วันนี้ในอดีต

14 มิ.ย.2538 โศกนาฏกรรมหมู่ โป๊ะล่มพรานนก!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

  เมื่อผู้คนต่างทยอยเร่งรีบมารอลงเรือกันมากขึ้นๆ นับร้อย โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น และไม่ได้สนใจต่อตัวเลข ระบุจำนวนคนที่โป๊ะจะรับน้ำหนักได้!!

          วันนี้เมื่อ 23 ปีก่อน ได้เกิดเหตุการณ์ที่เศร้าสะเทือนใจคนไทยที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง

          นั่นคือ เหตุโป๊ะล่มที่ท่าน้ำพรานนก เมื่อวันที่ 14 มิ..2538 ขณะเรือด่วนเจ้าพระยา กำลังเข้าเทียบท่าที่ท่าน้ำพรานนก โป๊ะได้เกิดล่ม ทำให้ผู้โดยสารที่ยืนรออยู่ จมน้ำ บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนมาก

          เดือนมิถุนายน ของปี 2538 ท่ามกลางบรรยากาศหลังเปิดเทอมใหม่ได้ไม่นาน แต่ด้วยเป็นฤดูฝน วันนั้นจึงเป็นอีกวันที่สายฝนพร่างพรูลงมาแต่เช้าตลอดไปจนสาย ราวกับจะรู้ว่าข่าวร้ายกำลังคืบคลานเข้ามา

          แต่ผู้คนก็มิได้มีเวลาที่จะซึมซับ หรือกังวลกับช่วงเวลานั้น นอกจากต่างก็ตั้งหน้าตั้งตารีบเร่งไปทำหน้าที่ของตนตามวิถีแห่งชีวิต

          นอกจากการใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถตู้ สามล้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งขณะนั้นคน กทม.ยังไม่มีรถไฟลอยฟ้า หรือใต้ดินไว้ใช้

          แต่ยังมีอีกหลายคน ที่ใช้วิธีการสัญจรทางเรือ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาซ้ำซากจำเจ รถติดของกรุงเทพมหานคร

          โดยเฉพาะการใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา ที่ในสมัยนั้น มีต้นทางที่ท่าเรือ วัดราชสิงขร ถ.เจริญกรุง ไปสุดท้ายที่ท่าน้ำนนท์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทุบรี

          ด้วยเส้นทางที่ยาวไกล มีท่าเรือรองรับหลายจุด ให้ผู้คนสามารถขึ้นไปต่อรถได้สะดวก ผู้คนจึงนิยมใช้บริการของเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นจำนวนมาก

          แม้ในช่วงเวลาเร่งด่วน ผู้คนจะหนาแน่นบนเรือ จนต้องยืน แต่ก็ไม่ต้องผจญอาการหยุดนิ่ง ไม่รู้จุดหมายปลายทางเหมือนกับยืนอยู่บนรถโดยสารประจำทางบนถนน

14 มิ.ย.2538 โศกนาฏกรรมหมู่ โป๊ะล่มพรานนก!

          แต่แล้ว...ในวันที่ 14 มิถุนายน 2538 ซึ่งตรงกับวันพุธ วันนั้นกลับไม่เป็นเหมือนวันอื่นๆ แต่เป็นวันที่เหตุการณ์เลวร้ายที่สุดได้เกิดขึ้น

          เมื่อผู้คน กลุ่มที่ใช้บริการเรือด่วน ซึ่งเคยดำเนินชีวิตเหมือนเดิมทุกวัน ไปยืนรอเรือบนโป๊ะท่าน้ำพรานนก เหมือนเดิมทุกวัน

          แต่จะแตกต่างจากวันอื่นก็ตรงที่ วันนั้น ด้วยเพราะฝนตก การจราจรจึงติดขัดเข้าขั้นวิกฤติ ส่งผลให้ผู้คนหลั่งไหลมานั่งเรือด่วนกันจำนวนมาก

          จึงส่งผลตามมายังจำนวนผู้คนบนโป๊ะหลังนั้นที่แน่นขนัด จนมีสภาพจมลงไปยังน้ำแล้วในตอนนั้น แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ได้

          ที่สุด เมื่อผู้คนต่างทยอยเร่งรีบมารอลงเรือกันมากขึ้นๆ นับร้อยโดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น และไม่ได้สนใจต่อตัวเลขระบุจำนวนคนที่โป๊ะจะรับน้ำหนักได้ แค่ 60 คน

          เพราะต่างก็คิดถึงแต่จุดหมายปลายที่ตนเองต้องไปให้ถึงทันเวลาทั้งสิ้น...นั้น

          ปรากฏว่า ในที่สุด ขณะที่เรือด่วนกำลังเข้าเทียบท่า ก็เกิดการกระแทกกับโป๊ะอย่างแรง ทำให้โป๊ะเกิดล่มตกลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างรวดเร็วด้วยน้ำหนักของคนและน้ำหนักของน้ำที่ไหลเทเข้าไปเพิ่ม

          เหยื่อพยายามดิ้นรนเอาตัวรอด หากแต่หลังคาของโป๊ะกลับทำให้พวกเขาไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองว่ายขึ้นมาผุดให้พ้นน้ำได้ มีเพียงคนที่แข็งแรง และสติดีพอเท่านั้นที่จะสามารถช่วยเหลือตนเองออกมาได้

          ที่สุด ในท่ามกลางความตกใจ ความโกลาหล และเสียงหวีดร้องของผู้คนที่เห็นเหตุการณ์ ที่สุด ผู้คนที่แม้จะว่ายน้ำเป็น และว่ายน้ำไม่เป็นค่อยๆ จมดิ่งลง ส่งผลให้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

          ทั้งนี้ พบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กติดอยู่ใต้ตัวโป๊ะที่มีหลังคาคลุม โดยบางส่วนถูกกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากหลังคาโป๊ะดูด

14 มิ.ย.2538 โศกนาฏกรรมหมู่ โป๊ะล่มพรานนก!

ภาพจากผู้จัดการออนไลน์

          อนิจจาในจำนวนนั้นยังมีเด็กน้อยวัย 4 ขวบ ซึ่งภายหลังที่ทีมกู้ภัยได้ลงกันไปช่วย ได้งมร่างของเธอขึ้นมา ภาพของร่างอันไร้ลมหายใจของเด็กหญิงผมเปีย ในชุดนักเรียน และกระเป๋าเป้ของเธอ กลายเป็นภาพข่าวหน้าหนึ่งที่เศร้าสะเทือนใจคนไทยไปทั้งแผ่นดิน!!

          ขณะที่ความตกใจ ขวัญหนีดีฝ่อ และความโศกเศร้าไม่ทุเลาลง คนไทยยังมีอีกความรู้สึก นั่นคือความโกรธขึ้ง ต่อสาเหตุของการสูญเสียครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องของมาตรการรักษาความปลอดภัย

          ที่สุด หลังเกิดเหตุได้มีการปรับปรุงโป๊ะตามท่าเรือเจ้าพระยาต่างๆ โดยมีการออกมาตรการไม่อนุญาติให้คนลงไปรอที่โป๊ะจนกว่าเรือจะจอดเทียบโป๊ะแล้ว และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยทางด้านอื่นๆ มากขึ้น

          โดยเฉพาะอยา่งยิ่ง มีการนำหลังคาออกจากตัวโป๊ะทุกโป๊ะ เพระาสาเหตุหลักที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากมาจากการที่ต้องติดอยู่ภายใต้หลังคาโป๊ะที่เป็นแอ่งเว้าเข้าไป ทั้งยังมีกระแสไฟฟ้าภายในหลังคาอีก

          แต่อีกทางหนึ่ง ในเรื่องกฎหมาย ทางด้านญาติผู้เสียชีวิตได้ยื่นฟ้องบริษัท สุภัทรา จำกัด, บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร และ กรมเจ้าท่า เป็นจำเลยที่ 1-4

          ซึ่งทางบริษัทสุภัทรา และบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาได้ชดใช้ให้กับผู้เสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งจนมีการถอนฟ้อง เหลือเพียงกรุงเทพมหานครที่ต่อสู้คดีมาจนถึงชั้นศาลฎีกา

          กระทั่ง 19 กุมภาพันธ์ พ.. 2558 ศาลได้พิพากษาว่ากรุงเทพมหานครมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลท่าเรือให้เกิดความปลอดภัย แต่กลับประมาทเลินเล่อไม่ดูแล จนเกิดอุบัติเหตุขึ้น

          ศาลจึงมีคำสั่งให้ชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายจำนวน 12 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,616,241 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ฟ้องเมื่อปี พ.. 2539 ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่ากรุงเทพมหานครกระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวนั่นเอง

          หมายเหตุ ทุกวันนี้แม้ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยจะเข้มข้นมากขึ้น หากแต่ก็ยังไม่สามารถต้านทานฝูงชนที่มารอลงเรือบนโป๊ะได้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยรู้เห็นถึงเหตุการณ์อันน่ากลัวที่เคยเกิดขึ้น

          โดยมีผู้ใช้ในเวบไซต์พันทิป ได้ตั้งกระทู้บอกเล่าถึงบรรยาการที่นักท่องเทีย่วจำนวนมามารอลงเรือที่โป๊ะท่าน้ำ ตรงท่าช้าง โดยตั้งหัวกระทู้ว่า “ท่าเรือท่าช้าง น่ากลัวอุบัติเหตุมาก” ซึ่งมีภาพหลายภาพที่น่ากลัวจริงๆ สามารถกดลิงค์เข้าไปอ่านที่ลิงค์นี้ https://pantip.com/topic/34694338

          ก็ได้แต่หวังว่าเหตุการณ์เลวร้ายจะไม่เกิดขึ้นอีก!

       ////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

ท่าวังหลังและท่าพรานนก. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/่าวังหลังและท่าพรานนก

https://pantip.com/topic/34694338 โดย ผู้ใช้ชื่อ “ต้นเปรี้ยง”

ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ