Lifestyle

ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑๕

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

15th SEA-PAC Principals Meeting

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ (15th SEA-PAC Principals Meeting) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2562 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านการต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานที่มีอำนาจในการต่อต้านการทุจริต ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าร่วม

วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 พลตำรวจเอกวัชรพล  ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมหลักถึงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นโอกาสอันดีในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโลกให้แก่ภูมิภาคอาเซียน นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านการค้าการลงทุน รวมถึงการเคลื่อนย้ายคนและเงินทุนข้ามพรมแดนอย่างเสรี แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมถึงปัญหาการทุจริตและการให้สินบนข้ามชาติ อีกทั้งความสะดวกในการเดินทางและการสื่อสารในยุคปัจจุบันยังเอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากเขตพรมแดนระหว่างประเทศที่เปิดกว้างอย่างเสรี และนโยบายการลงทุนของต่างประเทศเพื่อหลบหนีการกระทำผิด การยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ประเทศไทยจึงได้กำหนดหัวข้อการประชุมหลักในครั้งนี้เกี่ยวกับการติดตามทรัพย์สินคืนและการปฏิเสธการให้ที่พักพิงแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ทุจริตและทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด

ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑๕

ต่อจากนั้น เป็นพิธีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน (MoU) ระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับหน่วยงานต่อต้านการทุจริตแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (State Inspection and Anti-Corruption Authority: SIAA)  และ MoU ระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Komisi Pemerantasan Korupsi: KPK) โดย MoU ทั้งสองฉบับมุ่งเน้นความร่วมมือกันในการต่อต้านการทุจริตของสองประเทศ การส่งเสริมแลกเปลี่ยนช้อมูล ประสบการณ์ และการประสานงานคดีระหว่างกัน

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ผู้แทนหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ผลัดกันนำเสนอผลงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมในการดำเนินการเพื่อการต่อต้านการทุจริต นอกจากนี้ ยังมีวาระสำคัญในการหารือและรับรองแผนการปฏิบัติงาน SEA-PAC (SEA-PAC Action Plan) สำหรับปี 2563-65 รวมถึงการอภิปรายในหัวข้อ “การปฏิเสธที่พักพิงแก่เจ้าพนักงานของรัฐผู้ทุจริตและทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด (Denying Safe Haven to Corrupt Officials and Stolen Assets)” และหัวข้อเกี่ยวกับ “มาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าพนักงานของรัฐ (Effective Anti-Bribery Measures in Privates Sector to Prevent Bribery of Public Officials”

ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ ๑๕

นอกจากกิจกรรมในการประชุมหลักในวันที่ 9-10 ตุลาคมแล้ว เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 สำนักงาน ป.ป.ช. ยังได้ร่วมกับสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค ในหัวข้อ “การปฏิเสธที่พักพิงแก่เจ้าพนักงานของรัฐผู้ทุจริตและทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด (Denying Safe Haven to Corrupt Officials and Stolen Assets)” โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศร่วมอภิปรายประสบการณ์และความท้าทายในการปฏิเสธที่พักพิงแก่เจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ช่องทางในการลงทุนหรือนโยบายการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหลบหนีการกระทำความผิดและยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดไปต่างประเทศ เช่น หน่วยงาน KPK อินโดนีเซีย คณะกรรมการการตรวจตราแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (National Commission of Supervision: NCS) สำนักงานอัยการสูงสุด UNODC คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของมาเลเซีย (Malaysian Anti-Corruption Commission: MACC) และ Stolen Asset Recovery Initiative (StAR) และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ร่วมกับ American Bar Association Rule of Law Initiative (ABA-ROLI) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานนอกสถานที่ ณ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมวัฒนธรรมต่อต้านการให้สินบนในภาคธุรกิจอาเซียน (Promoting Anti-Bribery Compliance Culture among ASEAN Businesses” โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 70 คนและมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจเอกชนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดีและความท้าทายในการเสริมสร้างบรรยากาศการค้าการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนที่โปร่งใสไร้สินบน ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องตรงกันว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนได้ออกกฎหมายหรือกำลังดำเนินการออกกฎหมายเพื่อกำหนดให้นิติบุคคลต้องรับผิดในฐานความผิดการทุจริตและการให้สินบนแล้ว อย่างไรก็ดี การสร้างวัฒนธรรมแห่งความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนยังคงต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างภาครัฐด้วยกันตลอดจนความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ