คอลัมนิสต์

"หม่อมเต่า" ลาออก..หน.พรรค รปช. พอแล้วหรือ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เจาะประเด็นร้อน...."หม่อมเต่า" ลาออก..หน.พรรค รปช. พอแล้วหรือ

“เรื่องแรงงาน เราพร้อมดูแล”

แคมเปญนี้ของกระทรวงแรงงาน ถูกโซเชียลโจมตีอย่างหนัก หลังผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมนุษย์เงินเดือน ที่ถูกเลิกจ้างเนื่องมาจากมาตรการของรัฐ เพื่อลดการการแพร่ระบาดของชเื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้สถานประกอบการต้องปิด หรือเลิกกิจการเป็นจำนวนมาก

อ่านข่าว : ่ดวงฤทธิ์ ่ แจงประกันสังคมจ่ายชดเชยโควิดแล้วกว่า 1.2ล้านคน

แรงงานนับล้านที่ตกงาน มีชีวิตที่ยากลำบาก บางคนต้องกินข้าวคลุกน้ำปลาเพื่อประมังชีวิต แต่ลึกๆ แรงงานรอคอยความหวังจะได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงแรงงาน จากสำนักงานประกันสังคม หลังคณะรัฐมนตรีมีมติให้แรงงานได้รับเงินชดเชยร้อยละ 62 ของเดือน

ระหว่างรอคอย แต่ชีวิตแรงงานไทยยามวิกฤติโควิดยังต้องกินต้องใช้ เงินที่ถูกหักแต่ละเดือนชนิดที่ไม่ต้องแจ้งผู้ประกันตนล่วงหน้า ก็หวังว่าในยามยากลำบากเงินก้อนนี้จะมาเติมเต็มต่อชีวิตเพื่อรอวันใหม่ รอวันที่โควิดจางหาย รอวันที่ภาคธุรกิจกลับมาฟื้นตัว สถานประกอบการเตินเครื่องเต็มสูบ

ม็อบแรงงานจากพิษโควิต บุกสำนักงานประกันสังคม(สปส.)กระทรวงแรงงาน หลายครั้งเพื่อทวงถามสิทธิ์ที่พึงจะได้รับ ว่าทำไม?? ยื่นเรื่องตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคมทุกอย่าง แต่ยังไม่ได้รับเงินแทนว่างงาน บางคนรอนานร่วม2-3 เดือน 

ความวุ่นวาย และความไม่พอใจของผู้ประกันตนมีมากขึ้น ขณะที่กระทรวงแรงงานทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการ ออกมาแก้ต่างว่าไม่เกิน วันที่ 7 พ.ค.นี้ได้เงินชดเชยครบ เมื่อถึงวันนัด ก็ถูดโบ๊ยเลื่อนเป็นวันที่ 15 พ.ค. แทน แต่ในที่สุด“ก็ยังไม่ได้เงิน”

โซเชียลหวดกระทรวงแรงงานซ้ำหนัก ด้วยความไม่พอใจ ในการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า

เงินชดเชยไม่อยากจ่ายยังมีหน้าจะมาขึ้นเงินสบทบ

ยุบไปเถอะประกันสังคม ไม่ได้มีประโยชน์กับผู้ประกันตนเลย

นั่งรอตรวจสอบที่ยื่นเหตุสุดวิสัยไว้ พท.6 ได้คิว 62 เพิ่งเรียกถึง 31 ทำงานช่องเดียว ทำไมไม่บริหารจัดการเจ้าหน้าที่ให้มากกว่านี้

ฯลฯ

15 พ.ค. 2563 “ดรา๊ฟ” ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ออกมายืนยันผ่านเพจสำนักงานประกันสังคม ผ่านรายการ สายด่วนประกันสังคม แจ้งข่าวดี สำนักงานประกันสังคม เรื่องการหักเงินสมทบ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับนายจ้างและลูกจ้าง มีมาตการลดอัตราจ่ายเงินสมทบลูกจ้างจากร้อยละ5 เหลือร้อยละ 1 ส่วนนายจ้างจากเดิมจ่ายสมทบร้อยละ 5 เหลือ 4 ลูกจ้างประกันตนตามมาตรา ม.33

“18 พ.ค.นี้ รมว.แรงงานยืนยันแล้วว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เมื่อหลักฐานเอกสารครบ จะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ กันครบทุกคน”

แต่ทุกอย่างเป็นแค่ลมปาก  เมื่อแรงงานที่ถูกเลิกจ้างอีกเป็นจำนวนมาก ยังไม่ได้รับการดูแล 

“หม่อมเต่า”ยอมรับ3ข้อผิดพลาด

21พ.ค. 2563 จากมาตรการการจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือลูกจ้างหรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ประสบปัญหาในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ล่าช้ากว่า “หม่อมเต่า” ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกมายอมรับข้อผิดพลาดสาเหตุจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตนตาม ม.33 ได้รับผลกระทบจากโควิด-19ล่าช้า เกิดจากความไม่พร้อมหลายด้าน โดยเฉพาะฐานข้อมูล-นายจ้าง-คอมพิวเตอร์ พร้อมยืนยันประกันสังคมมีเงินพอจ่ายทุกคนในระบบ 

กระแสความไม่พอใจ การทำงานของ“หม่อมเต่า”ถูกส่งต่อถึง แกนนำพรรค “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ “พรรครวมพลังประชาชาติไทย” หรือรปช.ที่ “หม่อมเต่า” นั่งเป็นหัวหน้าพรรค ท่ามกลางกระแสข่าวจะปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอาชา นายกรัฐมนตรี 

16 มิ.ย.2563 “หม่อมเต่า”ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย ท่ามกลางกระแสข่าวผู้ที่จะมานั่งหัวหน้าพรรค รปช.คนใหม่ มีทั้ง “ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์” กรรมการบริหารพรรค รปช.  และ “หมอวรงค์” นพ.วรงค์ เดชวิกรม ประธานเจ้าหน้าที่พรรครปช. แต่ล่าสุด “หมอวรงค์” ออกตัวปัด นั่งตำแหน่งแทน“หม่อมเต่า ”แล้ว 

อ่านข่าว: รปช. แถลง ส่ง ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นั่ง รมว.แรงงานแทน หม่อมเต่า

ว่ากันว่า กระแสในพรรคลุงกำนันตก หลังกระทรวงแรงงานแก้ไขปัญหาแรงงานล่าช้า จนนำไปสู่การประเมินการทำงานของ “หม่อมเต่า” และเหล่านี้ได้สร้างแรงกดดันให้ “รมว.แรงงาน” ตามที่ปรากฏผ่านสื่อ

ถึงวันนี้ ถามว่า “หม่อมเต่า” ลาออก..หน.พรรค รปช.พอแล้วหรือ   เมื่อบทบาทและภารกิจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานนั้น ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ และฉับไวใน การแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติ

จะดีกว่ามั๊ยหากเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารรถ เป็นที่เป็นที่ประจักษ์ มีความฉบับไว เข้าใจปัญหาแรงงาน ได้เข้ามาบริหารจัดการเพื่อช่วยเหลือ หรือประกอบประคอง ให้คนที่กำลังจมดิ่งอยู่ในความทุกข์ ให้ก้าวข้ามวิกฤติชาติโดยเร็วที่สุด

  กมลทิพย์ ใบเงิน เรียบเรียง 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ