คอลัมนิสต์

อนาคตใหม่ สู้ทุกประตู

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อนาคตใหม่ สู้ทุกประตู คอลัมน์... เกาะขอบรั้วสภา

 

 


          พรรคอนาคตใหม่กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ยากลำบากอีกครั้ง ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยในคดียุบพรรควันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึงจะรู้ว่าตกที่นั่งลำบาก แต่ด้านหนึ่งก็ยืนหยัดสู้คดีอย่างเต็มที่

 

 

          ล่าสุดได้ยื่นหนังสือไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้เปิดการไต่สวนอย่างเปิดเผยอีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยยกคำร้องนี้มาแล้ว แต่คำร้องของพรรคอนาคตใหม่ที่ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งนั้นพรรคได้มีการยกเหตุผลใหม่ขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ


          กล่าวคือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำบันทึกถ้อยคำของพยานจำนวน 17 ปากภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พรรคไม่อาจสามารถดำเนินการได้ทัน เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ซึ่งระหว่างนั้นเป็นวันหยุดราชการถึง 3 วัน ทำให้มีปัญหาในการจัดทำบันทึกถ้อยคำของพยานบางคนที่เป็นเจ้าหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งพยานบางส่วนที่พรรคอนาคตใหม่อ้างขึ้นมา ต่างเป็นพยานที่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการเรียกเข้ามาเป็นพยานในชั้นศาลด้วย ดังนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้พรรคอนาคตใหม่จึงมีความประสงค์ให้ศาลรัฐธรรมนูญเปิดศาลไต่สวนเป็นการเปิดเผย เพื่อเรียกพยานเหล่านี้มาให้ข้อมูลในชั้นศาล


          อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอวันชี้ชะตาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่จะมาถึง พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆ เท่านั้น เพราะ ‘ปิยบุตร แสงกนกกุล’ เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ยืนยันระหว่างนี้พรรคยังคงทำงานในสภา และเตรียมตัวและความพร้อมสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์




          นอกเหนือไปจากเรื่องคดียุบพรรคที่พรรคอนาคตใหม่กำลังติดตามอย่างต่อเนื่องแล้ว ปรากฏว่าพรรคอนาคตใหม่ก็ยังคงเดินหน้าเกาะติดเรื่องการเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรอยู่เป็นระยะ ล่าสุด ‘ธีรัจชัย พันธุมาศ’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะผู้เสนอญัตติต่อที่ประชุมสภาเพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบ เรียกร้องทำนองกดดันให้ ‘ชวน หลีกภัย’ ประธานสภา เร่งรัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องด่วน เนื่องจากเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน แต่ดูประธานสภายังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก


          จากเสียงเรียกร้องตรงนี้ทำให้ ‘สุกิจ อัถโถปกรณ์’ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องออกมาชี้แจงเรื่องนี้ว่า เนื่องจากญัตติดังกล่าวไม่เข้าองค์ประกอบของการเป็นญัตติด่วนทำให้ต้องบรรจุเข้าสู่การประชุมสภาเป็นญัตติปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากหลายฝ่ายแล้ว ดังนั้น การออกมากล่าวหาประธานสภาไม่มีความเป็นกลางจึงไม่ถูกต้อง


          ปิดท้ายด้วยการทำงานของคณะกรรมาธิการที่น่าสนใจ อย่างคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้พิจารณาความคืบหน้าโครงการชิมช้อปใช้ในการจ่ายเงิน โดยคณะกรรมาธิการได้มีข้อเสนอ 3 ประการ ประกอบด้วย 1.ภาครัฐต้องมีความชัดเจนในการเยียวยาประชาชนผู้สุจริตที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ภายใต้กรอบเวลาที่ชัดเจนและต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริต และ 2.ภาครัฐควรนำผลประเมินความคุ้มค่าของโครงการมาพัฒนาและปรับแผนการดำเนินโครงการในเฟสสี่ เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ