เด่นโซเชียล

สรุปดราม่า 'ปังชา' ทำแล้วโดน 'ร้านดัง' ฟ้องไหม ทำกินเองได้หรือเปล่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปดราม่าเมนู 'ปังชา' ทำแล้วจะโดน 'ร้านดัง' ฟ้องไหม ทำกินเองได้หรือเปล่า ไขข้อสงสัยทำแบบไหนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

จากที่ "ร้านดัง" ได้ทำการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้าเมนู "ปังชา" สงวนสิทธิ์ห้ามเลียนแบบ โดยทางเพจของร้านได้ออกมาโพสต์รูปภาพเมนู "ปังชา" พร้อมแคปชั่นระบุว่า "จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยร่วมกันอย่างยั่งยืน 🇹🇭 แบรนด์ปังชา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า"

 

 

 

 

จนกลายเป็นดราม่าถกเถียงกันในโซเชียล ประชาชนให้ความสนใจและสงสัยกันมากมายว่าสามารถจดลิขสิทธิ์ได้เหรอ แบบนี้สามารถทำทานเองได้หรือไม่ หากร้านอื่นขายเมนู "ปังชา" จะโดนฟ้องหรือเปล่า วันนี้ทางคมชัดลึก มาสรุปดราม่า พร้อมไขข้อสงสัยเรื่องนี้กัน 

 

ปังชา

 

กำเนิดดราม่า "ปังชา" เมนูเด็ดจาก "ร้านดัง" 

 

1. เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2566 "ร้านดัง" ซึ่งมีเมนูเด็ด "ปังชา" ออกมาโพสต์ว่า "จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยร่วมกันอย่างยั่งยืน 🇹🇭 แบรนด์ "ปังชา" จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark)

 

"ปังชา" ภาษาไทย และ Pang Cha ภาษาอังกฤษ สงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย"

 

ปังชา

 

2. หลัง "ร้านดัง" โพสต์การจดทะเบียนเมนู "ปังชา" สู่โซเชียล กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนสนใจมียอดแชร์ไปเกือบ 2 พันแชร์ ชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์ กลายเป็นว่าทัวร์ลงเพจสนั่น โดยชาวเน็ตหลายคนมองว่า จดทะเบียนได้อย่างไร ทำไมถึงสามารถจดทะเบียนได้

 

3. มีนักกฎหมาย ออกมาแสดงความคิดเรื่อง "ปังชา" ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Dr. Pete Peerapat โดยโพสต์ข้อความระบุว่า "จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คือ อะไรเป็นเรื่องที่ดีนะครับที่ผู้ประกอบการใส่ใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ข้อมูลที่เอามาประชาสัมพันธ์ต่อออาจจะไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง

 

ปังชา

 

 

 

"ร้านดัง" ขู่ฟ้องคนทำเมนู "ปังชา" จนกลายเป็นดราม่าในโซเชียล

 

1. ร้าน "ปังชา" เชียงราย ตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ทางร้าน "ปังชา" ได้รับหนังสือให้ยุติการกระทำอันเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า และเรียกค้าเสียหาย 102,000,000 บาท เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2566 ที่ผ่านมา 

 

2. ส่วนโล้โก้ของร้าน "ปังชา" เชียงราย  และโล้โก้ "ร้านดัง" ก็ไม่เหมือนกัน ของร้านปังชาเชียงรายเขียนปังชาภาษาไทย ส่วนของผู้ร้องเป็นภาษาอังกฤษ ในรูปประกอบโล้โก้ก็มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก  

 

ปังชา

 

3. ซึ่งมีรายงานตอนนี้มีผู้ถูกร้องแล้วประมาณ 3 ราย ในส่วนร้านอื่นถูกฟ้องยังไม่มากเท่ากับร้าน "ปังชา" เชียงราย อาจจะถูกฟ้องจากการที่ร้านมีลูกค้าอุดหนุนจำนวนมาก

 

4. หลังชาวเน็ตเห็นว่ามีร้านถูกขู่ฟ้อง เพราะใช้ชื่อร้านว่า "ปังชา" ก็ทัวร์ลงไปที่เพจ "ร้านดัง" ทันที เนื่องจากมองว่าไม่สมควร และไม่มีสิทธิ์มาฟ้องด้วย เป็นร้านใหญ่ไม่ควรมานั่งฟ้องร้านเล็กๆ ทำมาหากินแบบนี้

 

ปังชา

 

6. นักกฏหมายออกมาตอบเรื่องนี้ว่า "ในกรณีนี้ผมเห็นว่าทางร้านยังสามารถใช้ชื่อร้านเดิมต่อไปได้ ซึ่งวันนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ออกมาช่วยให้ความรู้ในเรื่องด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องค่าเสียหาย ในเมื่อเรามีสิทธิใช้ชื่อร้านว่า "ปังชา" เขาก็เรียกค่าเสียหายไม่ได้ถ้าถูกฟ้องจริง ก็สามารถไปต่อสู้ที่ศาลได้แน่นอน

 

ปังชา

 

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกมาไขข้อสงสัย "ปังชา" และ "ร้านดัง" ออกมาขอโทษที่สื่อสารผิดพลาด

 

1. ต่อมากรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ชี้แจงว่า เมนูน้ำแข็งไสราดชาไทย หรือ "ปังชา" ใครก็ขายได้ แต่อย่านำลวดลายหรือแบบภาชนะของร้านที่เป็นข่าว ซึ่งจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ไปผลิต ดังนั้นการใช้คำว่าปังชากับเมนูน้ำแข็งไสราดชาไทยยังทำต่อไปได้ แต่ไม่ควรใช้รูปแบบฟอนต์ที่ชวนให้นึกถึงแบรนด์ของ "ร้านดัง"

 

ปังชา

 

2. ล่าสุด "ร้านดัง" ออกหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า ทางร้านขออภัยที่มีการสื่อสารและทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทางร้านขอน้อมรับทุกคำติชม คำแนะนำ และจะปรับปรุง พัฒนาทั้งในการสื่อสาร การบริการสินค้าต่อไป

 

ขอขอบคุณกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้ให้ข้อมูลและหาแนวทางร่วมกัน ในการชี้แจงเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจทางแบรนด์เป็นอย่างดีที่สุด ที่สำคัญที่สุดขอกราบขอบพระคุณด้วยความเคารพจากใจในทุกๆ ท่านที่ร่วมกันโพสต์แสดงความคิดเห็นให้แนวทาง อธิบายในข้อมูลที่มีเพื่อเป็นความรู้

 

ปังชา

 

 

ไขข้อสงสัย "ร้านดัง" จดทะเบียน "ปังชา" อะไรบ้าง 

 

1. เพจ Dr. Pete Peerapat เปิดเผยข้อมูล "ปังชา" จดทะเบียนอะไรบ้าง ทั้งนี้สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ฟรีจากเว็บไซต์ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากเป็นข้อมูลสาธารณะที่เผยแพร่อยู่แล้ว 

 

2. ถ้วยไอศกรีม "ปังชา" สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุอีกไม่ได้) ความคุ้มครอง คือ ร้านอื่นจะใช้ถ้วยไอศกรีม บิงซู น้ำแข็งใส ลักษณะเดียวกันกับที่จดทะเบียนไว้ไม่ได้

 

ปังชา

 

3. เครื่องหมายการค้า มีอยู่ 3 รูป ที่จดคุ้มครองสินค้าประเภทน้ำแข็งใส รูปแรกที่เป็นผู้หญิงนั่งอยู่กับถ้วยไอศกรีม จะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า "ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันที่ปรากฎในภาพ ยกเว้นคำว่า KAM" รูปที่สองวงรีสีดำจะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า "ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน คำว่า PANG CHA THE BEST THAI TEA"

 

 

ปังชา

 

ปังชา

 

รูปที่สาม วงรีสีขาว จะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า "ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน คำว่า PANG CHA" ความหมาย คือ ห้ามทำรูปโลโก้ หรือ เครื่องหมายการค้าแบบที่เค้าจดไว้ เช่น ผู้หญิงใส่ชุดไทยมานั่งกับถ้วยไอศกรีมแบบนี้ หรือ ทำเป็นโลโก้แบบในภาพ แต่คำต่างๆ ไม่ว่าจะ PANG CHA, the Best Thai Tea ใครๆ ก็สามารถใช้ได้

 

 

ปังชา

 

4. สรุป คำว่า Pang Cha หรือ "ปังชา" ไม่ได้มีการจดไว้เป็นเครื่องหมายการค้า ที่จด คือ รูปภาพหรือโลโก้ ซึ่งได้สละสิทธิคำว่า Pang Cha ไว้ 

 

5. เรื่องฟ้องร้องเรียก 102 ล้านบาท เห็นว่าไม่น่าจะเรียกร้องได้ และผู้ประกอบการที่ตั้งชื่อเพจว่า "ปังชา" ไม่ต้องไปลบเพจนะครับ ใช้ขายน้ำแข็งใส บิงซู ต่อไปได้

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ