วันนี้ในอดีต

4 ธ.ค.2534 ลาก่อน 'แพนแอม'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจ้าแห่งท้องฟ้ายังมีวันล่มสลาย แพนแอม สายการบินผู้บุกเบิกเส้นทางบินผ่านมหาสมุทรแปซิฟิค ตั้งแต่ปี 2478 และผู้เคยได้ชื่อว่าสายการบินยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลก 

 

 

****************************

 

ถ้าพูดถึงสายการบินชื่อดังว่า “แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์” คนไทยอาจไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ถ้าพูดว่า “สายการบินแพนแอม” ก็จะต้องร้องอ๋อ เพราะสายการบินนี้ เป็นสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ นับแต่ช่วงปี 2470

 

 

4 ธ.ค.2534  ลาก่อน 'แพนแอม'

 

 

หากแต่วันนี้เมื่อ 28 ปีก่อน สายการบินแห่งนี้ก็มีอันต้องปิดตัวลงในวันที่ 4 ธันวาคม 2534 เหลือไว้เพียงชื่อ “แพนแอม” ในฐานะอดีตสายการบินที่ยิงใหญ่ และ บรรดาภาพยนตร์ ซีรี่ส์ และสารคดีที่มีไว้ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกศึกษาต่อ

 

วันนี้มารำลึกถึงสายการบินแพนแอมอีกครั้ง

 

 

ยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว

 

สายการบินแพนแอม ก่อตั้งในชื่อ "แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์" เป็นอดีตสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ สายการบินก่อตั้ง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2473 (ในชื่อแพนอเมริกันแอร์เวส์ (PAA) โดย ฮวน ที. ทริปป์ (Juan T. Tripp) เป็นผู้ก่อตั้ง โดยมีบริษัทแม่ คือ บริษัท แพนแอมคอร์ปอเรชัน สำนักงานตั้งอยู่ที่ นครนิวยอร์ค ไมอามี่ รัฐฟลอริด้า

 

เดิมทีแพนแอมนั้น นับเป็นสายการบินที่ขนส่งผู้โดยสารและจดหมายระหว่างคีย์เวสต์รัฐฟลอริดา กับฮาวานาประเทศคิวบา แต่ช่วงที่แพนแอมรุ่งเรืองสุดๆ ราวๆ ปี 2511 หรือในยุคของ ซีอีโอคนที่สอง ชื่อ แฮร์โรล อี เกรย์ แพมแอมบินโดยมีจุดหมายปลายทางถึง 86 ประเทศจาก 6 ทวีปทั่วโลก

 

 

 

4 ธ.ค.2534  ลาก่อน 'แพนแอม'

 

 

อย่างไรก็ดี สายการบินนี้มีซีอีโอหลายคน โดนนับจาก ฮวน ที. ทริปป์ คนแรก ซึ่งบริหารอยู่ตั้งแต่ปี 2478-2511 ต่อมาคือ Harold E. Gray บริหารอยู่ตั้งแต่ปี 2511-2512, Najeeb E. Halaby Jr บริหารอยู่ช่วงปี 2512-2514, William T. Seawell บริหารอยู่ช่วงปี 2514-2524, C. Edward Acker 2524-2531 Thomas G. Plaskett บริหารช่วงปี 2531-2534 และ Russell L. Ray, Jr. บริหารในปีสุดท้ย 2534 จนปิดกิจการในปีเดียวกัน

 

ตลอดมาในช่วงต้น สายการบินนี้ถูกยกย่องในด้านนวัตกรรมหลายอย่าง ในด้านอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศ โดยริเริ่มใช้เครื่องบินไอพ่นอย่างโบอิ้ง 707, อากาศยานลำตัวกว้างอย่างโบอิ้ง 747 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อเรื่องระบบสำรองคอมพิวเตอร์ และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ(IATA)

 

 

4 ธ.ค.2534  ลาก่อน 'แพนแอม'

โบอิ้ง  747

 

 

สัญลักษณ์ของสายการบินนี้คือลูกโลกสีน้ำเงิน มักใช้คำว่า “คลิปเปอร์” ในชื่ออากาศยานตัวอย่างเช่น คลิปเปอร์เมดออฟเดอะซี (Clipper Maid of The Sea) ชุดของนักบินเป็นชุดสีขาว

 

แพนแอมได้ชื่อว่าเป็นสายการบินผู้บุกเบิกเส้นทางบินผ่านมหาสมุทรแปซิฟิค ตั้งแต่ปี 2478 และผู้เคยได้ชื่อว่าสายการบินยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลก 

 

 

 

โศกนาฏกรรมทำพัง

 

แต่แล้ว แพนอเมริกันแอร์เวส์ ก็เหมือนโดนคำสาป โดยเฉพาะเรื่องราวของโศกนาฏกรรมทางอากาศหลายครั้ง

 

ครังแรกคือ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนรีเฟ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2520 เมื่อเครื่องบินโดยสารโบอิง 747 ของสายการบินแพนแอม และเคแอลเอ็ม ชนกันบนทางวิ่งของท่าอากาศยานลอสรอดีออส (ปัจจุบันคือท่าอากาศยานนอร์ทเตเนรีเฟ) ที่เตเนรีเฟ หมู่เกาะคะเนรีของสเปน เหตุการณ์นั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 583 คน นับเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน

 

 

4 ธ.ค.2534  ลาก่อน 'แพนแอม'

KLM Flight 4805 · Pan Am Flight 1736

 

 

 

โดยสายการบินแพนแอม เที่ยวบินที่ 1736 (โบอิง 747) ที่เดินทางมาจากลอสแอนเจลิสโดยแวะพักที่นิวยอร์ก และเครื่องบินของสายการบินเคแอลเอ็ม เที่ยวบินที่ 4805 ที่เดินทางมาจากอัมสเตอร์ดัม

 

ทว่า หมอกที่ลงจัดทำให้หอบังคับการบินมองไม่เห็นเครื่องบินทั้งสองลำ อีกทั้งเครื่องบินทั้งสองลำก็ไม่มีเรดาร์ภาคพื้นดิน ทำให้หอบังคับการบินไม่ทราบตำแหน่งและต้องใช้วิธีการสื่อสารแทน

 

ผลของการสื่อสารที่ผิดพลาดทำให้นักบินของเครื่องบินเคแอลเอ็ม ตัดสินใจบินขึ้นในขณะที่เครื่องบินของแพนแอมยังอยู่บนทางวิ่ง ทำให้เกิดการชนกันและระเบิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินเคแอลเอ็ม ทั้งหมด 248 คนเสียชีวิตส่วนผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินแพนแอมเสียชีวิต 335 คน บาดเจ็บ 61 คน รวมยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ 583 คน

 

ต่อมายังมี โศกนาฏกรรมช่วงเดือนกรกฎาคม 2525 โบอิ้ง 727 ของแพนแอมก็ตกลงผ่ากลางหมู่บ้าน ขณะบินขึ้นจากสนามบินนิวออร์ลีนส์ ผู้โดยสารเสียชีวิตอีก 153 ศพ

 

หรืออีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2531 โศกนาฏกรรมจัมโบ้เจ๊ท “โบอิ้ง 747” เที่ยวบิน 103 ของสายการบินแพนแอมระเบิดและตกที่หมู่บ้านล็อคเคอร์บี, สก็อตแลนด์ ทำให้ทุกคนบนเครื่อง 259 คนตายเหมาลำและชาวบ้านอีก 11 คนหายสาบสูญ

 

 

4 ธ.ค.2534  ลาก่อน 'แพนแอม'

Pan Am Flight 103

 

 

 

ทั้งหมดนี้หลายคนเชื่อว่าเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการบริหารที่ขาดทุน และสภาพการณ์ของการก่อการร้าย ทังหมด่ทำให้ภาพลักษณ์ของแพนแอมตกลงเรื่อยๆ จนกระทั่งขาดทุน และต้องปิดตัวลงในที่สุด เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2534

 

 

********************************

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ