พระเครื่อง

ศึกษาความรู้ข้อธรรมะ ความหมาย ปริศนาธรรม ของ ธงกฐิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศึกษาความรู้เกี่ยวกับธรรมะ ผ่านงานทอดกฐินสามัคคี อ่านข้อคิด ปริศนาธรรม ผ่าน ธงกฐิน เรื่องราวตำนาน ที่ควรรู้ของ ชาวพุทธ


เมื่อออกพรรษา เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น กิจกรรมสำคัญของชาวพุทธ ที่จะดำเนินต่อเนื่องจากนี้ นับก็คือ การทอดกฐิน ซึ่งมีระยะเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่ออกพรรษา จนไปจบที่วันลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญ ที่สืบทอดมาช้านาน และยาวนาน 
สำหรับ กฐิน นั้น เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐินหรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ 

ทอดกฐินสามัคคี

ธงจระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม) ใช้ประดับในการแห่ มีตำนานว่า เศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย
ธงนางมัจฉา หมายถึง ความหลง (เสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงใหล) ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่า อานิสงส์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม

ธงกฐิน
 

ธงตะขาบ หมายถึงความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต) ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม

ธงกฐิน
ธงเต่า หมายถึง สติ (การระวังรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง) ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 โดยในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระเข้ และธงนางมัจฉา ที่จะปรากฏในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบและธงเต่าพบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัดที่ยังคงรักษาธรรมเนียมเก่าอยู่เท่านั้น

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ