ไลฟ์สไตล์

คาเฟ่ที่ต่อท้ายว่า “Specialty Coffee” ต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร

คาเฟ่ที่ต่อท้ายว่า “Specialty Coffee” ต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร

11 ต.ค. 2564

“Specialty Coffee” ที่ติดอยู่ท้ายชื่อร้านกาแฟแต่ละร้านจะไม่ได้บอกความ Special หรือความ พิเศษ ของกาแฟเสมอไป งั้นเรามาดูกันว่า “Specialty Coffee" คืออะไรและความพิเศษของกาแฟนี้คืออะไรกันแน่

SPECIALTY COFFEE คือ กาแฟพิเศษ?

Specialty Coffee หากแปลอย่างตรงตัวจะแปลได้ว่า กาแฟชนิดพิเศษ แต่ไม่ใช่ว่ากาแฟนำเข้าราคาแพงอยู่ๆ จะได้ชื่อว่าเป็น Specialty Coffee เพราะมันไม่ใช่ยศที่กาแฟจะได้มาง่ายๆ แต่ต้องผ่านการให้คะแนนและแต่งตั้งจากนักชิมกาแฟที่เรียกว่า Cupper หรือ Q-Grader ก่อนเท่านั้น

นอกจากการแต่งตั้งมอบยศกันแล้ว อีกหน่วยวัดที่สำคัญคือเจ้าของร้านหรือบาริสต้าสามารถเล่าเรื่องราวของที่มาที่ไปของกาแฟที่ร้านกาแฟนั้นๆ ได้คัดสรรค์มาให้กับลูกค้าได้เข้าใจในกระบวนวิธีตั้งแต่การปลูกต้นกาแฟจนถึงการเลือกแก้วที่นำมาใช้ในการเสิร์ฟให้ลูกค้า หรือพูดอีกอย่างก็คือการที่เจ้าบ้านมอบประสบการณ์การท่องโลกกาแฟให้กับแขกผู้มาเยือนได้รู้จัก 

พูดง่ายๆ คือ กาแฟที่ถูกคัดสรรค์มาด้วยกระบวนการอันสุดพิเศษเพื่อให้ได้ผลลัพท์เป็นกาแฟแก้วอันล้ำค่าที่สุด

 

การให้คะแนน SPECIALTY COFFEE

การลงคะแนนจะประกอบไปด้วยหน่วยวัด 10 ข้อนี้ รวมกันแล้ว 100 คะแนนและต้องได้ 80 คะแนนขึ้นไปจึงจะได้ประทานยศว่าเป็น Specialty Coffee ส่วนกาแฟที่ได้คะแนนต่ำลงมาจะเป็นขายกันตามร้านทั่วไปซึ่งจะเรียกว่า Commercial Grade Coffee ที่แปลว่ากาแฟทั่วไป นอกจากนี้การจะเป็น Specialty Coffee ได้จะต้องสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ตรวจตั้งแต่แหล่งเพาะปลูก ตรวจการขนส่ง ตรวจการคั่วบด ฯลฯ จึงเห็นได้ว่ากว่าจะได้กาแฟแก้วพิเศษนี้ต้องผ่านกระบวนการคัดสรรค์ที่พิเศษจริงๆ 

หน่วยวัด 10 ข้อ

1.กลิ่นอันเป็นเอกลัษณ์
2. รสชาติ
3. อาฟเตอร์เทสท์ (aftertaste)
4. ความเปรี้ยว/ความเป็นกรด
5. บอดี้ (ความเข้ม)
6. ความพอดี (บาลานซ์)
7.ความกลมกล่อม
8. ความสะอาดของถ้วย/แก้ว
9. ความหวาน
10. ภาพรวม
                                คาเฟ่ที่ต่อท้ายว่า “Specialty Coffee” ต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร

                                คาเฟ่ที่ต่อท้ายว่า “Specialty Coffee” ต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร

อย่างไรก็ตามร้านกาแฟ Specialty Coffee บางร้านอาจไม่ได้ใช้หน่วยวัดที่วัดโดย Cupper หรือ Q-Grader แต่เป็นการใส่ใจลงไปในรายละเอียดขั้นตอนกระบวนการผลิตกาแฟ ซึ่งกระบวนการ (โดยคร่าว) ที่ต้องใส่ใจประกอบด้วย

 

1. การปลูก

  • กาแฟคุณภาพดีย่อมได้มาจากต้นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นความสูงจากระดับน้ำทะเล ลักษณะดิน ภูมิอากาศ ฯลฯ และมีการดูแลอย่างเหมาะสม 

2. การเก็บเมล็ด

  • เนื่องจากผลกาแฟในต้นเดียวกันจะสุกไม่พร้อมกัน เพื่อให้ได้กาแฟที่คุณภาพดี เกษตรกรจะต้องเลือกเก็บเฉพาะผลกาแฟที่สุกเต็มที่เท่านั้น

3. การคั่ว

  • เมื่อสารกาแฟมาถึงมือคนคั่ว (ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของกาแฟไม่น้อยกว่าเกษตรกร) 
  • คนคั่วกาแฟจะต้องรู้จักลักษณะ (กลิ่นและรส) ที่ดีเฉพาะตัวของกาแฟนั้นๆ แล้วเลือกระดับการคั่วให้ได้ลักษณะที่ดีที่สุดออกมาแล้วบรรจุในแพ็กเกจที่มีคุณภาพที่จะรักษากลิ่นและรสของกาแฟนั้นๆไว้ให้มากที่สุด

 

4. การบด

  • ก่อนการเลือกบดกาแฟจะต้องแน่ใจก่อนว่าเมล็ดนั้นจะเป็นเมล็ดที่ใหม่ ถึงแม้ว่ากาแฟจะสามารถเก็บไว้ได้เป็นปีๆ โดยไม่บูดไม่เสีย แต่กลิ่นและรสของกาแฟก็จะค่อยๆจางหายไปเรื่อยๆ
  • การเลือกกาแฟที่มีอายุประมาณ 4-30 วันหลังคั่วจะทำให้ได้กาแฟที่มีรสและกลิ่นที่ดีที่สุด

หลักการของการบดเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีคือ

  • บดทันทีก่อนชง
  • เลือกขนาดการบดให้เหมาะสมกับวิธีการชง
  • ใช้อุปกรณ์บดกาแฟที่ให้ขนาดกาแฟบดเท่าๆกันไม่มีชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ปนกัน

5. การบริการ

  • การที่บาริสต้าเข้ามาพูดคุยกับลูกค้าทั้งที่เป็นคอกาแฟและไม่ได้เป็นคอกาแฟเข้าสู่โลกของกาแฟอย่างดีที่สุดเพื่อผู้ดื่มให้ได้รับประสบการณ์ในการมาที่ร้านนั้นอย่างน่าจดจำ

 

 

6. กาแฟดริป

  • การเลือกขายกาแฟในรูปแบบของกาแฟดริป (กาแฟดริปคืออะไร คลิกที่นี่) เพราะกาแฟดริปจะสามารถบ่งบอกคาแร็คเตอร์ รสชาติและกลิ่นของเมล็ดกาแฟนั้นๆ ไม่ว่าจะสายพันธุ์บราซิล เอธิโอเปีย หรือสายพันธุ์ของไทยได้อย่างชัดเจน 

บทสรุป

  • การได้เห็นที่มาของกาแฟ รวมไปถึงความตั้งใจของกลุ่มคนที่พยายามทำให้กาแฟออกมาให้มีคุณภาพดีที่สุด จะส่งผลให้กาแฟแต่ละแก้วของคุณอร่อยและมีความหมายมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะชอบดื่มกาแฟสไตล์ไหนก็ตาม

                                   คาเฟ่ที่ต่อท้ายว่า “Specialty Coffee” ต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร

 

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
https://coffeepressthailand.com
https://www.welacoffeeroaster.com/article/specialty-coffee
http://www.baankluayonline.co/documentary-specialty-coffee/