Lifestyle

รัฐบาลทุ่มกว่า 900 ล้านบาทประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เสริมความมั่นคงเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การประกันรายได้เกษตรกร เป็นแนวทางที่สร้างความมั่นคงของรายได้ เป็นหลักประกันรายได้ขั้นต่ำในการประกอบอาชีพเกษตร ช่วยรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า ทั้งยังช่วยลดภาระงบประมาณในการบริหารสต๊อก และสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

แนวคิดการประกันรายได้เช่นนี้ ถูกผลักดันควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร ซึ่งรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการมาตลอด มีการกำหนดเป้าหมายรายได้เกษตรกรจากผลผลิตทางเกษตรในสินค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวระหว่างการเป็นประธาน kick off จ่ายเงินส่วนต่างโครงการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ว่า นอกจากการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจอื่น ข้าว มัน ยาง ปาล์มที่และได้เริ่มโอนเงินส่วนต่างไปแล้ว ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ได้เห็นชอบกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม

การประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ดที่ความชื้นไม่เกิน 14.5%  กิโลกรัมละ 8.50 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ โดยต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีวันเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 62 – 31 พ.ค. 2563 นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น มาตรการควบคุมการขนย้าย ซึ่งจะอนุญาตให้ทำได้เฉพาะบางจังหวัด เช่น จันทบุรี เชียงราย ตาก ผู้นำเข้าข้าวสาลีจะต้องซื้อข้าวโพดไทยในอัตรา 1:3 รวมทั้งได้กำชับฝ่ายความมั่นคงเข้มงวดกับการป้องกันการลักลอบการนำเข้า

"วันนี้สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าตั้งแต่รัฐบาลแถลงนโยบายไว้กับรัฐสภา รัฐบาลนี้สามารถเริ่มโอนเงินส่วนต่างให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชเกษตรครบทั้ง 5 ชนิดแล้ว ถือเป็นการประกาศว่ารัฐบาลทำได้ไว จ่ายได้จริง" นายจุรินทร์กล่าว

รัฐบาลทุ่มกว่า 900 ล้านบาทประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เสริมความมั่นคงเกษตรกร

สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 11 ธค. 2562 ในกรอบวงเงิน 923 ล้านบาท เกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกและแจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี (1) ช่วงเวลาเพาะปลูกระหว่าง วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 (2) ระยะเวลาใช้สิทธิ ใช้สิทธิได้ในช่วงการเก็บเกี่ยวที่ระบุไว้ในทะเบียนเกษตรกร โดยรัฐบาลจะจ่ายส่วนต่างครั้งแรกในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 19 ธันวาคม 2562 ให้มีสิทธิรับเงินชดเชยในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 และจ่ายต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนจนถึงระยะเวลาสิ้นสุดการรับสิทธิชดเชยตามโครงการฯ 31 ตุลาคม 2563 (3) ระยะเวลาโครงการ 1 ธันวาคม 2562 -31 ธันวาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมายกับราคาเกณฑ์กลาง โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเงินประกันรายได้ดังกล่าวเป็นส่วนต่างระหว่าง ราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่กำหนดโดยคณะอนุกรรมการกำกับดูแล และกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

โดยการจ่ายชดเชยส่วนต่างราคางวดแรกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และมีการเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งได้รับเงินชดเชยส่วนต่างที่กิโลกรัมละ 0.29 บาท (ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง กก.ละ 8.21 บาท) ขณะที่การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่แจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 2562 – 19 ม.ค. 2563 จะได้รับเงินชดชยส่วนต่าง กิโลกรัมละ 0.48 บาท (ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง กก.ละ 8.02 บาท)

รัฐบาลทุ่มกว่า 900 ล้านบาทประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เสริมความมั่นคงเกษตรกร

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบการโอนเงินได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ