วันนี้ในอดีต

16 ม.ค.2500 กำเนิด 'วันครู' ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กำเนิด 'วันครู' #วันนี้ในอดีต คอลัมน์วาไรตี้ประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่ความทรงจำ

 

 

******************************

 

คำว่า "ครู" เปรียบเหมือนพ่อแม่อีกคนของเรา เห็นจะจริงแท้

 

การที่หลายประเทศกำหนดให้มีวันที่ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม เรียกได้ว่าเรื่องการเฉลิมฉลองในวันครูมีต้นกำเนิดจากหลายประเทศในช่วงศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว

 

อย่างในประเทศไทย วันครูถือกำเนิดขึ้นมาจากดำริของ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่เป็นตำนานที่สุดคนหนึ่ง ท่านคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ครม.ของท่านได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของุทกปีเป็นวันครู และครั้งแรกที่ประเทศไทยมีการจัดงานวันครูเป็นครั้งแรก ก็คือวันนี้เมื่อ 63 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 16 มกราคม 2500 นั่นเอง

 

วันนี้เรามาทวนความจำถึงต้นกำเนิดของวันครูกันดีกว่า

 

 

 

ดำริจอมพล

 

 

ย้อนไปในท้องฟ้าประเทศไทยช่วงปี 2499 ช่วงนั้น แน่นอนถ้าถามในทางการเมืองแล้ว ต้องบอกว่ามีความวุ่นวายเป็นปกติ

 

ช่วงนั้นเป็นช่วงรอยต่อของความแตกแยก ระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น

 

โดยฝ่ายหลัง อย่างที่รู้กันว่า คือที่ค้ำอำนาจของรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม

 

 

 

16 ม.ค.2500  กำเนิด 'วันครู'  ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

 

 

ที่สุด ก็นำมาสู่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2500 ที่ได้ถูกตีตราว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์ จน่คนในยุคนี้หลายคนเรียกมันว่าเป็นเวอร์ชั่นต้นแบบของการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

 

แต่จะจริงแท้อย่างไรไม่ทราบ หันไปดูในภาคส่วนของสังคม ต้องบอกว่าคนไทยมีนายกรัฐมนตรีผู้ที่เจนจัดเรื่องอีเวนท์ หรือนวัตกรรมเชิงสังคมคนหนึ่งก็ว่าได้

 

จอมพล ป.พิบูล สงครามท่านได้สร้างสิ่งต่างๆ ไว้มากมาย ที่นับเป็นการกำหนดรูปแบบ กำหนดธรรมเนียมปฏิบัติที่ยังคงกระทำสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

16 ม.ค.2500  กำเนิด 'วันครู'  ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

 

 

เช่น การที่ท่านได้กำหนดการเลิกกินหมาก ให้ประชาชนสวมใส่รองเท้า ห้ามเปลือยท่อนบน ผู้หญิงเลิกโจงกระเบน แถมยังว่ากันว่าธรรมเนียที่สามีต้องจูบภรรยาก่อนออกจากบ้าน จอมพล.ป.ท่านก็กำหนดให้มีขึ้นเช่นกัน โดยผู้หญิงต้องสวมหมวกออกจากบ้านทุกคน ไม่งั้นโดนจับ เราจะเห็นมากในภาพยนตร์ย้อนยุค

 

อย่างคำว่า ‘สวัสดี’ ก็เพิ่งมาใช้กันในยุคจอมพล ป. นี่แหละ เช่นเดียวกับ ผัดไทยแสนอร่อยก็เกิดขึ้นในยุคของท่าน หรือธรรมเนียมการกำหนดให้ยืนเคารพเพลงชาติในเวลา 8.00 น. ก็เช่นกัน

 

แล้วถามว่าทำไมการกำหนดวันครู จึงจะไม่ใช้ผลงานของจอมพล ป. ผู้นี้

 

 

 

 

วันครูครั้งแรก

 

ต่อในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 คณะรัฐมนตรีในชุดของนายกรัฐมนตรีชื่อ จอมพล.ป.พิบูลสงคราม จึงได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครูแห่งประเทศไทย

 

โดยในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

 

“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์

 

เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

 

 

 

16 ม.ค.2500  กำเนิด 'วันครู'  ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

 

 

ที่สุดการจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ราชการเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

 

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้ 

 

กิจกรรมทางศาสนา 

 

พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

 

กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

 

 

16 ม.ค.2500  กำเนิด 'วันครู'  ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

 

แน่นอนกิจกรรมดังกล่าวยังดำเนินต่อเนื่องมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน และจะไม่มีการประกาศผลรางวัลสลากในวันนี้ด้วยนะจ๊ะผู้อ่าน ต้องพรุ่งนี้ 17 มกราคม 2563 จ้า

 

 

หมายเหตุ ท่านที่สงสัยว่าทำไมนายกฯ ท่านี้ถึงได้ฉายานายกฯ กระดูกเหล็กต้องอ่านนี่เลย 

 

 

16 ม.ค.2500  กำเนิด 'วันครู'  ดำรินายกฯ กระดูกเหล็ก

https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/301604

 

 

**********************************

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ