ข่าว

ตะลุย”เขลางค์นคร” ดูความสำเร็จระบบบัญชีภาคเกษตร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตะลุย”เขลางค์นคร” ดูความสำเร็จระบบบัญชีภาคเกษตร

            แม้จะเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ แต่เกษตรกรไม่ควรมอง เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพการเกษตรอยู่รอดได้ด้วยการทำบัญชีครัวเรือน เพราะจะทำให้ได้รู้รายรับ รายจ่ายที่แท้จริง ขณะที่องค์กรเกษตรกรก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้โปรแกรมระบบทางบัญชีของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพราะจะง่ายในการบริหารจัดการ ทั้งยังสร้างเชื่อมั่นให้กับสมาชิกอีกด้วย 

                “ท่องโลกเกษตร”อาทิตย์นี้พาไปตะลุยเขลางค์นคร จ.ลำปางดูความสำเร็จของภาคการเกษตรที่นำระบบบัญชีมาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ จนประสบความสำเร็จและติดตามผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับคณะผู้บริหารกรมตรวจบัญชีสหกรณ์นำโดยอธิบดี“บริสุทธิ์ เปรมประพันธ์”

                อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์บอกว่าการเดนิทางมาวันนี้เพื่อจะมาดูความสำเร็จในการนำระบบโปรแกรมบัญชีของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาใช้ในภาคการเกษตร 2 แบบก็คือประเภทบุคคล ซึ่งเป็นเกษตรกรและประเภทองค์กรเกษตรกร ได้แก่สหกรณ์ ซึ่งทั้งสองประเภทจะใช้โปรแกรมระบบทางบัญชีที่แตกต่างกัน

              โดยจุดแรกไปเยี่ยมชมการทำเกษตรแบบผสมผสานที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรดีเด่นประจำปี 2560 ของครูบัญชีอาสาตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่“ครูสุพรรณ วงศ์อันนต์”ที่ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ไร่นาสวนผสมและปลูกผักสวนครัวตามแนวพระราชดำริบนเนื้อที่ 15 ไร่เศษ โดยแบ่งออกเป็นนาข้าว 5 ไร่ ไม้ผล 5 ไร่ พืชผักสวนครัว 3 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่และขุดบ่อเลี้ยงปลาอีก 1 ไร่ ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

ตะลุย”เขลางค์นคร” ดูความสำเร็จระบบบัญชีภาคเกษตร

                ครูสุพรรณเล่าว่าเดิมประกอบอาชีพเป็นครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจ.ลำปาง ต่อมาได้ลาออกเพื่อมาดูแลพ่อที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง จึงถือโอกาสทำการเกษตรที่บ้านไปด้วย ประกอบกับเห็นบิดาเจ็บป่วยเนื่องจากเชื่อว่าสาเหตุมาจากสารเคมีในการทำเกษตร จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำเกษตรปลอดสารเคมี จนกระทั่งสามีได้เกษียณจากงานจึงมาช่วยทำการเกษตรอย่างเต็มรูปแบบ

              “เมื่อก่อนใช้สารเคมีหมด ทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช พอมาทำบัญชีครัวเรือนทำให้เห็นเลยว่าปัจจัยพวกนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นเท่าตัว แล้วก็ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพด้วย ก็เลยเลิกหันมาใช้เกษตรอินทรีย์แทน ปลอดภับทั้งตัวเราและผู้บริโภคแล้วยังช่วยลดต้นทุนากรผลิตด้วย”ครูสุพรรณชี้ให้เห็นข้อดีของการทำบัญชีครัวเรือน

                โดยเธอได้เริ่มบันทึกบัญชีต้นทุนจากการประกอบอาชีพในปี 2558 แต่ไม่สามารถนำข้อมูลที่บันทึกมาใช้ประโยชน์อะไรได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ด้านบัญชีและไม่มีใครมาสอยการบันทึกบัญชีและการใช้ประโยชน์ดังกล่าว

                จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกาน 2559 มีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการเป็นครูบัญชีอาสาของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำปางเพื่อไปทำหน้าที่ครูบัญชีอาสาประจำศูนย์เรียนรู้ฯ หลังการอบรมจึงได้นำข้อมูลที่บันทึกไว้ในปี 2558-59 มาสรุปผลกำไร ขาดทุนและเห็นประโยชน์ของการทำบัญชีต้นทุนอาชีพ จากนั้นจึงเริ่มบันทึกบัญชีต้นทุนอาชีพตามแบบที่ได้อบรมมา พร้อมกับได้สอนแนะนำเกษตรกรในกลุ่มที่ปูกข้าวในชุมชนและมีการนำปัญหาในการบันทึกบัญชีมาพูดคุยกันทุกเดือน

ตะลุย”เขลางค์นคร” ดูความสำเร็จระบบบัญชีภาคเกษตร

             ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้ของเธอนอกจากจะใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานการเกษตรตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่แล้วยังใช้เป็นสถานที่อบรมการทำบัญชีครัวเรือนให้กับสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย

               หลังได้เดินสำรวจพื้งที่แปลงเกษตรของครูสุพรรณอยู่พักใหญ่ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ต.สบปราบ อ.สบปราบ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นสหกรณ์ดีเด่นด้านการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจรปี 2560 และเจ้าของรางวัลสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติปี 2558 ประเภทสหกรณ์การเกษตรด้วย

                เป็นสหกรณ์ที่มีการดำเนินธุรกิจครบวงจร ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ธุรกิจประกอบด้วยธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจรวบรวมผลผลิตและธุรกิจแปรรูปผลิตผล มีทุนดำเนินงานทั้งสิ้น( ณ 30 มิ.ย.60) จำนวน 874.34 ล้านบาท มีรายได้รวม 125.80 ล้านบาทและรายจ่ายรวม 107.52 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 18.27 ล้านบาท

               ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่สหกรณ์ได้ใช้ระบบโปรแกรมที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ด้วยโปรแกรมะบบบัญชี FAS ทำให้ง่ายต่อการลงรายการในทุกเมนูสินค้าและการตรวจสอบที่เป็นปัจจุบัน ที่สำคัญสหกรณืสามารถให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีให้กับสหกรณ์ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือจากสมิกและบุคคลภายนอก

             จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังบ้านหมอสม-วังแคว้ง ต.ปงแสนทอง อ.เมือง จ.ลำปางเพื่อไปดูความสำเร็จของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหมอสม วังแคว้ง จำกัดที่มีการบริหารจัดการสหกรณ์ด้วยโปรแกรมระบบบัญชีแยกประเภท(GL) ทำให้สหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและมีธรรมาภิบาลให้บริการกับสมิกได้อย่างรวดเร็วทันใจ ปัจจุบันสหกรณ์แห่งนี้มีลุงประดิษฐ สรรพช่าง เป็นประธานและ สุธีรา สุขสุมิตร ผู้จัดการ

                ก่อนกลับได้แวะดูการให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติทางบัญชีให้กับคณะกรรมการชุมชนในโครงการ9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพิ่การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ในต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งได้รับงบประมาณทั้งหมด 2.05 ล้านบาท จากจำนวนโครงการทั้งสิ้น 7 โครงการ

                ประกอบด้วยโครงการปลูกดอกดาวเรือง โครงการเลี้ยงเป็ดไข่ โครงการเลี้ยงปลาดุก โครงการเลี้ยงปลานิล โครงการโรงสีข้าวขนาดเล็ก โครงการเพาะเห็ดนางฟ้าและโครงการเลี้ยงกบในชัง และยังได้ร่วมพิธีกับชาวบ้านทำการปล่อยปลานิลลงบ่อในโครงการเลี้ยงปลานิลด้วย

            นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการนำโปรแกรมระบบทางบัญชีมาประยุกต์ใช้ในอาชีพการเกษตร ซึง่จะช่วยรู้ที่มาของรายรับ รายจ่าย คำนวณต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้ ส่งผลให้การประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจมีความมั่งนคงและยั่งยืนต่อไป

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ