Lifestyle

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เข้าพรรษาถูกใช้เป็นวาระสำคัญในการผลักดันเรื่องที่เกี่ยวกับการลด เลิกดื่มแอลกอฮอล์มาต่อเนื่องกว่า 17 ปี ไม่ต่างกับปีนี้ ที่แม้การรณรงค์ยังคงเดินหน้าต่อ แต่เพราะการอยู่ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด19 ได้ทำให้วันเข้าพรรษาปีนี้มีความต่างออกไป

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชี้แจงเรื่องดังกล่าวในงานแถลงข่าวโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2563 ซึ่งจัดโดย สสส. ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า แม้จะมีการรณรงค์เลิกเหล้าต่อเนื่อง แต่กราฟตัวเลขการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวของคนไทยก็ยังคงทะยานขึ้นสูงอยู่ โดยวันนี้ประเทศไทยยังคงมีสถิตินักเมาเป็นอันดับ 5 ของโลก

“สำหรับปีนี้เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องอีกปี และเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ จึงควรพูดเรื่องการใช้ “สติ” สู้วิกฤต เพราะไม่มีภาวะไหนที่เราต้องการความเป็นมนุษย์สมบูรณ์เท่ากับในยามที่เราเผชิญภาวะวิกฤตเช่นนี้ แต่เหล้าเป็นตัวทำลายสติทั้งหมด นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าเข้าพรรษาปีนี้ สสส.จึงชวนทุกคนมาประกาศวาระการใช้สติงดเหล้า” ดร.สุปรีดาเอ่ย

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

ด้าน ธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า โครงการงดเหล้าเข้าพรรษาปีนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มนักดื่มประจำที่มีกว่า 7 ล้านคนมากขึ้น โดยกลุ่มนี้มีความถี่ในการดื่มอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะกลุ่มนี้มีภาวะความเสี่ยงต่อการมีปัญหาและการติดสุราสูงกว่า 1.71 ล้านคน โดยปีนี้จะใช้วิธีการรณรงค์ 2 รูปแบบ คือ 1. การสื่อสารรณรงค์ผ่านการประชาสัมพันธ์ โดยใช้แนวคิด งดเหล้าเข้าพรรษา มีสติ มีเงินเหลือ พร้อมสู้ทุกวิกฤต และ 2.เน้นการทำงานเชิงลึกกับพื้นที่ชุมชน ซึ่งขณะนี้เครือข่ายมีชมรมคนหัวใจเพชร ซึ่งเป็นคนที่สามารถเลิกเหล้าตลอดชีวิต จำนวน 142 ชมรม และมีนายอำเภอนักรณรงค์ 158 ราย พร้อมคณะทำงานระดับท้องถิ่น สร้างพลังชุมชนช่วยกันขับเคลื่อนหลากหลายกิจกรรมโน้มน้าวใจนักดื่มให้ ลด ละ เลิก

รวมถึงโครงการโพธิสัตว์น้อยลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า ซึ่งเป็นการบูรณาการแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กระทบต่อชีวิตของคนในสังคม สู่การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาคนที่ดื่มไปพร้อมกัน ที่ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีโรงเรียนในสังกัดเกือบ 30,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ร่วมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาอย่างต่อเนื่อง

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้ใช้กิจกรรมจดหมายสื่อรักลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า โดยได้เก็บข้อมูลหลังออกพรรษา 377 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีผู้ปกครองงดเหล้าครบพรรษา 16,691 คน ผู้บริหารและคุณครูงดเหล้าครบพรรษา 4,662 คน มีนักเรียนเขียนจดหมายสื่อรักขอพ่อแม่เลิกเหล้า 22,722 คน และนักเรียนที่พ่อแม่ไม่ดื่มก็เขียนจดหมายขอบคุณ 21,997 คน และได้นำกรณีศึกษาที่พ่อเลิกเหล้าได้มาทำสื่อเผยแพร่อย่างสร้างสรรค์

ขณะที่ตัวอย่างการรณรงค์ในพื้นที่ อย่าง “พุทไธสง” จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เป็นต้นแบบจัดกิจกรรมเชิงรุก นำแนวคิดวิถีพุทธ จัดโครงการ “สติบำบัด” มารวมพลังกับกระบวนการ ชวน ช่วย เชียร์ จนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยนอกจากแกนนำทั้งนายอำเภอนักรณรงค์ อย่าง นิมิต ปัทมเจริญ นายอำเภอพุทไธสง และชมรมคนหัวใจเพชร ต.หายโศก ยังร่วมด้วยภาคี ที่ประกอบด้วย ทีม อสม. และทีมงาน รพ.สต.หายโศก ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกันขับเคลื่อนยกชุมชน

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

เสียงบอกเล่าจาก บุญเติม ฉาบไธสงค์ หนึ่งคนต้นแบบที่เลิกเหล้าสำเร็จจากกระบวนการ อดีตเขาเคยดื่มหนัก เรียกว่าดื่มไม่เลิก ดื่มตั้งแต่เย็นถึงสว่าง จนเป็นที่มาของฉายา “บุญเติม 3000 ปี” ที่คนทั้งชุมชนเรียกขาน แต่หลังเข้าร่วมโครงการสติบำบัดกับทาง รพ.สต. เริ่มปี 2563 เป็นต้นมาเขาแทบไม่ได้แตะเหล้าอีกเลย

บุญเติมเล่าว่าแรก ๆ ก็ดื่มแก้เมื่อยและสังสรรค์ อาศัยดื่มฟรี แต่นานวันเข้าชักติดลม จึงเริ่มควักเงินซื้อกินเอง ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายในบ้าน เพราะเปลี่ยนไปลงขวดหมด

“พอเมาแล้ว งานก็เสีย เมียก็ด่า เงินก็หมด” เขาเปรย

“จริง ๆ ปีแรกมีคุณหมอมาชวนว่าเข้าโครงการไหม แต่เราปฏิเสธไป อ้างไม่พร้อม พอปลายปี 2562 มีคุณหมอเข้ามาชวนอีกรอบถึงที่บ้าน เริ่มเกรงใจ จึงตัดสินใจเข้าร่วม หลังจากได้ทำกิจกรรมทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากเลิกดื่ม จนวันนี้เราไม่รู้สึกปรารถนามันแล้ว”

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

ฟากฝั่งคนชักชวนอย่าง เพ็ญจันทร์ บุญถึง ผู้อำนวยการ รพ.สต.หายโศก ร่วมเผยเคล็ดไม่ลับ ที่สามารถจูงใจนักดื่มอย่างบุญเติมเลิกเหล้าได้สำเร็จว่า

“เราคิดแล้วว่าต้องเอาใครเข้าร่วม เราเน้นคนที่ติดหนักเลย เพราะอยากช่วย เนื่องจากเขาปัญหาเยอะ ไปไหนคนก็รังเกียจ บางรายเมาแล้วอาละวาด เกิดอุบัติเหตุ ถูกมองว่าทำความเดือดร้อนให้ชุมชน”

หลังได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมอบรมผ่านโครงการลด ละเลิก จึงเริ่มดำเนินโครงการในพื้นที่ อาศัยว่าอยู่ที่นี่มาเกือบ 40 ปีแล้ว จึงใช้ความสนิทสนม ก่อนเข้าไปชวนเข้าโครงการ

“เราก็เริ่มจากพูดถึงสิ่งดี ๆ ที่เขาทำ ชื่นชมเขาก่อนแล้วจึงค่อยตะล่อมชวนเข้าโครงการ ซึ่งพอเขาเลิกได้ เขาปรับวิธีคิดตัวเองไปเลย เขาจะถามตัวเองตลอดว่าการที่เขาดื่มกับไม่ดื่มอย่างไหนดีกว่ากัน มันแสดงว่าเขาเท่าทันความคิดตัวเอง ทำให้เขาสามารถหยุดเองได้จริง”

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

ด้าน สุมาลี โพธิ์สิทธิพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.สต.หายโศก เธอคือนักสติบำบัดที่รับไม้ต่อเป็นกระบวนกรในโครงการ เล่าว่า โครงการจะเน้นเรื่องการนำเรื่องสติวิถีพุทธจัดการภาวะจิตใจ เพื่อประคองสติในชีวิตประจำวัน โดยหลังจบโครงการรุ่นแรกมีคนสามารถเลิกได้มากกว่า 6 เดือน จำนวน 3 จาก 15 คน โดยในสองคนที่เลิกได้ ยังกลายมาเป็นต้นแบบร่วมกระบวนการให้กับรุ่นต่อมา

สุมาลีเล่าว่าในปีที่สองได้เริ่มเรียนรู้ปัญหาแล้วค่อย ๆ ปรับกระบวนการ ทำให้โครงการประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น โดยมี 17 คนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลิกดื่มเกิน 6 เดือนได้ถึง 7 คน

“เราเริ่มรู้ว่าคนที่มีสุขภาพกายไม่พร้อมจริง ๆ จำเป็นต้องส่งไปรักษาให้หายขาดก่อน แล้วค่อยมาเข้ากระบวนการ ส่วนคนที่เลิกได้ เราถามเขาว่า เขามีเป้าหมายหรือต้องการทำอะไรไหม ซึ่งต้นแบบของเราบอกว่าอยากให้มีค่ายสำหรับรุ่นต่อไป และเขายินดีมาช่วย เราเห็นถึงความจริงใจมุ่งมั่นและความเป็นจิตอาสาของเขา จึงเสริมด้านความรู้และพัฒนาศักยภาพให้เพิ่ม” สุมาลีเล่า

“อีกส่วนคือเราเห็นว่าคนที่จะทำให้โครงการสำเร็จ คือครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจได้อย่างดี เราจับคู่เลยจะเป็นภรรยาหรือพ่อแม่ ก็ได้มาคุยกันเปิดใจความรู้สึกกัน นอกจากนี้ เรานำคนต้นแบบหัวใจเพชรที่เคยประกาศตัวผ่านโครงการ “เหล้าขวดสุดท้ายพิชิตใจนักดื่ม” มาถ่ายทอดว่าชีวิตเขาก็เป็นแบบนี้ไม่แตกต่างกัน แต่ยังสามารถเลิกได้ แล้วตัวคุณล่ะอยากตั้งปณิธานอะไรบ้างหรือไม่”

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

ด้านเพ็ญจันทร์เอ่ยเสริมว่า อีกปัจจัยสำคัญคือต้องสร้างการรับรู้ในชุมชน

“ทุกคนในชุมชน ตั้งแต่นายอำเภอ ผู้นำทุกหมู่ในชุมชน อสม. เราเอามาร่วมพิธีเปิด เรามีการผูกข้อไม้ข้อมือก่อน เพื่อเป็นการเสริมพลังว่าเขามีคุณค่าในสายตาคนในชุมชนนะ เพราะคนที่ดื่มเหล่านี้เขาจะโทษตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่มีคนรัก ไม่มีคนเข้าใจ พอวันหนึ่งมีคนระดับผู้นำชุมชนมาผูกแขนให้ มันทำให้เขารู้สึกว่าเขาสำคัญขึ้นมา”

แต่ใช่ว่าใช้ “สติบำบัด” อย่างเดียว แล้วจะสำเร็จ เพราะสุมาลีเอ่ยว่าหัวใจสำคัญต้องมีครบ 3 อย่าง คือมีบุคลคต้นแบบหัวใจเพชร มีสติบำบัดคอยช่วยสิ่งที่ช่วยให้เขาคิด เสริมกำลังใจ และภาคีเครือข่ายเป็นแรงหนุน

เข้าพรรษา ยุคโควิด ชวนนักดื่ม เลิกดื่ม ด้วย “สติ” เปลี่ยน “วิกฤต” เป็นโอกาส

“รพ.สต. ทำคนเดียวไม่มีทางสำเร็จ ต้องคนทั้งชุมชนร่วมมือกัน” สุมาลีเสริมและเอ่ยต่อว่า

“นอกจากนี้ สิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน คือคนต้นแบบหัวใจเพชรนี่แหละ เพราะถ้าชุมชนเขาเข้มแข็ง บางทีเขามาบำบัดที่ รพ.ไม่ได้ หรือเจ้าหน้าที่ไม่พอ เขาสามารถบำบัดสมาชิกในชุมชนเองได้ ที่สำคัญคนกลุ่มนี้จะทำหน้าที่คอยสอดส่องและหาคำตอบให้เรา คอยกำกับคนที่เลิกได้”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ