ข่าว

"พรรคพลัง"ชี้ ความเหลื่อมล้ำทุกด้าน เศรษฐกิจพังพินาศ ประเทศไทยล้าหลัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วิสิทธิ์ ใสกระจ่าง" รองโฆษกพรรคพลัง ชี้ ความเหลื่อมล้ำทุกด้าน เศรษฐกิจพังพินาศ ประเทศไทยล้าหลัง

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564 เวลา 13.09 น. นายวิสิทธิ์ ใสกระจ่าง รองโฆษกพรรคพลัง กล่าวว่า พรรคพลัง มองเห็นว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นต้นเหตุของการไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเฉพาะในยามวิกฤติ ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นในทุกอณูของการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทางการเมือง ประเทศไทยแบ่งโครงสร้างการเมืองการปกครอง แบ่งแยก 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ต่างมีอิสระ ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน อำนาจบริหาร นำโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (รัฐบาล) ในรัฐบาลปัจจุบันนี้ ในฐานะประชาชนคนฐานรากได้มองเห็นตลอดเวลาว่าการบริหารเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำเพราะเป็นรัฐบาลแบบผสมหลายพรรค มีการต่อรองผลประโยชน์มากมาย นโยบายสาธารณะ ของบางพรรคไม่ได้หยิบนำขึ้นปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม อย่าว่าแต่นโยบายของพรรคเล็กพรรคน้อยแม้แต่นโยบายของพรรคใหญ่ที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลยังไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเลย เช่น การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะราคาข้าว เป็นต้น ยังทำไม่ได้เข้าข่ายหลอกลวงโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเลือกพรรคตัวเอง โทษถึงขั้นยุบพรรค ตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหาร นักร้องทั้งหลายเงียบสนิท เพราะต้องการเอาตัวรอดจากคดีความและผลประโยชน์ใส่ตัว นี่คือตัวอย่างพื้นฐานของความเหลื่อมล้ำไม่นับรวมการบริหารที่ล้มเหลวจากการกระจายอำนาจแบบจอมปลอมภายในรัฐบาลแบบผสม ส่วนอำนาจนิติบัญญัติ ในรัฐบาลชุดนี้ถือว่าไร้ซึ่งประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถทำการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลเลยเรียกว่า “ง่อยทางนิติบัญญัติ” กลับมาเล่นปาหี่หลอกตาประชาชน เพื่อต่อรองผลประโยชน์เข้าพรรคที่ตัวเองสังกัดและตัวเองในรูปของการเรียกคะแนนเสียงจากประชาชน (หาเสียงในสภา) สุดท้ายการลงคะแนนก็ลอยตามรัฐบาล ไม่มีการถ่วงดุลที่แท้จริง สำหรับอำนาจตุลาการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญถูกกำหนดตัวบุคคลโดยฝ่ายบริหารการใดที่ฝ่ายบริหารเสียหายหรือเสียประโยชน์ย่อมไม่สามารถจะทัดทานได้หรือหากฝ่ายค้านยื่นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในข้อกฎหมายย่อมไม่เป็นผล นี่คือที่มาของคำว่า “สองหรือหลายหรือไร้ซึ่งมาตรฐาน” สาเหตุก็มาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำเช่นเดียวกัน จนมีคนกล่าวเปรียบเปรยว่า ประเทศไทยอาจต้องมีอำนาจที่ 4 หรือที่ 5 เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบเหมือนในบางประเทศเพราะบริบทระบบ 3 อำนาจในประเทศไทยอาจไม่ตอบโจทย์เพราะลอกโครงสร้างแบบตะวันตกมาและมีกฏหมายบางส่วนที่ยังไม่ตรงกับบริบทของประเทศไทยไม่เข้มงวดและล้าหลังยกตัวอย่างเช่น ไต้หวัน เขาเพิ่มอำนาจขึ้นมาอีก 2 อำนาจ คือ สภาตรวจสอบและสภาคัดเลือก ( The Examination Yuan) มีหน้าที่ในการคัดคนที่มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานโดยปราศจากอิทธิพลของพรรคพวกเดียวกันทำให้ได้คนดีปกครองคนไม่ดีอย่างแท้จริงสามารถตัดปัญหาการฉัอราษฎ์บังหลวง (Corruption)ได้ด้วย และ สภาควบคุม (The control Yuan) เป็นฝ่ายตรวจสอบในโครงสร้างอื่นๆที่มีอำนาจเต็ม โดยปราศจากการแทรกแซงและแต่งตั้งโดยกลุ่มอำนาจอื่นที่ไม่ใช่ผู้นำรัฐบาล ตรงนี้สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำภายในประเทศของเขาได้ ส่วน 3 อำนาจหลักของประเทศไทยยังมีช่องให้มีการล้มล้างด้วยวิธีการพิเศษคือรัฐประหารได้รวมถึงการเชื่อมโยงกันโดยกลุ่มทุนและระบบอุปถัมภ์ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยจะเห็นได้เสมอว่าเมื่อใดที่รัฐบาลจะออกกฎหมายที่เสี่ยงต่อความไม่เห็นด้วยจากประชาชนแล้วจะมีการเล่นบทพระบู๊และพระบุ๋นตลอดเวลา ตัวอย่างมีให้เห็นอย่างชัดเจน เช่นการที่นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.ได้นัดกลุ่มผู้ต้องหาคดีที่คนสนใจเข้าพบเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นการลงมติพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เป็นต้น

 

\"พรรคพลัง\"ชี้ ความเหลื่อมล้ำทุกด้าน เศรษฐกิจพังพินาศ ประเทศไทยล้าหลัง

 

นายวิสิทธิ์ ใสกระจ่าง กล่าวว่า ในระบบเศรษฐกิจ ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้เศรษฐกิจเป็นง่อยซึมลึกแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ช่องว่างระหว่างคนจนคนฐานรากกับคนร่ำรวยห่างออกไปทุกทีสาเหตุมาจากการบริหารงานของรัฐบาลแบบ”แก้ผ้าเอาหน้ารอด”ในยามปกติรายได้มวลรวมในประเทศก็แย่อยู่แล้วเพราะต่างประเทศไม่มีความเชื่อมั่นรัฐบาลไทยตั้งแต่แรกจึงไม่มาลงทุนในประเทศไทยแถมมีการปิดโรงงานเพื่อย้ายฐานการผลิตไปอยู่ประเทศอื่นทำให้คนฐานรากตกงานไม่เว้นแต่ละวัน การส่งออกติดลบมาตลอด เกิดการช่อราษฎร์บังหลวงมากมาย ประชาชนรู้แต่รัฐบาลไม่ทราบ การจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรยิ่งต่ำลงๆด้วยปัญหานโยบายที่ไม่แน่นอนกอรปกับต่างประเทศยังมองว่ารัฐบาลไทยเอาการเลือกตั้งมาฟอกตัวเองให้หลุดพ้นจากคำว่ามาจาก “รัฐประหาร”แต่ภาพโดยรวมยังบริหารแบบรัฐประหารอยู่ เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติเกิดโรคระบาดขึ้นยิ่งทอดยาวมากเท่าใดความยากจนก็จะยิ่งขยายวงกว้างออกไปแบบไม่มีขีดจำกัด รัฐบาลนี้มีทางเดียวคือออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อเอามาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่คำนึงถึงรายได้จะมาจากเงินกู้แบบไหนอย่างไร ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “กู้มาแจก”หากเงินที่รัฐบาลกู้มาไม่ก่อให้เกิดรายได้แล้วเมื่อถึงคราววงเงินกู้เกินเพดานให้กู้คือ ร้อยละ 60 ของจีดีพี หรือมวลรวมในประเทศแล้วจะทำอย่างไร? ต่อไปก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อีกปีละไม่น้อย นี่คือหนี้ครัวเรือนของคนไทยทั้งประเทศ ปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ไม่ต้องหาข้อมูลอื่นไกลแค่รออ่านข่าวที่ ปปช.เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐบาลปัจจุบันรวมถึง ส.ว.แต่ละคนไม่ต่ำกว่าคนละ 100 ล้านบาทขึ้นไปบางคนรับราชการมาตลอดชีวิตโดยไม่มีกิจการงานอย่างอื่นด้วยแต่ประชาชนคนฐานรากร้อยละ 70-80 ต้องแบมือขอทานเพื่อสนองตัณหาบ้าอำนาจ เป็นเครื่องมือในการซื้อเสียงล่วงหน้าของคนบางกลุ่มโดยเงินของประชาชนเอง แม้แต่การบริหารจัดการป้องกันเชื้อร้ายระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นยังไม่เหมือนกัน พรรคพลังเคยเสนอแนะให้มีการปิดกรุงเทพ ในช่วงเวลาสั้นๆเพื่อกำจัดและป้องกันเชื้อร้ายแต่รัฐบาลเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปัญหาก็เลยไม่ได้ถูกแก้ไขโดยสมบูรณ์ ทันที ทำให้เกิดมีคลัสเตอร์ตามจุดต่างๆขึ้นมากมายจนยากแก่การรับมือทำให้เศรษฐกิจซบเซาแบบซึมลึกเรื่อยมา ต่างจากท้องถิ่นบางพื้นที่เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ (อบต.ดวนใหญ่) อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ มีตลาดนัดอยู่แห่งเดียวเปิดเฉพาะเย็นวันพฤหัสบดีและเช้าวันอาทิตย์แถมไม่เคยมีคนติดเชื้อโควิด 19 เข้าใช้บริการแม้แต่คนเดียว กลับปิดแบบไม่มีกำหนด ส่อให้เห็นถึงความล้มเหลวในการสั่งการไม่สนใจว่าประชาชนจะเดือดร้อนอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกันทั้งสองสถานที่แล้วจะเห็นว่าเกิดความเหลื่อมล้ำในทางความคิดไร้ซึ่งเป้าหมายทั้งสองแบบทำให้เศรษฐกิจคนฐานรากซบเซาโดยไม่จำเป็น นี่คือตัวอย่างเล็กๆในบางตำบลที่มุ่งเน้นแต่ป้องกันไม่สนใจเศรษฐกิจโดยรวม เป็นต้น

 

\"พรรคพลัง\"ชี้ ความเหลื่อมล้ำทุกด้าน เศรษฐกิจพังพินาศ ประเทศไทยล้าหลัง

นายวิสิทธิ์ ใสกระจ่าง รองโฆษกพรรคพลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า  ทางด้านสังคม ความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นรากฐานของการละเมิดสิทธิมนุษยชนส่งผลไปถึงปัจจัยการค้ามนุษย์ จากการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือทิป รีพอร์ต (Trafficking in Persons Report:TIP Report) ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่เทียร์ 2 มา 3 ปีโดยไม่มีทิศทางหรือช่องทางที่จะขึ้นเทียร์ 1 ได้เลย ปัจจัยพื้นฐานมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั่นเอง นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วการว่างงานของคนในชาติเพิ่มขึ้นทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการมีบุตรก่อนวัยอันควร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดกับคนในชั้นฐานรากที่ไม่มีโอกาสได้ต่อสู้อย่างเท่าเทียมนั่นเอง พรรคพลังเห็นว่าความเหลื่อมล้ำทั้ง 3 ส่วนนี้ส่งผลเสียต่อคนในชาติอย่างมหาศาลทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการจัดการไม่น้อยในแต่ละปี ส่อให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานของรัฐบาลแบบอ่อนด๋อย ล้มเหลวในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าในยามปกติหรือยามวิกฤติก็ตาม เงินที่กู้ยืมมาก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหมือนแจกเพื่อซื้อเสียงล่วงหน้ามากกว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหา ทำให้หนี้ครัวเรือนของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน หากปล่อยทิ้งไว้โอกาสจะเกิดปรากฎการณ์ “ต้มยำกุ้ง”หม้อใหญ่กว่า 24 ปีที่แล้วมีอย่างแน่นอน เพราะฐานรากล้มจะทำให้บนยอดดอยล้มลงตามซึ่งไม่เหมือนกับต้มยำกุ้งคราวก่อนที่ฐานรากแข็งแรงมีพลังอุ้มยอดดอยให้คงอยู่ได้ ทางเดียวคือ รัฐบาลต้องให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายแก้ไขรัฐธรรมนูญ สร้างกติกาให้เป็นธรรม บนพื้นฐานแห่งหลักนิติรัฐ คืนอำนาจให้กับประชาชนให้ประชาชนที่มีความสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ