ข่าว

"งูกินหาง" สู่ "บ่วงนาคบาศ" แค่งูป่วย หรือคนสร้าง หลอกผู้ศรัทธาว่าของขลัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตำนานสุดยอดของขลัง "บ่วงนาคบาศ" มีมาแต่ช้านาน กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป "งูกินหาง" มีจริง หรือเกิดจากมนุษย์ ผู้มีความโลภ หากินกับแรงศรัทธาในของเครื่องราง

เครื่องรางแห่งโชคลาภป้องกันภัย กินเท่าไหร่ก็ไม่หมดไม่สิ้น "บ่วงนาคบาศ" สุดยอดเครื่องรางของขลัง ที่มีความเชื่อกันมาแต่โบราณ พุทธคุณรอบด้าน เมตตามหาเสน่ห์โชคลาภเงินทอง ชนะทุกสิ่งป้องกันเภทภัย เครื่องรางที่ผู้ศรัทธาอยากมีไว้มนครอบครอง จึงนำไปสู่การซื้อขาย "งูกินหาง" ที่กล่าวอ้างว่า คือ "บ่วงนาคบาศ" สุดยอดเครื่องลางในตำนาน

 

"งูกินหาง" สู่ "บ่วงนาคบาศ" แค่งูป่วย หรือคนสร้าง หลอกผู้ศรัทธาว่าของขลัง

 

สำหรับ "งูกินหาง" ทีมข่าว "คมชัดลึกออนไลน์" ได้สอบถามไปที่ นายนิรุทธ์ ชมงาม หรือ Nick Wildlife ประธานกลุ่มอสรพิษวิทยา (นิค อสรพิษวิทยา) เล่าว่า "งูกินหาง" ตัวเอง มีหลายคนสงสัยว่า คือปรากฏการณ์อะไร บ้างก็โยงไปถึงเรื่องราวของ "บ่วงนาคบาศ" เป็นเครื่องรางของขลังที่จะนำโชคลาภ เมตตามหานิยมมาให้
 

 

นาคบาศ จะเป็นเรื่องราวที่กล่าวในวรรณคดี เขาบอกว่า อินทรชิตได้ทำการแผลงศร และพอแผลงศรออกไป ศรนั้นก็ค่อยๆกลายเป็นงูไปรัดศัตรูจนมอดม้วยมรณา และก็มีการกล่าวถึงพรานบุญ พรานบุญก็ใช้นาคบาศเข้าไปจับกินรี ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องราวที่เล่าในวรรณคดี 

 

"งูกินหาง" สู่ "บ่วงนาคบาศ" แค่งูป่วย หรือคนสร้าง หลอกผู้ศรัทธาว่าของขลัง


ส่วนภาวะที่ "งูกินหาง" ตัวเอง ในความเป็นจริงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เกิดจากอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ใด ๆ แต่เกิดจากภาวะความเครียดของงู ซึ่งจะพบมากในงูที่เลี้ยง ซึ่งอาจจะเกิดการเครียดจากสภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู ที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดจากการเจ็บป่วย ที่ส่งผลต่อภาวะทางระบบประสาท ควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็สามารถทำร้ายตัวเองได้ หรืออาจเกิดจากความเข้าใจผิดมีกลิ่นเหยื่ออยู่ที่หางจึงเข้าใจผิด และกินเข้าไปคิดว่าหางเป็นอาหาร และสุดท้ายก็กินเข้าไปเต็มตัว ตรงนี้ก็เป็นปัจจัยที่อาจนำมาสู่ปรากฏการณ์งูกินหางได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก
 

"งูกินหาง" สู่ "บ่วงนาคบาศ" แค่งูป่วย หรือคนสร้าง หลอกผู้ศรัทธาว่าของขลัง

สำหรับที่มาของความเชื่อเรื่อง "บ่วงนาคบาศ" ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับงูกินหาง ไม่แน่ใจว่า เป็นเรื่องราวที่มาจากวรรณคดีหรือไม่ หรือคนในสมัยก่อนเห็นงูในลักษณะดังกล่าวแล้วตีความไปตามความเชื่อว่า เป็น "บ่วงนาคบาศ" เพราะในปัจจุบัน "งูกินหาง" ที่พบเห็นอยู่ทั่วไป ส่วนมากเกิดจากฝีมือของมนุษย์ เพราะในธรรมชาติแล้ว หากงูมีการกินตัวเองเข้าไป เมื่อเริ่มรู้สึกตัว ก็จะค่อย ๆ คลาย หรือสำรอกออก นอกจากกรณีงูที่ป่วย ใกล้ตาย จะมีพฤติกรรมการควบคุมการสั่งการตนเองไม่ได้ อาจจะกินเข้าไปแล้วเสียชีวิต ซึ่งก็สามารถพูดได้ว่า ไม่เคยเห็นในธรรมชาติ อาจจะเพราะว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้น้อย และเกิดขึ้นในธรรมชาติ ในที่ที่ไม่มีคนพบเห็น แต่ในสถานที่ที่มีการเลี้ยงงู อาจมีการพบเห็นบ้างเป็นระยะ

สำหรับ "งูกินหาง" ที่มีการวางจำหน่ายอยู่นั้น ก็ต้องยอมรับว่า เป็นการสร้างขึ้นของมนุษย์ ที่ทำมาเพื่อการค้า ซึ่งก็เข้าข่ายการหลอกลวงได้ แต่ต้องยอมรับว่า ในบางคนรู้ว่าเป็นการสร้างขึ้นของมนุษย์ แต่อยากมีไว้ครอบครองตามความเชื่อความศรัทธา 


ด้าน นายศรานนท์ เจริญสุข Chief of Serpentarium Operations Siam Serpentarium กล่าวว่า "งูกินหาง" เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ ความเข้าใจผิดของงู ว่าเป็นเหยื่อ หรืออาหาร และความเครียดของงูที่ป่วย ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า งูอาจจะเข้าใจผิดว่า หางเป็นงูอีกตัว ซึ่งเป็นเหยื่อ หรือเป็นอาหาร ทำให้กินเข้าไป แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วรู้สึกตัวก็จะคายออกมา ส่วนอีกกรณีคือ ในกรณีที่งูป่วยใกล้ตาย มีอาการกระตุกเกร็ง หรือควบคุมไม่ได้ กัดมั่ว อาจจะกัดตัวเองสุดท้ายก็ตาย ซึ่งอาจทำให้คนเห็นภาพว่า งูกินหางตัวเองแล้วตาย นี่คือ ความเป็นไปได้ ในส่วนของเรื่องชีววิทยา

 

"งูกินหาง" สู่ "บ่วงนาคบาศ" แค่งูป่วย หรือคนสร้าง หลอกผู้ศรัทธาว่าของขลัง
 

ส่วนในอีกกรณี เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ที่ทำการเอาหางงูยัดเข้าไปในปาก จัดท่าทาง ให้เป็นไปในแบบที่ต้องการ ซึ่งก็เป็นเพียงหลักสันนิษฐาน ว่าเป็นการกระทำตามความเชื่อ ในเรื่องของ "บ่วงนาคบาศ"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ