วันนี้ในอดีต

18 พ.ย.2553 รู้ยัง "อังกะลุง" ไมใช่ของไทย เข้าใจตรงกันนะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อ 9 ปีก่อน กว่าจะรู้เรื่อง

 

************************

 

มั่นใจว่ายังมีคนไทยอีกหลายคนเชื่อว่า เครื่องดนตรีที่เรียกว่า “อังกะลุง” มีต้นกำเนิดที่สยามบ้านเราเอง หากแต่แท้จริงแล้ว เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดนี้ ซึ่งทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นั้น มีต้นกำเนินดที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่อินโดนีเซียต่างหาก

 

และวันนี้เมื่อ 9 ปีก่อน คือวันที่สงครามแย่งชิงอังกะลังระหว่าง อินโดนีเวีย และมาเลเซียก็จบลง เมื่อฝรัง่มังค่า เอ๊ย! องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินของโดนีเซียเป็นงานชิ้นเอกของมรดกมุขปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติและสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียและรัฐบาลอินโดนีเซียสงวนรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุงต่อไป

 

วันนี้ หลายคนอาจอยากรู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้มากขึ้น

 

ต้นกำเนิด

 

อย่างที่รู้ว่า อังกะลุงได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตินของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน โดยชาวเผ่าที่เรียกว่า “ซุนดา” เป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ

 

ทั้งนี้ ชาววุนดาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซียอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะ ชวา มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองรองจากคนชวา ภาษาหลัก คือ ภาษาซุนดา อาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดชวาตะวันตก (West Java) เช่น เมืองบันดุง เมืองการุต เมืองโบกอร์ เป็นต้น

 

 

 

18 พ.ย.2553  รู้ยัง "อังกะลุง"  ไมใช่ของไทย  เข้าใจตรงกันนะ

 

 

อังกะลุงและดนตรีอังกะลุงได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประชาคมชาวซุนดาในชวาตะวันตกและบันเติน การเล่นอังกะลุงในฐานะวงดุริยางค์ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานกัน เชื่อกันว่าจะส่งเสริมคุณค่าของการทำงานเป็นทีม การเคารพซึ่งกันและกัน และความกลมกลืนในสังคม

 

 

อังกะลุงในไทย

 

สำหรับบ้าน เราก็มีอังกะลุง หากเราไม่ใช่ต้นกำเนิดแรกเริ่มแค่นั้นเอง โดยนานแล้ว หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราวปี 2451 ครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดชขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเกาะชวา

 

อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา (อินโดนีเซีย) คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง

 

อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุงและราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

 

หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวงที่วัดราชาธิวาสในสมัยรัชกาลที่ 6

 

 

 

วงอังกะลุง

 

โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมักจะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1–2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ตเสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่าอังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมาก

 

นอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย เรียกว่า อังกะลุงราว

 

อังกะลุงอาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะหรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็ได้ มักพบในวงดนตรีของสถาบันการศึกษามากกว่าวงดนตรีอาชีพ

 

วงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้อย 7 คู่ หรือ 5 คู่ ก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงาน โดยจะมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ฉิ่ง,ฉาบเล็ก,กรับ,โหม่ง,กลองแขกนอกจากนี้มักมีเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น มีมากในเขตนนทบุรี

 

 

 

อังกะลุงของใคร?

 

อย่างไรก็ดี เมื่ออังกะลุงได้รับความนิยมแพร่หลาย แต่ละประเทศก็มีการดัดแปลงจนลดทอนอัตลักษณ์ความเป็นอังกะลุงของชนชาติในอินโดนีเซียไปพอสมควร จนกระทั่ง UNESCO ได้ประกาศให้อังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553

 

ว่ากันว่า สำหรับชาวอินโดนีเซีย นี่คือชัยชนะอีกครั้งในการฟ้องร้องแย่งสิทธิความเป็นเจ้าของสมบัติวัฒนธรรมชาติ

 

 

18 พ.ย.2553  รู้ยัง "อังกะลุง"  ไมใช่ของไทย  เข้าใจตรงกันนะ

 

 

 

และยังว่ากันว่า นี่ก็ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งเช่นกันที่แนวคิดเรื่องมรดกโลกทางวัฒนธรรมของ UNESCO ถูกบิดเบือนเพื่อสนองเป้าหมายทางการเมือง รวมทั้งเป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจนอีกครั้งถึงความล้มเหลวของ UNESCO ในการผลักดันแนวคิดเรื่องมรดกโลกทางวัฒนธรรมให้มีขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th)

 

ในอาเซียนเรา ยังมีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น  ท่าจีบ ท่ารำ หนังใหญ่ ของใคร ระหว่างไทย กัมพูชา , หรือ ข้าวลักซา (Laksa) นาซิ เลอมัก (NasiLemak) และ บักกุ๊ดเต๋ (BukKut The) ของใครกันแน่หว่างมาเลเซีย สิงคโปร์  หรือ ผ้าบาติก (Batik) ของใครกันแน่ๆ ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ

 

 

18 พ.ย.2553  รู้ยัง "อังกะลุง"  ไมใช่ของไทย  เข้าใจตรงกันนะ

NasiLemak

 

 

แต่ที่แน่ๆ สงครามระหว่าง อินโดนีเวียและ มาเลเวีย เรื่อง อังกะลุงของใครกันแน่ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ก็จบลงเสียทีเมื่อวันนี้ของ 9 ปีที่แล้ว

**********************************

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ