมโครงการทันที

        “กรมชลประทานมั่นใจว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ นานอกอ่างเหนือเขื่อนราษีไศลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ริมคันพนังกั้นน้ำ จากการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ที่ปลูกเฉพาะข้าว มาเป็นการเกษตรแบบผสมผสานในโครงการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่  และที่สำคัญเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อน  โดยยึดหลักการตามแนวนโยบายสำคัญของรัฐบาลมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่และเกิดความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ”  ดร.สมเกียรติกล่าวในที่สุด

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ