ข่าว

ศาลกีฬาโลกตัดสินให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งรายการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ มีผล 18 มิ.ย.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับคำตัดสินจากศาลกีฬาโลก ปมนักกีฬาไทยพัวพันสารต้องห้าม เมื่อปี 2018 โดยล่าสุด เปิดทางให้ไทยสามารถส่งนักกีฬากลับเข้าสู่การแข่งขันได้มีผล ตั้งแต่ 18 มิ.ย. เว้นแต่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโอลิมปิก

นิพนธ์ ลิ่มบุญสืบสาย ประธานคณะทำงานกฎหมายระหว่างประเทศ สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า  ตามที่ สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ทำเรื่องอุทธรณ์ ให้กับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ยกน้ำหนักไทย ต่อ ศาลกีฬาโลก ที่ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 หลังจากเกิดข้อพิพาท ระหว่าง สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กับ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ

 

ทั้งนี้ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ  ได้ออกบทลงโทษ โดยห้ามบุคลากรของสมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ ยุ่งเกี่ยวกับสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ เป็นเวลา 3 ปี และห้ามนักกีฬาอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงรุ่นทั่วไป ลงแข่งขันในรายการระดับนานาชาติ เป็นเวลา 5 เดือน และ 11 เดือน ตามลำดับ นับตั้งแต่รายการแรกที่จะจัดในอนาคต รวมทั้งจะต้องเสียค่าปรับ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.4  ล้านบาท


บทลงโทษดังกล่าวมาจาก  การตรวจพบว่า  นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทยมีสารต้องห้าม จากการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2018  ( 2561)  ที่ประเทศเติร์กเมนิสถาน  ซึ่งขณะนี้มีคำตัดสินที่ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว จากคณะอนุญาโตตุลาการของศาลกีฬาโลก ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 (ตามวัน/เวลาท้องถิ่น)

ทั้งนี้ภาพรวม แบ่งได้เป็น 3 ภาคส่วน  ส่วนที่ 1 นักกีฬายกน้ำหนักระดับยุวชน สามารถกลับเข้าไปแข่งขันในรายการระดับนานาชาติของ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ได้แล้ว เพราะโทษห้ามเข้าร่วมการแข่งขัน หมดไปตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563  สำหรับนักกีฬายกน้ำหนักในระดับนอกเหนือข้างต้น คือ เยาวชน และประชาชน สามารถกลับเข้าไปร่วมการแข่งขันได้

 

หลังจากวันที่ 18 มิถุนายน 2564 แต่ถ้าหาก ต้องการกลับเข้าไปแข่งขันนานาชาติของ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ในทันที  ทางสมาคมฯ จะต้องชำระเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐห รือประมาณ 6.4  ล้านบาท ให้ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ไม่สามารถเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก  หรือ โตเกียว 2020  

 

ส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่ทางเทคนิค ที่จะไปเป็นผู้ตัดสินหรือกรรมการตัดสินนานาชาติ สามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้ในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข   และ  ส่วนที่ 3 สำหรับสมาคมฯ เอง จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2566 โดยไม่มีสิทธิในจัดการแข่งขัน จัดประชุมคองเกรส ,

 

จัดประชุมกรรมการบริหาร, จัดประชุมกรรมาธิการและกรรมการชุดอื่นใดได้,ไม่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมคองเกรส หมายรวมถึงการออกเสียง ไม่มีสิทธิในการยื่นหรือเสนอญัตติ และวาระต่าง ๆในการประชุมคองเกรส และไม่มีสิทธิเข้าร่วมและรับสิทธิประโยชน์จาก IWF Development Program ยกเว้น การศึกษากับเข้าอบรมในเรื่องการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา

 

อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลกีฬาโลก ได้เปิดช่องให้ระยะเวลาการถูกจำกัดสิทธิ์ของสมาคมฯ นั้น สามารถกระชับหรือย่อขึ้นมาได้ประมาณ 1 ปี โดยให้ไปสิ้นสุดได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2565 (จากวันที่ 1 เมษายน 2566) เพียงสมาคมฯ ชำระเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6.4 ล้านบาท  พร้อมกันนี้ สมาคมฯ จะต้องแสดงถึงเจตนารมณ์พร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์ ของการปฏิบัติที่เป็นจริงในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ที่สอดคล้องเป็นไปตามประมวลมาตรฐานของ องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก หรือ WADA   โดยให้ชุดคณะทำงานของ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรรมการอิสระจากภายนอก มาติดตามผลการปฏิบัติงานของสมาคมฯ

ศาลกีฬาโลกตัดสินให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งรายการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ มีผล 18 มิ.ย.

 

ศาลกีฬาโลกตัดสินให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งรายการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ มีผล 18 มิ.ย.

 

ศาลกีฬาโลกตัดสินให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งรายการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ มีผล 18 มิ.ย.

 

ศาลกีฬาโลกตัดสินให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าแข่งรายการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ มีผล 18 มิ.ย.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ