Lifestyle

รายงานเกษตร / จันทร์ 8 ธ.ค. / รวมกลุ่มใช้น้ำ "แควน้อย"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รายงานเกษตร / จันทร์ 8 ธ.ค. / รวมกลุ่มใช้น้ำ "แควน้อย" หัวเรื่อง - รวมกลุ่มจัดสรรน้ำแควน้อย ทางรอด "เกษตรกร" ใต้เขื่อน รูปชื่อ - kawa1-3 (อยู่ใน pic for sub) บายไลน์ -ทีมข่าวเกษตร ใต้ภาพ - 1.สันเขื่อนแควน้อยจากมุมสูง 2.สถาพร ปานมี 3.อนนท์ แดงอ่ำ แม้จะมีปัญหาน้ำแล้งของชาวบ้านที่ยึดอาชีพทางด้านการเกษตรในพื้นที่ใต้เขื่อนแควน้อย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ท้องที่ ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องรอจนกว่าการก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ 100% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 แต่บรรดาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบกลับยืนยันว่าสามารถรอคอยได้ เนื่องจากจะมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการประกอบอาชีพได้ตลอดทั้งปี ขณะเดียวกันก็มีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่มใช้น้ำเพื่อจัดสรรน้ำได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ต้นน้ำหรือปลายน้ำ "สถาพร ปานมี" กำนัน ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก แกนนำกลุ่มผู้ใช้น้ำใต้เขื่อนแควน้อย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยืนยันว่า ไม่มีปัญหา แม้ชาวบ้านจะขาดน้ำมาแล้วกว่า 3 ปีเริ่มตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อน แต่พวกเรายืนยันว่าสามารถรอได้ ยอมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพราะมั่นใจว่าหลังการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยเสร็จเรียบร้อยก็จะมีน้ำกินน้ำใช้ รวมถึงการใช้น้ำสำหรับพื้นที่การเกษตรได้ตลอดทั้งปี "พวกเรารอได้ครับ อีกไม่กี่เดือนเขื่อนก็จะสร้างเสร็จแล้ว ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เรารอน้ำฝนอย่างเดียว เพราะต้องรอให้เขื่อนเสร็จ จากที่เคยทำนาปีละ 2 ครั้งก็เหลือครั้งเดียว บางคนก็หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยลง หรือไม่ก็มาทำงานรับจ้างหลังว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่ข้าวโพด และปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่ แม้จะกระทบรายได้อยู่บ้าง แต่ก็อยู่ได้" กำนันสถาพรย้ำด้วยว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ ก่อนที่การก่อสร้างเขื่อนจะแล้วเสร็จ 100% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นั้นก็คือการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำใต้เขื่อนเพื่อจัดสรรน้ำให้เพียงพอสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ต้นน้ำหรือปลายน้ำ ที่สำคัญเป็นการใช้น้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง เช่นเดียวกับ อนนท์ แดงอ่ำ เกษตรกรวัย 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 55 หมู่ 4 ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก เผยว่า ครอบครัวตนมีที่นาอยู่ประมาณ 6 ไร่เศษ ปกติจะทำนาปีละ 2 ครั้ง แต่หลังจากมีการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยในช่วง 3-4 ปีมานี้ จะปลูกปีละครั้ง เพราะต้องพึ่งน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนบ่อปลาสวายที่เคยเลี้ยง 400-500 ตัว ก็ต้องหยุดไว้ชั่วคราว เพราะไม่มีน้ำ แต่ก็จะหันปลูกผักและเลี้ยงโคแทนเพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบต่อรายได้มากนัก "เมื่อก่อนถึงทำนาปีละ 2 ครั้งก็จริง แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตก็มีปัญหา บางปีก็เกิดน้ำท่วมเสียหาย บางฤดูแล้งมาก น้ำในลำน้ำแควน้อยแห้งขอด หลังจากมีเขื่อนคิดว่าเราจะมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีและสามารถบังคับการให้น้ำจากเขื่อนได้ด้วยว่าช่วงใดพื้นที่ภาคเกษตรต้องการน้ำมากหรือน้ำน้อย" เกษตรกรรายเดิมกล่าวย้ำ ด้าน ชูชาติ ฉุยกลม ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้าง 2 (โครงการแควน้อยฯ) กรมชลประทาน เผยความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 จนถึงขณะนี้ใกล้เสร็จสมบูรณ์ 100% ซึ่งประกอบไปด้วยงานจ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น โดยเขื่อนแควน้อยและเขื่อนสันตะเคียนได้ผลงาน 93% งานจ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนทดน้ำพญาแมน พร้อมระบบส่งน้ำฝั่งขวาได้ผลงาน 84.75% งานจ้างเหมาก่อสร้างคลองส่งน้ำฝั่งซ้ายและอาคารประกอบ ผลงานก่อสร้างได้ 32.15% งานจ้างก่อสร้างถนนทดแทนที่ถูกน้ำท่วมบริเวณบ้านแก่งเจ็ดแคว ได้ผลงาน 56.15% โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำแควน้อยให้มีเพียงพอสำหรับส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในเขต จ.พิษณุโลก และเสริมการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่พื้นที่ชลประทานเจ้าพระยา รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณที่ลุ่มแควน้อยตอนล่างและประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน อย่างไรก็ตามขณะนี้การก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จและสามารถเริ่มเก็บกักน้ำได้บ้างแล้ว ******************************* ล้อมกรอบ - กรมชลฯ เร่งสร้าง"กิ่วคอหมา-แม่กวง" รูปชื่อ - kew1(อยู่ในpic for sub) ไม่เพียงแต่เขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริเท่านั้นที่ป้องกันการเกิดอุทกภัยและกักเก็บน้ำใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม ถัดขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย กรมชลประทานก็ได้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จอีก 2 เขื่อน คือ กิ่วคอหมา-แม่กวง ก็มีเป้าหมายเดียวกัน ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างนั้น ดร.สมภพ สุจริต รักษาการผู้อำนวยการส่วนความปลอดภัยเขื่อน กรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูความคืบหน้าของโครงการกิ่วคอหมา ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และการก่อสร้างโครงการผันน้ำแม่งัด-แม่กวง เขื่อนแม่กวง ต.ดอนเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โครงการกิ่วคอหมา เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำวัง ระยะเวลาก่อสร้างปี 2548-2553 ในวงเงินงบประมาณ 3,670 ล้านบาท ขณะนี้ตัวเขื่อนได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว ยังเหลือระบบส่งน้ำที่กำลังดำเนินการ หากแล้วเสร็จ จะช่วยเก็บกักน้ำด้านเหนือของลำน้ำวังไม่ให้ทะลักสู่เขื่อนกิ่วลมที่อยู่ด้านใต้ ซึ่งรองรับน้ำได้เพียง 112 ลูกบาศก์เมตร และยังกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 120,200 ไร่ ส่วนการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่งัด-แม่กวง ในโครงการเขื่อนแม่กวง มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง เพื่อใช้ในการเกษตร ผลิตน้ำประปาป้อนเมืองเชียงใหม่ และใช้ในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน โดยใช้งบก่อสร้าง 9,260 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบสำรวจส่วนแรกเสร็จแล้ว คาดจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปีหน้า *********************
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ