คอลัมนิสต์

22 พ.ค.มาแล้ว ต้านรัฐประหาร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

22 พ.ค. ครบรอบ 6 ปีแห่งการยึดอำนาจ โดยกลุ่ม 3 ป.  ขบวนการนักศึกษายุคดิจิตอล ได้ฤกษ์รวมพลส่งสัญญาณ "การต่อต้านเป็นหน้าที่" นับหนึ่งไล่ประยุทธ์

++
          ขบวนการแฟลชม็อบ ยังมีเชื้อไฟ ไม่ได้มอดดับไปกับกระแสโควิดระบาด เมื่อนิสิตนักศึกษายุคดิจิตอล ได้รวมตัวจัดตั้งองค์กรกลาง และผนึกกำลังจัดกิจกรรมออนไลน์ต่อเนื่อง


          นับแต่เกิดการรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค.2557 นักศึกษากลุ่มแรกที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารคือ "ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย" (ศนปท.) ด้วยการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์

 

 

22 พ.ค.มาแล้ว ต้านรัฐประหาร

 


          ปี 2558 กลุ่มนักศึกษาจากหลายสถาบันมารวมกันใน "ขบวนการประชาธิปไตยใหม่" (NDM) โดยมีกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ,กลุ่มดาวดิน ม.ขอนแก่น และกลุ่มเสรีนนทรี ม.เกษตรศาสตร์ เป็นกลุ่มแกนนำ จัดการประท้วงต้าน คสช.


          ปี 2559 ภายในขบวนการประชาธิปไตยใหม่ มีความแตกแยกทางความคิด จึงมีการตั้งองค์กรใหม่ "กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย" (DRG) เป็นแกนนำขับเคลื่อนต่อต้านเผด็จการ โดยใช้กลุ่มเฉพาะกิจ “คนอยากเลือกตั้ง”


          ปี 2561 เมื่อนักกิจกรรมรุ่นพี่ไปตั้งพรรคอนาคตใหม่ กลุ่มนักศึกษารุ่นน้องได้จัดตั้ง "สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย" (สนท.) ขึ้นมา
          ปี 2563 กลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เคยจัดแฟลชม็อบจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้รวมตัวกันตั้ง "เครือข่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษาเคียงข้างประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" (คนป.)


          วันที่ 22 พ.ค.2563 ครบรอบ 6 ปีแห่งการรัฐประหาร กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย(DRG) จึงเป็นแม่งานจัดเสวนาออนไลน์ "เมื่อเกิดรัฐประหาร การต่อต้านจึงเป็นหน้าที่" 


          โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ธนพล พันธุ์งาม กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย, ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา กรรมการกลางสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนท.), กันตา รัตนวงษ์ สมาชิกเครือค่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา เคียงข้างประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (คนป.) และปิยรัฐ จงเทพ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธ์ พรรคอนาคตใหม่

 

 

22 พ.ค.มาแล้ว ต้านรัฐประหาร

 

          มิเพียงแต่การตีแผ่ความเลวร้ายของระบอบเผด็จการทหาร หากแต่ยังเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนท่ามกลาง สถานการณ์ COVID-19 รวมถึงภายหลังโควิดหาย จะเคลื่อนกันต่อไปอย่างไร


          "เป็นการสร้างความตื่นตัว เตรียมความพร้อมให้กับคนในสังคมที่ไม่พอใจในระบอบรัฐประหาร และการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล คสช. สมัยที่ 2" รวมไปถึงการขับเคลื่อนในประเด็นการแก้ไข และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วม


          กิจกรรมเสวนาออนไลน์ของ 3 องค์กรคือ การนับหนึ่งต่อต้านรัฐบาล คสช. สมัยที่ 2 สมกับคำขวัญเชิงยุทธวิธี “โควิดหาย ไล่ประยุทธ์”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ