ข่าว

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

" ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก" แสดงทัศนะผ่านการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ญี่ปุ่น โดยระบุว่า ปัญหาเฉพาะหน้าในขณะนี้คือวัคซีนโควิด19 กระจุกตัวอยู่กับคนบางกลุ่ม แทนที่จะกระจายไปอย่างยุติธรรม

 

 

โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) เป็นประธานการประชุมใหญ่ไอโอซี ครั้งที่ 138 วันที่ 2 ที่โรงแรมโอกุระ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่  21 กรกฎาคม  โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์ จากไทย  ซึ่งเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ในการประชุมครั้งนี้    ยังมี  ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลก (WHO)  ร่วมกล่าวเปิดในช่วงต้นของการประชุม  โดยผู้นำ"องค์การอนามัยโลก" ใช้เวทีการประชุมครั้งนี้แสดงทัศนะ ว่าด้วยวิกฤติโควิด19

 

 

 

 

 

คุณหญิงปัทมา ระบุว่า  ผู้อำนวยการ"องค์การอนามัยโลก" แสดงความยินดีกับ นักกีฬา เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก “โตเกียว 2020” และแสดงความชื่นชม ทั้งไอโอซี และเจ้าภาพญี่ปุ่น ที่ทำงานหนักร่วมกันมาตลอดในช่วงก่อนหน้านี้ โดยมีองค์การอนามัยโลก คอยให้คำแนะนำ เพื่อวางมาตรการป้องกัน กับวิกฤติโควิด19 ร่วมกัน

 

 

ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการ"องค์การอนามัยโลก" ชื่นชมญี่ปุ่นที่มอบความกล้าให้คนทั่วโลก ขอแสดงความเคารพให้ในเรื่องนี้ และขอแสดงความเคารพ ต่อนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูกะ และชาวญี่ปุ่นทุกคน ที่จัด “โตเกียว 2020” ซึ่งให้ความหวังและแสงสว่างกับผู้คนทั่วโลกว่าโอลิมปิกเกมส์ สามารถนำคนทั่วโลกมารวมกัน และทำให้คนทั่วโลกเกิดความสนใจร่วมกันได้

 

 

สถานการณ์โรคระบาด เป็นเรื่องที่ทำลายสังคมและเศรษฐกิจ ยิ่งโรคระบาดอยู่นานสิ่งต่าง ๆ ก็จะยิ่งแย่ลง ทั้งการกลายพันธุ์ก็จะมีมากขึ้น และรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าในเวลานี้ แม้แต่ในที่ที่สถานการณ์โรคระบาดจะดีขึ้นแล้ว แต่ในที่อื่นทั่วโลกสถานการณ์ยังเลวร้าย   และตราบใดที่โรคระบาดยังไม่หายไป ไม่มีทางที่จะปลอดภัย

 

 

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

 

 

องค์การอนามัยโลก มีเป้าหมายให้ทุกประเทศฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ภายในเดือนกันยายนนี้ แต่นอกเหนือจากวัคซีนแล้ว ระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับโควิด เพราะมาตรการเหล่านี้ ชี้ความเป็นความตายได้เลย  การที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันให้ปลอดภัยไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่เราเชื่อมั่นและหวังว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ทั้งไอโอซี และญี่ปุ่น วางแผนร่วมกันมาอย่างดีจะได้ผล ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นความเสี่ยง

 

 

ผู้คนทั่วโลกถามว่า โรคระบาดนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด มีคนเสียชีวิตไปแล้ว 4 ล้านกว่าคน และยังคงมีคนเสียชีวิตเพิ่ม ซึ่งยอดผู้เสียชีวิตปีนี้มากขึ้นเป็นเท่าตัวจากปีที่แล้ว และจะยังคงมีผู้เสียชีวิตอีกนับแสน ผู้คนเหนื่อยหน่ายกับหลาย ๆ เรื่อง ตอนนี้โรคระบาดเกิดขึ้นมา 19 เดือนแล้ว แต่เพิ่งมีวัคซีนได้ 7 เดือน ทั้งๆ ที่วัคซีนคือเครื่องมือที่ดีในการป้องกันโรคระบาด แต่ไม่ได้ใช้วัคซีนอย่างที่ควรจะเป็น เพราะวัคซีนกระจุกอยู่กับคนที่มีอภิสิทธิ์ ในขณะที่ยังมีผู้คนอีกมากในโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีน โดย 75 เปอร์เซ็นต์ ของวัคซีนถูกฉีดให้กับคนใน 10 ประเทศ เท่านั้น บางประเทศ ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศอื่น ๆ ยังไม่ได้รับวัคซีน

 

 

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

 

 

 

 

 

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

 

 

 

การตัดสินใจของเรา ถ้าไม่เพิ่มก็ลดความเสี่ยง แต่ไม่มีทางทำให้ความเสี่ยงหายไปได้ และไม่สามารถทำให้การติดเชื้อเป็นศูนย์ได้ สิ่งที่ทำได้คือเมื่อพบผู้ติดเชื้อแล้วสามารถตอบสนองได้รวดเร็วและติดตามการแพร่ระบาดของเชื้อ เป้าหมายของทุกประเทศไม่ใช่ศูนย์ราย แต่คือการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

 

 

 

รัฐบาลแต่ละประเทศต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการปกป้องชีวิตผู้คน และจัดระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก มีโครงการ โคแวคซ์ ที่ทำให้มีการแพร่กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ผ่านความร่วมมือ อีกฝ่ายหนึ่งที่สำคัญคือบริษัทผลิตวัคซีน กับความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจว่าวัคซีนจะมีเพียงพอ ในที่ที่ต้องการ เราต้องการฉีดวัคซีนอีก 1.1 หมื่นล้านโดส ซึ่งควรผลิตให้ได้ภายในปี 2022 ถ้าเป็นในปี 2023 จะช้าไป การผลิตมากขนาดนี้ต้องมีการแบ่งปันองค์ความรู้ ไม่เช่นนั้นจะหาผู้มาช่วยผลิตไม่ทัน

 

 

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

 

 

ฝ่ายสำคัญที่ 3 คือ ภาคประชาสังคม ที่ต้องออกมาช่วยกันสนับสนุน เรื่องการจัดหาวัคซีน ในอันที่จะช่วยทำให้เราถึงเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์ ในทุกประเทศภายในกลางปีหน้า และฝ่ายสุดท้าย คือประชากรของโลก ต้องแสดงความต้องการออกมาให้รัฐบาลและบริษัทวัคซีนฟัง  ต้องพูดเพื่อให้เกิดการปกป้องชีวิต

 

“ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้เปรียบเทียบการกระจายวัคซีนไปทั่วโลก กับคำขวัญโอลิมปิกใหม่ “faster higher stronger, together” หรือ “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า ด้วยกัน” ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ เราจำเป็นต้องกระจายวัคซีนให้เร็วขึ้น (faster) เราต้องให้มีจำนวนคนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น (higher) เราต้องแข็งแกร่งขึ้น ในการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อจะได้เพิ่มการผลิตวัคซีน (stronger) และเราต้องทำทุกอย่างนี้ร่วมกัน (together) พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ยังย้ำในตอนท้ายด้วยว่า ขอให้คบเพลิงโอลิมปิก เป็นสัญลักษณ์ของความหวังที่เดินทางไปทั่วโลก และขอให้ความหวังที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ทำให้สังคมโลกมีสุขภาพดีขึ้น และมีความยุติธรรมมากขึ้น” คุณหญิงปัทมา กล่าว

 

 

 

"องค์การอนามัยโลก"ใช้เวทีประชุมโอลิมปิกวิจารณ์ความล่าช้าผลิตวัคซีนสู้โควิด

 

CREDIT PHOTO 

https://twitter.com/iocmedia

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ