วันนี้ในอดีต

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์ ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อ 4 ปีก่อน

 

 

 

************************

 

วันนี้ในอดีต มีเรื่องราวของราชวงศ์ในต่างแดนมาฝากตามโอกาสเช่นเคย คราวนี้เป็นเรื่องราวของ พระนาง ซัยยิดาฟาฏิมะฮ์ อัชชะรีฟ พระราชินีในพระเจ้าอิดริสที่ 1 แห่งลิเบีย

 

ทั้งนี้พระนางเป็นสมเด็จพระราชินีเพียงพระองค์เดียวของลิเบีย ก่อนการปฏิวัติโดยพันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี ในปี 2512 ทั้งนี้พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระราชินีองค์สุดท้ายในแอฟริกาเหนืออีกด้วย

 

 

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์  ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

 

 

อย่างไรก็ดี พระนางนับเป็นผู้ที่มีพระชนมายุยืนยาว เพราะวันนี้เมื่อ 4 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม 2552 พระนางได้สรรคต ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ สิริรวมพระชนมายุได้ 98 พรรษา!

 

 

กำเนิดที่ลิเบีย

 

ก่อนจะเป็นควีน ฟาฏิมะฮ์ อัชชะรีฟ พระราชสมภพในปี 2454 ที่โอเอซิสแห่งคูฟรา หรือ ประเทศลิเบียในปัจจุบัน

 

พระนางเป็นพระธิดาพระองค์เดียว ใน ซัยยิดอะฮ์มัด ชะรีฟ อัซซานูซี อดีตผู้นำทางศาสนาของราชวงศ์ซานูซี กับเคาะดีญะฮ์ บินต์ อะฮ์มัด อัลริฟี ภรรยาคนที่สอง

 

พระบิดาของพระนางได้ทำการต่อต้านกองกำลังของเหล่าอาณานิคม จนในปี 2472 พระองค์ได้รับคำสั่งให้หนีออกจากลิเบียไปยังเขตแดนอียิปต์โดยใช้อูฐ

 

ต่อมาในปี 2474 ฟาฏิมะฮ์ได้อภิเษกสมรส กับ พระเจ้าอิดริสที่ 1 แห่งลิเบีย ซึ่งเป็นพระประยูรญาติ และผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำราชวงศ์ต่อจากบิดาของพระองค์ พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่เมืองซีวา

 

 

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์  ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

พระเจ้าอิดริสที่ 1 แห่งลิเบีย

 

 

แต่สิ่งที่น่าสะเทือนใจคือ หลังจากพระนางอุ้มพระครรภ์ 9 เดือน ในวัย 42 พรรษา ปี 2496 พระนางมีประสูติกาลพระบุตรพระองค์แรก แต่เพียงวันเดียวพระราชโอรสก็มาจากไป ซึ่งสิ้นพระชนม์เสียขณะที่มีอายุได้เพียง 1 วันเท่านั้น

 

แน่นอนเรื่องนี้คงไม่ต้องบรรยายความรู้สึก แต่ที่แน่ๆ หลังจากนั้นพระนางก็ไม่ทรงมีพระบุตรอีกเลย

 

 

 

พระราชินีเหนือเกล้า

 

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านั้น ในปี 2494 เมื่อพระเจ้าอีดริสเสด็จขึ้นครองราชย์ พระนางก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินีแห่งลิเบีย”

 

มีเรื่องเล่าว่า พระภาคิไนยคนหนึ่งของพระองค์ ได้ลอบสังหาร “อิบราฮิม เชลฮี” ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของพระราชสวามี เนื่องจากข่าวลือว่านายเชลฮีมั่นใจว่ากษัตริย์อิดริสจะทรงหย่ากับพระราชินี และกษัตริย์จะทรงสนพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับบุตรสาวของเขาแทน

 

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกษัตริย์อิดริสจึงดำเนินการลงโทษต่อพระภาคิไนยของสมเด็จพระราชินี

 

แต่ที่สุดกษัตริย์อิดริส ก็ทรงตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสใหม่ เพราะมีพระราชประสงค์ที่จะมีองค์รัชทายาทไว้สืบทอดราชบัลลังก์

 

กาลนั้น สมเด็จพระราชินีเองก็ทรงหาสตรีให้กษัตริย์อิดริสเลือกไว้ 2 คน ไปถวายสำหรับอภิเษกสมรส แต่กษัตริย์อิดริสกลับทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชั้นสูงชาวอียิปต์ชื่อ อาลียา อับเดล กอดีร์ ลัมลุม โดยอภิเษกสมรสกันในปี 2498 

 

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์  ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

 

 

แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น สมเด็จพระราชินีฟาฏิมะฮ์ก็ยังรักษาสถานภาพของการเป็นสมเด็จพระราชินี และมิได้หย่าร้างหรือถูกขับออกจากพระราชวังโตบรุก

 

นอกจากนี้ต่อมาพระราชสวามียังทรงมีพระชายาอีกถึง 2 พระองค์ คือ อะอิชะห์ อัลชารีฟ และ นาฟิซะห์ อัลกอซิม และมี พระราชบุตรรวม 6 พระองค์ แบ่งเป็นพระโอรส 5 พระองค์ และ พระธิดา 1 พระองค์

 

แต่ทั้งสองพระองค์ ราชาและราชินียังรับอุปการะเหล่าโอรส-ธิดาของพระประยูรญาติหลายพระองค์ รวมทั้งสุไลมา เด็กหญิงชาวแอลจีเรียที่บิดาของเธอเสียชีวิตจากการต่อสู้กับฝรั่งเศสอีกด้วย

 

ว่ากันว่า สมเด็จพระราชินีมีพระอารมณ์ขัน ปฏิภาณไหวพริบ และพระปรีชาสามารถที่จะทำให้ผู้อื่นผ่อนคลาย พระองค์จึงกลายเป็นแบบอย่างที่ดีของสตรียุคใหม่ชาวลิเบีย

 

ด้วยบทบาทพระราชินีของพระองค์ขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่งพระราชินี พระองค์ปราศจากเครื่องทรงฮิญาบแต่ทรงมีบทบาทในการเข้าร่วมพระกรณียกิจกับสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

การเมืองเปลี่ยนชีวิต

 

ที่สุด ลิเบียเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 พระองค์และพระสวามี จึงลี้ภัยไปประทับอยู่ในประเทศตุรกี 

 

ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ย้ายไปพำนักอยู่ในบ้านพักแห่งหนึ่ง ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ภายใต้การคุ้มครองของ “ญะมาล อับดุนนาศิร” ผู้นำอียิปต์ในขณะนั้น ว่ากันว่าในพระตำหนักมีราชองครักษ์มากมาย โดยทั้งสองพระองค์จะมีรายได้ 10,000 ปอนด์อียิปต์ต่อปี

 

 

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์  ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

พระนางในปี 2538

 

 

แต่กระนั้นก็ดี ระหว่างนั้น พระนางได้ได้พยายามขึ้นฟ้องต่อศาลประชาชนของลิเบีย ในเดือนพฤศจิกายน 2514 แต่กลับถูกพิพากษาให้ถูกจำคุก 5 ปี แถมทรัพย์สมบัติของพระองค์ก็ถูกยึดเป็นของรัฐ ระหว่างนั้นราวปี 2526 พระราชสวามีก็ทรงสวรรคตจากไป

 

หากต่อมาภายหลังได้มีการส่งมอบพระตำหนักส่วนพระองค์ในกรุงตรีโปลีคืนในปี 2550 เพียงแต่ 2 ปีหลังจากนั้น อดีตสมเด็จพระราชินีฟาฏิมะฮ์ก็ได้เสด็จสวรรคต จากไป เมื่อพระชนมายุได้ 98 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2552 

 

แต่ไม่ใช่ที่พระตำหนักส่วนพระองค์อันเป็นที่รัก หากเป็นที่กรุง ไคโร ประเทศอียิปต์ ดินแดนลี้ภัย และแม้แต่พระศพ ก็ยังถูกฝังไว้ที่สุสานฮัมซะฮ์อัลมะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และยังเป็นคนละที่กับพระราชสวามีที่ทรงถูกฝังไว้ที่ สุสาน อัล-บากียะห์เมดีนา ซาอุดีอาระเบีย

 

 

 

ควีนองค์สุดท้าย

 

ในส่วนที่กล่าวว่าพระนางเป็นราชินีพระองค์สุดท้ายแห่งทวีปแอฟริกาเหนือนั้น เหตุเพราะ ประเทศลิเบียเป็นประเทศสุดท้ายในทวีปแอฟริกาเหนือที่เปลี่ยนการปกครองระบอบกษัตริย์ไปเป็นอย่างอื่น

 

สำหรับประเทศในแอฟริกาเหนือนั้น ประกอบด้วย แอลจีเรีย,  อียิปต์, ลิเบีย, ซูดาน, ตูนิเซีย มอริเตเนีย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบกษัตริย์ และมีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

 

1. อียิปต์นั้น มีกษัตริย์องค์สุดท้าย คือ พระเจ้าฟูอัดที่ 2 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน แต่แล้วในปี 2495 พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติเนื่องจากการปฏิวัติอียิปต์ และการล่มสลายของราชอาณาจักร และจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐ

 

2. ซูดาน มี สุลต่านอาลี ดินาร์ สุลต่านแห่งดาร์ฟูร์ ปกครอง ภายหลังสวรรคตในสงครามการถูกผนวกโดยอียิปต์ ในปี 2459

 

3. ตูนิเซีย มีกษัตริย์องค์สุดท้าย คือ พระเจ้ามูฮัมหมัดที่ 8 อัล-อามิน กษัตริย์แห่งตูนิเซีย ภายหลัง สละราชสมบัติเนื่องจากการรัฐประหารโดย ฮาบิบ บัวร์กุยบา และทำการจัดตั้งสาธารณรัฐ ในปี 2505

 

และ 4. ลิเบีย ที่เพิ่งจบสิ้นระบอบกษัตริย์ในปี 2512 ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทั้งนี้เกิดจาการการล้มล้างราชอาณาจักรโดย พันเอก มูฮัมมาร์ กัดดาฟี ผู้ซึ่งภายหลังก็ถูกสังหารโดยกลุ่มต่อต้าน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 หลังครองอำนาจนานถึง 42 ปี 

 

 

กำเนิดที่ลิเบีย จุดจบที่อียิปต์  ชะตาชีวิต 'ควีนองค์สุดท้าย'

พันเอก มูฮัมมาร์ กัดดาฟี

 

***************************

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-7 แหล่งเรียนรู้ในราชวงศ์จักรี
-18 มิ.ย.2496 ปลด!ยุวกษัตริย์อียิปต์ หลังครองราชย์ 324 วัน
-จากเจ้าชายสุภาพบุรุษสู่จักรพรรดิผู้มุ่งมั่น
-อาร์ชี่จะไม่มีฐานันดรเท่าเจ้าชายจอร์จ
 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ