วันนี้ในอดีต

17 ก.พ.2504 กำเนิด พันนา ฤทธิไกร ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

#วันนี้ในอดีต คอลัมน์วาไรตี้ประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่ความทรงจำ

 

****************************

 

 

เอ่ยชื่อ องค์บาก ต้มยำกุ้ง คนไทยยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นสุดยอดหนังบู๊ไทยโลกจารึก และรู้กันดีว่า พันนา ฤทธิไกร คือผู้ที่ทำให้คิวบู๊ของภาพนตร์สองเรื่องนี้และอีกหลายๆ เรื่อง ที่สนุกสนานตื่นเต้นมันสะใจคนดูขนาดไหน

 

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

 

 

 

แน่นอน เวลานี้วงการบันเทิงไม่มีเขาอีกแล้ว เมื่อเขาจากพวกเราไปช่วง 6 ปีก่อนจากอาการป่วยโรคไต แต่ที่จริงชายคนนี้ยังอยู่ในใจนักดูหนังไทยทุกๆ คน

 

และในโอกาสที่วันนี้เมื่อ 59 ปีก่อน คือเกิดของ พันนา ฤทธิไกร จึงขอรำลึกถึงเขาอีกครั้ง ด้วยเรื่องราวชีวิตและผลงานของเขา  

 

 

 

เส้นทางคนคิวบู๊

 

 

หลายคนอาจไม่ทราบว่า พันนา ฤทธิไกร มีชื่อจริงว่า “กฤติยา ลาดพันนา” เขาเกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2504 เป็นชาวตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

 

พันนามีพี่น้องทั้งหมด 6 คน เขาเป็นลูกคนที่ 5 และเป็นพี่ชายของ “อรนุช ลาดพันนา” หนึ่งในนักพากย์ภาพยนตร์ของ “พันธมิตร”

 

บิดาของพันนาเป็นข้าราชการครู ขณะที่พันนาจบการศึกษาระดับป.7 โรงเรียนดอนหันวิทยายน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการขอนแก่นในปัจจุบัน) และจบระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนและ วิทยาลัยพลศึกษามหาสารคาม

 

ว่ากันว่าที่เขาเลือกเรียนสายพลศึกษาเพราะตั้งแต่เด็ก พันนาชอบเรื่องของการต่อสู้ หรือฉากแอกชั่นจากในหนังเป็นอันมาก ยามว่างก็จะครูพักลักจำท่วงท่าจากที่เห็นในหนังต่างๆ เช่น “บรู๊ซ ลี” จึงเลือกเรียนพลศึกษาเพื่อเข้าใจพื้นฐานในการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ถูกต้อง

 

หลังจบวิทยาลัยพลศึกษามหาสารคามราวปี 2524 เด็กหนุ่มวัย 22 จากที่ราบสูงก็ตัดสินใจมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพ โดยการแนะนำของเพื่อนรักคนหนึ่งเพื่อไปสมัครเล่นหนังกับ “คมน์ อรรคเดช” แห่งโคลีเซี่ยมฟิล์ม

 

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาได้เข้าฉากก็คือเรื่อง “ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.” (ปี 2526) เป็นฉากเสี่ยงตายที่เล่นแทน ม.ล.สุรีย์วัลย์ สุริยง อีกหนึ่งนางเอกนักบู๊ของคนไทย โดยเขาต้องขึ้นไปสู้กับผู้ร้ายบนหลังคารถไฟ ซึ่งพันนาฯ เป็นสตั้นท์แมนที่ได้รับความไว้วางใจจากกองถ่ายคนเดียวให้ขึ้นไปเล่นฉากนี้เนื่องจากต้องใช้ทักษะสูงขณะเดียวกัน ทั้งนี้พันนาเองก็เป็นผู้ฝึกสอนคิวบู๊ให้กับ ม.ล.สุรีย์วัลย์ สุริยง อีกด้วย

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

ไอ้ ผาง ร. ฟ. ท.

 

 

 

 

ทางที่เลือกเดิน

 

 

ต่อมาพันนา ได้กลับขอนแก่นบ้านเกิดมาตั้งทีมงานของตัวเอง ปิดรับสมัครจากผู้ที่สนใจในแม่ไม้มวยไทย และศิลปะการต่อสู้ แล้วก็เริ่มก่อตัวเป็นทีมจากจำนวนผู้เข้าฝึกร่วม 20 คน ชื่อว่า “กลุ่มสตั้นท์แมน พี พี เอ็น” หรือ เพชรพันนาโปรดักชั่น

 

ทีมงานของพันนา ทำการฝึกอย่างเอาจริงเอาจังตั้งแต่ปี 2525 พันนาจะเป็นผู้สอนเองโดยใช้เวลาว่างจากการถ่ายทำภาพยนตร์ที่กรุงเทพฯ

 

ที่สุดราวปลายปี พันนาจึงเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “เกิดมาลุย” ว่ากันว่างานนี้ถึงขั้นที่พันนาตัดสินใจขายที่นา แล้วนำเงินก้อนใหญ่มาร่วมแรงร่วมใจกับพรรคพวกสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

 

 

 

เกิดมาลุย ออกฉายเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2529 ประสบความสำเร็จในระดับที่ใช้ได้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดถือว่าเข้าขั้นดีมาก แต่เรื่องนี้ต้องนับว่าเป็นหนังไทยบู๊แนวใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ได้รับเสียงวิจารณ์ในทางบวกอย่างล้นหลาม

 

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อของพันนาก็โดดเด่นขึ้นมาในฐานะผู้กำกับ นักแสดง สตั้นท์แมนในภาพยนตร์แอ็คชั่นมานับไม่ถ้วน นับร้อยเรื่องที่พันนามีส่วนรับผิดชอบในงาน ผ่านการร่วมงานกับนักแสดงชายไทยมานับไม่ถ้วน ไม่ว่า สรพงศ์ ชาตรี ฉัตรชัย เปล่งพานิช และเป็นอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้ของนักแสดงแอ๊คชั่นหลายคน เช่น จา พนม เดี่ยว ชูพงษ์ ฯลฯ

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

 

 

พูดได้ว่าพันนาเติบโตจนเห็นทั้งยุครุ่งเรือง ร่วงโรย และเกิดใหม่ของหนังไทย และยิ่งประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเขาทำงานร่วมกับสตูดิโอใหญ่หลายเรื่อง เช่น อาทิ ปีนเกลียว (2537)องค์บาก (2546)ต้มยำกุ้ง (2548) ฯลฯ ที่สำคัญพันนายังนเป็นครูผู้สร้างนักแสดงคิวบู๊ชั้นเยี่ยมขึ้นมาประดับวงการอีกมากมาย

 

 

 

 

เกียรติยศศักดิ์ศรี

 

 

วันที่ 18 มีนาคม 2553 พันนาในพิธีพิมพ์มือพิมพ์เท้าบนลานดารา หน้าโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา วันนั้น นอกจากชื่อของตนเองรอยพิมพ์มือและเท้าแล้ว ยังมีข้อความที่พันนาเขียนด้วยตนเอง ว่า “ตายได้แล้ว” โดยเขียนมันขึ้นมาก่อนเสียชีวิตในอีก 4 ปีต่อ เพื่อบอกตัวเองว่าที่ทำมาทั้งหมดคือจุดหมายสูงสุดของชีวิตแล้ว

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

 

 

พันนา ฤทธิไกร เสียชีวิตวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 จากอาการติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากโรคไตและโรคตับ ด้วยวัย 53 ปี ที่โรงพยาบาลลาดพร้าว หลังเริ่มรักษามาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 

สำหรับผลงานของเขามีดังนี้ 

ผลงานร่วมกำกับคิวบู๊ที่ผ่านมา

โคตรสู้ โคตรโส (2553)เร็วทะลุเร็ว (2556)องค์บาก 3 (2553)องค์บาก 2 (2551)เกิดมาลุย (2547)บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547)

 

ผลงานกำกับที่ผ่านมา

เร็วทะลุเร็ว (2556) คือภาพยนตร์ที่เขากำกับเรื่องสุดท้าย โคตรสู้ โคตรโส (2553) ภาพยนตร์ ส้มตำ (2551) เกิดมาลุย (2547)

 

 

17 ก.พ.2504  กำเนิด พันนา ฤทธิไกร  ปรมาจารย์คิวบู๊ผู้ลาลับ

เร็วทะลุเร็ว

 

 

 

ผลงานแสดงที่ผ่านมา

ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525) พยัคฆ์ยี่เก (2526) เกิดมาลุย (2529) น.ส.กาเหว่า (2529) ซิ่งวิ่งลุย (2529) ปลุกมันขึ้นมาฆ่า (2530) เกิดมาลุยภาค 2 (2530) ข้าจะใหญ่ใครอย่าขวาง (2530) เพชรลุยเพลิง (2531) คนหินจอมทรหด (2531)

 

ฅนเถื่อนกทม (2531) เพชฌฆาตเดนสงคราม (2531) สมิงดงดิบ (2532) ลำเพลินโหด (2532) โหดตามสั่ง (2532)

 

โหดตามคิว (2532) ปลุกมันขึ้นมาฆ่า 2 ตอนลุกขึ้นมาลุย (2532) บ้าดีเดือด (2532) สู้ลุยแหลก (2532)เสี่ยงตาย (2532)หินตัดเหล็ก (2533)

 

เพชฌฆาตดำ (2533) อาถรรพณ์เสือสมิง (2533) บ้าแล้วต้องฆ่า (2533) ไอ้เพชรบขส (2533) บ่อเพลิงที่โพทะเล (2533)หัวใจเหล็ก (2533) กองทัพเถื่อน (2533) ตี๋ใหญ่ 2 (2533) ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (2533)ปลุกมันขึ้นมาฆ่า 3 ตอนจ๊ะเอ๋ผีหัวขาด (2533)

 

เถื่อนอัดดิบ (2533) ขุมทรัพย์เมืองลับแล (2533) เจาะนรกเผด็จศึก (2533) คู่เดือด (2533)ตะบันเพลิง (2533)3 อันตราย (2533) เกิดมาลุย 3 อัดเต็มพิกัด (2533) แบ๊งค์เถื่อน 2534 ระห่ำ 100% 2534 ท้าลุย (2534) และอีกมากมาย

 

วันนี้ถ้า พันนา ฤทธิไกร ยังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีอายุ 59 ปั

 

 

*********************************

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ