วันนี้ในอดีต

การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญนาน 10 ปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

#วันนี้ในอดีต คอลัมน์วาไรตี้ประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่ความทรงจำ

 

 

*****************************

 

 

วันนี้เมื่อ 51 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 คือวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 ของประเทศไทย ความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้มีมากมาย ที่จะขอนำเสนอมา ณ ที่นี้

 

 

รัฐประหารทำพิษ

 

 

ความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ ถูกบันทึกว่า เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นห่างจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8 เกือบ 12 ปี ทั้งนี้ เพราะมีการรัฐประหารยึดอำนาจโดยคณะทหารและทหารได้จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญนานมากเกือบ 10 ปี จนกระทั้งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

 

เมืองไทยยุคหลังรัฐประหาร 2557 ว่านานแล้วถึงจะมีเลือกตั้งในปี 2562 แต่เหตุการณ์ของวันนี้เมื่อหลายสิบปีก่อนก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน

 

สำหรับเรื่องราวการรัฐประหารครั้งนั้น สืบเนื่องมาจากการที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้กระทำการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/299527

 

 

 

การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญนาน 10 ปี

 

 

 

จากนั้นได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญ, รัฐสภาและพรรคการเมืองต่างๆ เป็นอันสิ้นสุดลง และได้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2502 โดยมี ทวี บุณยเกตุเป็นประธาน

 

สภาร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ในยุคที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

 

เวลานั้นได้มีรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 นอกจากนั้น ยังได้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2511

 

จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 180 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งขึ้นภายใน 240 วัน

 

แน่นอนช่วงนั้นได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยมีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือพรรคสหประชาไทย และพรรคประชาธิปัตย์ 

 

และที่ต้องจดจารึกไว้เป็นพิเศษคือการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้คนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยว่างเว้นการเลือกตั้งมาอย่างยาวนานถึง 11 ปีเต็มด้วยกันนั่นเอง

 

 

 

เข้าคูหา กายังไง

 

 

สำหรับการเลือกตั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 หรือวันนี้เมื่อ 51 ปีก่อน ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่คนไทยอั้นและรอคอยมานาน หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่และเป็นการเลือกตั้งที่อาศัยกฎหมายเลือกตั้ง พ.ศ. 2511

 

การเลือกตั้งหนนี้มีความแตกต่างจากปัจจุบัน คือ เป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตเรียงเบอร์ โดยถือเอาหนึ่งจังหวัดเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และเป็นการเลือกตั้งโดยตรง

 

จำนวนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตคำนวณโดยถือเอาจำนวนประชาชน 150,000 คน ต่อผู้แทน 1 คน

 

การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ทั้งหมด 1,522 คน จากทั้งหมด 12 พรรคการเมือง และไม่สังกัดพรรคการเมืองใด โดยที่มีจำนวน ส.ส.ได้ทั้งหมด 219 คน

 

 

การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญนาน 10 ปี

พรรคสหประชาไทย

 

 

 

ที่สุด มีผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 14,820,180 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 7,285,832 คน คิดเป็นร้อยละ 49.10

 

จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดระนอง คิดเป็นร้อยละ 73.95 ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด และจังหวัดพระนครมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.66

 

อย่างที่บอกว่า การเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นที่สนใจของประชาชนมาก เพราะเหมือนกับว่าจะได้ไปสู่บรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จึงมีผู้คนสนใจลงเล่นการเมือง และตั้งพรรคการเมืองมากมาย

 

แม้แต่ทางคณะทหาร ก็ได้จับมือกับนักการเมืองจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พรรคสหประชาไทย" ส่วนพรรคฝ่ายค้านสำคัญ คือ "พรรคประชาธิปัตย์" ก็ได้ฟื้นพรรคขึ้นมา แต่ได้หัวหน้าพรรคคนใหม่ คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เพราะหัวหน้าพรรคคนเดิมนายควง อภัยวงศ์ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว

 

 

 

 

ผลคือที่สุด

 

 

ที่สุด หลังจากการเลือกตั้ง “พรรคสหประชาไทย” รวบรวมเสียงสมาชิกสภาสนับสนุนได้มากกว่าจึงได้จัดตั้งรัฐบาล มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

 

โดยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ต่อมาจนสภาถูกล้มโดยการยึดอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีและคณะทหาร ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

 

ทั้งนี้ พรรคนี้ได้ ส.ส.ทั้งหมด 74 คน ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดย นอกจากมี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค

 

 

การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญนาน 10 ปี

จอมพลถนอม กิตติขจร

 

 

 

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นหัวหน้าพรรค ได้ ส.ส.ทั้งหมด 55 คน

 

แต่การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครคือจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีพรรคประชาธิปัตย์สามารถได้ ส.ส.ทั้งหมด เป็นจำนวน 21 คน ทำให้เป็นแกนหลักในการเป็นพรรคฝ่ายค้าน

 

ขณะที่ผู้สมัครจากพรรคอื่นและผู้สมัครอิสระรวมกันเป็น ส.ส.ทั้งหมด 90 คน

 

ความสำคัญอีกอย่างของการเลือกตั้งครั้งนี้คืิ ได้มีนักการเมืองหน้าใหม่ลงเลือกตั้งหลายคน และในจำนวนนี้ก็เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองต่อมา

 

 

 

การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญนาน 10 ปี

นายชวน หลีกภัย ขณะปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดตรัง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งนายชวนลงสมัครเป็นครั้งแรก โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (ชุดขาว) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นั่งไขว่ห้างฟังอยู่ข้างล่าง

 

 

 

เช่น อุทัย พิมพ์ใจชน ต่อมาได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร, ชวน หลีกภัย ส.ส.จากจังหวัดตรัง ลงเลือกตั้งครั้งแรกและฮอตมากในขณะนั้น แถมต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

นอกจากนี้ยังมี พิชัย รัตตกุล ต่อมาเป็นอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 4 และ ประธานรัฐสภาไทยและ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน– 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

 

 

******************************

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ