ข่าว

คุก 20 ปี จำเลยคดี "เมจิกสกิน" หลอกลวงผู้บริโภค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี จำเลย 5 คนในคดีผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง "เมจิกสกิน"หลอกลวงผู้บริโภค ที่เคยเป็นข่าวดังครึกโครม แต่พวกจำเลยสำนึกผิดและพยายามชดใช้ให้ผู้เสียหาย โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 24 มี.ค. ห้องพิจารณาคดี 704 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อ.42/2562 ที่พนักงานอัยการคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท เมจิกสกิน จำกัด โดยนายกร พวงสน  กรรมการผู้มีอำนาจ, นายกร พวงสน  ฐานะส่วนตัว, นางวรรณภา พวงสน ภรรยาของจำเลยที่ 2,นายพีร์นิธิ ติรณวัตถุภรณ์ ,นายกสิทธิ์ วรชิงตัน และ นายไมยสิทธิ์ สว่างธรรมรัตน์ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 ตามลำดับ ฐานกระทำผิด พ.ร.บ เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ

กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 5 ส.ค.2560 -15 ก.พ.2561 ต่อเนื่องกันบริษัท เมจิกสกินฯ นายกร และนางวรรณา ได้บังอาจร่วมกันผลิดเครื่องสำอางและสบู่ยี่ห้อ Mezzo โดยจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ว่า บริษัทเมจิกสกินฯ ตั้งอยู่เลขที่ 522/46 ถ.สืบศิริ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นผู้ผลิต  แต่ความจริงแล้วจำเลยทั้งสามเป็นผู้ว่าจ้าง บริษัท พีโอเอส.คิสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้เป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าว ต่อมามีผู้เสียหายหลายรายหลงเชื่อการโฆษณาหลอกลวงของจำเลยซื้อเครื่องสำอาง และมอบเงินให้พวกจำเลยเป็นของตนเองโดยทุจริต 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เมจิกสกินผลิตภัณฑ์นรกขั้นเทพ-เมื่อคนดัง"หิวเงิน"ไม่แคร์สังคม

ในวันนี้จำเลยที่ 1-6 มาศาล พร้อมทนายความเพื่อฟังคำพิพากษา

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว พิพากษาว่า จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก , พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ,พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 41,71และจำเลยที่ 1-3 มีความผิดตามมาตรา 6(10), 25(2), 53,59 และพ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558  การกระทำของจำเลยทั้งหมดเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน,ฐานร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จฯ และฐานร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จฯ และฐานร่วมกันโฆษณาคุณประโยชน์ สรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุด มีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90  ให้จำคุกจำเลยที่ 2-6 กระทงละ 2 ปี รวม 59 กระทง และปรับ 5,000 บาท รวม 59 กระทง และความผิดข้อหาอื่นฯ

จำเลยทั้งหมดให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน คงจำคุกจำเลยที่ 2-6 กระทงละ 1 ปี  ปรับจำเลยทั้งหก กระทงละ 2,500 บาท รวม 59 กระทง ฐานร่วมกันผลิตเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ควบคุมฉลากโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง และร่วมกันผลิตอาหารปลอม คงปรับจำเลยที่ 1-3 คนละ 5,000 บาท ฐานร่วมกันจำหน่ายอาหารปลอมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ควบคุมฉลากโดยแสดงฉลากไม่ถูกต้อง คงจำคุกจำเลยที่ 2 และ 3 คนละ 3 เดือน และปรับจำเลยที่ 1-3 คนละ 3,000 บาท ฐานร่วมกันผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางโดยจัดให้มีฉลากและแสดงฉลากไม่ถูกต้อง คงจำคุกจำเลยที่ 2 และ3 คนละ 1 เดือน และปรับจำเลยที่ 1-3 คนละ 5,000 บาท ฐานร่วมกันผลิตเครื่องสำอางไม่ตรงตามที่จดแจ้ง คงปรับจำเลยที่ 1-3 คนละ 5,000 บาท ฐานร่วมกันขายเครื่องสำอางปลอมที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง คงจำคุก จำเลยที่ 2-3 คนละ 1 เดือน และปรับจำเลยที่ 1-3 คนละ 5,000 บาท รวมจำคุกจำเลยที่ 2 และ3 คนละ 59 ปี  5 เดือนและปรับคนละ 170,500 บาท, จำคุกจำเลยที่ 4 -6 คนละ 59 ปี  และปรับคนละ147,500 บาท สำหรับความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนให้จำคุกจำเลยที่ 2 -6 คนละ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2)

ทั้งนี้เมื่อรวมโทษทั้งหมดแล้ว คงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 175,000 บาท  จำเลยที่ 2 และ 3 จำคุกคนละ 20 ปี 5 เดือน และปรับ 170,500 บาท จำเลยที่ 4 -6 จำคุกคนละ 20 ปี และปรับ 147,500 บาท

พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่ 2 -6 แล้ว เห็นว่าสภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอางที่เป็นความผิดไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยอย่างร้ายแรงแก่ประชาชนแต่ประการใดจนถึงขนาดที่ไม่อาจให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2-6 กลับตัวเป็นพลเมืองดีในสังคม อีกทั้งจำเลยที่ 2-6 ต่างก็สำนึกผิดโดยพยายามบรรเทาผลร้ายประกอบอาชีพสุจริตหารายได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายทุกราย ซึ่งเป็นเพียงผู้ซื้อสินค้าไปจำหน่าย โดยผู้เสียหายส่วนใหญ่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา คงมีผู้เสียหายส่วนน้อยที่ยังไม่ได้รับค่าเสียหาย ซึ่งการให้โอกาสจำเลยได้ไปประกอบอาชีพเพื่อนำรายได้มาชดใช้ค่าเสียหายน่าจะเป็นประโยชน์กว่า นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2-6 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี  ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันคืนเงิน หรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งหมดนั้น เห็นว่าจำเลยทั้งหกได้ชำระเงินและวางเงินต่อศาลครบถ้วนจนเป็นที่พอใจและทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จนผู้เสียหายที่ 1 -5,7,9-12,14-16,19-25,27-57 และ 59 ไม่ติดใจดำเนินคดีอีกต่อไป จึงไม่อาจมีคำสั่งให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันคืนเงินหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายดังกล่าวอีก และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระแก่ผู้เสียหายที่ 6 จำนวน 1.3 ล้านบาท ผู้เสียหายที่ 8 จำนวน 4.1 ล้านบาท ผู้เสียหายที่ 13 จำนวน 428,930 บาท ผู้เสียหายที่ 17 จำนวน 37,100 บาท ผู้เสียหายที่ 18 จำนวน 71,615 บาท ผู้เสียหายที่ 26 จำนวน 142,957 บาท และผู้เสียหายที่ 58 จำนวน 132,957 บาท ริบของกลางให้ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควร 

วันเดียวกันศาลอาญายังได้อ่านคำพิพากษาคดีเมจิกสกินอีกสำนวน  คือ คดีหมายเลขดำ อ.43/2562 ที่พนักงานอัยการคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ฟ้องบริษัท เมจิกสกิน จำกัด โดยนายกร พวงสน  กรรมการผู้มีอำนาจ, นายกร พวงสน ฐานะส่วนตัว, นางวรรณภา พวงสน สามีภรรยา ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับฐานกระทำผิด พ.ร.บ เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
       
กรณีเมื่อระหว่างเดือนก.พ.2560-เดือน เม.ย.2561 ต่อเนื่องกันพวกจำเลยร่วมกับน.ส.ตรีชฎา ใจสบาย, บริษัท ฮานิว โคเรีย และน.ส.ปาจรีย์ วงศ์สมบูรณ์ จำเลยคดีอาญาหมายเลขแดง อ.3781/2561กระทำผิดหลายกรรมต่างกันโดยบังอาจร่วมกันผลิตเพื่อจำหน่ายเครื่องสำอางปลอมโดยจำเลยทั้งสามร่วมกับ น.ส.ตรีชฎา บริษัท ฮานิส และน.ส.ปาจรีย์  ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำโดยร่วมกันรับจ้างผลิตเครื่องสำอางยี่ห้อ ตรีชฎา แล้วจดแจ้งการผลิตเพื่อจำหน่ายต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)โดยนางวรรณา จำเลยที่ 3 โดยสถานที่ผลิตเลจที่ 58 ม.7 ต.ดอนหวาย อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา  ทั้งที่จำเลยทั้สามได้ว่าจ้างให้ บริษัทฮานิวฯ และน.ส.ปาจรีย์ ผลิต โดยที่จำเลยทั้งสามมิได้เป็นผู้ผลิตแล้วนำมาจำหน่ายเครื่องสำอางปลอมให้แก่ผู้เสียหายจำนวนมากที่หลงเชื่อ มูลค่าความเสียหาย 55,711,529 บาท
ในวันนี้จำเลยที่ 1-3มาศาล พร้อมทนายความเพื่อฟังคำพิพากษา 

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 - 3 มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ2550 ความผิดตามพระราชบัญญัติ การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานฉ้อโกงประชาชน การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป 
 
 โดยจำคุกจำเลยที่ 2- 4 กระทงละ 2 ปีและปรับจำเลยทั้ง 4 กระทงละ 5,000 บาทรวมจำคุกจำเลยที่ 2 ถึง 4 คนละ 290 ปีและปรับคนละ 735,000 บาทฐานร่วมกันขายเครื่องสำอางปลอม จำคุกจำเลยที่ 2 ถึง 4 คนละ 2 เดือนและปรับจำเลยทั้ง 4 คนละ 10,000 บาทและจำเลยที่ 1-3 ยังมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเพื่อขายรับจ้างผลิตเครื่องสำอางปลอมจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 1 ปีและปรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คนละ 20,000 บาทจำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ดังนั้นฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนคงจำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 145 ปี และปรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 คนละ 362,500 บาท ฐานร่วมกันผลิตเพื่อขาย รับจ้างผลิตเครื่องสำอางปลอม จำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 3 เดือน และปรับจำเลยที่ 1 - 3 คนละ 10,000 บาท รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละ 145 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยที่ 1 - 3 คนละ 377,500 บาท จำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนดโทษ 145 ปี 1 เดือน และปรับจำเลยที่ 4 จำนวน 367,500 บาท แต่ความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี จึงให้จำคุกจำเลยที่ 2 - 4 คนละ 20 คงจำคุกจำเลยที่ 2 -3 คนละ 20 ปี 4 เดือนและปรับ 377,500 บาท จำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 20 ปี 1 เดือนและปรับ  367,500 บาท บ

พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้ง 4 แล้วเห็นว่าพฤติกรรมในการกระทำผิดของจำเลยทั้ง 4 ในคดีนี้เป็นเรื่องการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องสำอางจึงมีสินค้าอยู่จริง และได้จำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งรวมทั้งผู้เสียหายในคดีนี้ โดยวิธีการทำโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ สภาพผลิตภัณฑ์ที่เป็นความผิดมีผลกระทบต่อผู้เสียหาย ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายด้วยกัน ไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและไม่ได้เป็นภัยอันตรายแก่ประชาชนถึงขนาดที่ไม่อาจให้โอกาสจำเลย กลับตัวเป็นพลเมืองดีในสังคม จำเลยทั้งหมดต่างก็สำนึกผิดโดยพยายามประกอบอาชีพสุจริตและได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายทุกรายโดยผู้เสียหายส่วนใหญ่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลยคงมีผู้เสียหายส่วนน้อยที่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายครบถ้วน ซึ่งการให้โอกาสจำเลยได้ไปประกอบอาชีพเพื่อนำรายได้มาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่เหลือน่าจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยและผู้เสียหายรวมถึงประชาชนมากกว่า ให้จำเลยต้องโทษจำคุก อีกทั้งโทษปรับที่จำเลยทั้งหมดได้รับก็นับว่าเป็นโทษหนักและทำให้เข็ดหลาบแล้ว หลังเกิดเหตุแม้มูลค่าความเสียหายในคดีนี้จะมีเป็นจำนวนมากแต่จำเลยทั้ง 4 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายโดยได้มีการชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายในคดีนี้โดยชดใช้เงินจนเป็นที่พอใจให้กับผู้เสียหายจำนวน 91 ราย คิดเป็นเงิน 1.6 ล้านบาท มีการผ่อนชำระจำนวน 25 ราย และผู้เสียหายบางส่วนจำเลยก็ได้วางเงินต่อศาลเพื่อชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวน คงมีผู้เสียหายส่วนน้อยที่ตกลงค่าเสียหายไม่ได้จำนวน 25 ราย แต่จำเลยก็ได้วางเงินบางส่วนต่อศาลเพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายแล้ว อันแสดงถึงความรับผิดชอบ ในการกระทำผิดของจำเลยทั้ง 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลย ที่ 2-4 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษมีกำหนด 3 ปี หากจำเลยทั้ง 4 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29,30

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ