คอลัมนิสต์

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประมวลข่าวเด่นรอบปี2562 ... 2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง บายไลน์ / ทีมข่าวการเมือง เครือเนชั่น

           “24 มีนาคม 2562” คือวันเลือกตั้งส.ส. โดยเป็น ส.ส.เขต 350 คน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คน รวม 500 ชีวิตที่ต้องทำงานในฐานะผู้แทนราษฎรหลังจากที่คสช.ยึดอำนาจมา 5 ปี
          รัฐธรรมนูญฉบับ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ที่บัญญัติมาตราต่างๆ ไว้เพื่อปราบโกงนั้น แต่ “ใครบางคน” ในพรรคพลังประชารัฐแสดงความเห็นว่า “กติกาหลักฉบับนี้ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา” นั้น...มันแปลความเป็นอื่นมิได้ว่า กติกาหลักของประเทศฉบับที่ 20  ออกแบบมาเอื้อให้พรรคที่หนุน ”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” อดีตหัวหน้าคสช.ให้คัมแบ็กทางการเมืองได้โดยเป็นหนึ่งเดียวในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพปชร. ที่ถูกส่งเข้าประกวด โดยหวังผลคะแนนของส.ส.500 คน และส.ว.250 คนเป็นผู้ลงมติ
 

          ตอนนั้นพรรคการเมืองจำนวนมากส่งผู้สมัครส.ส.เข้าชิงชัย สีสันการหาเสียงแบ่งฝ่ายชัดแจ้งว่า “ฝ่ายหนุนลุงตู่กับฝ่ายไล่ลุงตู่” โดยให้สังคมเลือกว่า “จะให้ใครเข้าไปทำหน้าที่ สร.1" และเมื่อผลการเลือกตั้งออกมา ส.ส.ระบบเขต 350 คนไม่น่ามีปัญหาเพราะแข่งกันเอาเขตละหนึ่งคน แต่ก็มีการถกเถียงกันมากมายเรื่องการคำนวณส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ว่าควรยึดสูตรใดกันแน่..
       การประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ “เอกฉันท์” ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ในการคำนวณหาจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของกกต. เป็นไปตามมาตรา 129 ของ พ.ร.ป. ฉบับเดียวกัน

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
        “คณิตศาสตร์การเมือง” ตามที่ กกต. เลือกใช้ คิดจากฐานคะแนนมหาชน (ป๊อปปูลาร์โหวต) ของ 74 พรรคการเมือง รวมกัน 35,441,920 เสียง นำมาคำนวณหาจำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ โดยจะพบว่าส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน ต้องได้คะแนน 71,168.5141 เสียง
         ตอนนั้นพรรคที่มีส.ส.พรรคละ 1 ที่นั่งจำนวน 13 พรรค ประกอบด้วย พรรคพลังชาติไทย, พรรคประชาภิวัฒน์, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคพลังไทยรักไทย, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชานิยม, พรรคประชาธรรมไทย, พรรคประชาชนปฏิรูป, พรรคพลเมืองไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคพลังธรรมใหม่, พรรคไทรักธรรม และพรรคพลังปวงชนไทย

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
        จะพบว่าหลายพรรคคะแนนไม่ถึงโอกาสที่กกต.เปิดให้ทางรับสิทธิส.ส.พึงมีได้ แต่...กกต.เปิดทางให้พรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการมี “ส.ส.พึงมีได้” 1 คน มีโอกาสได้รับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน ด้วยการปัดเศษทศนิยม ทำให้ “พรรคจิ๋ว” เข้ารัฐสภาถึง 11 พรรค โดยพรรคที่ได้คะแนนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยส.ส.พึงมี 71,168.5141 คะแนน จำนวน 11 พรรค ประกอบด้วย ประชาภิวัฒน์ ไทยศรีวิไลย์ พลังไทยรักไทย ครูไทยเพื่อประชาชน ประชานิยม ประชาธรรมไทย ประชาชนปฏิรูป พลเมืองไทย ประชาธิปไตยใหม่ พลังธรรมใหม่ และไทรักธรรม
         ขณะที่ “เพื่อไทย” เป็นพรรคการเมืองเดียวในสภาที่หมดสิทธิได้รับโควตา ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เนื่องจากส.ส.ระบบเขตเข้ารัฐสภาได้เกินกว่าจำนวน “ส.ส.พึงมีได้” แล้ว

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง         สรุป ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคอนาคตใหม่ 50 คน พรรคประชาธิปัตย์ 19 (ปัดเศษได้เพิ่มหนึ่งคน รวมยี่สิบคน) พรรคพลังประชารัฐ 18 คน (ปัดเศษได้เพิ่มหนึ่งคน รวมสิบเก้าคน) พรรคภูมิใจไทย 12 คน พรรคเสรีรวมไทย 10 คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 คน พรรคเพื่อชาติ 5 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 4 คน พรรครวมพลังประชาชาติไทย 4 คน พรรคชาติพัฒนา 2 คน พรรคพลังท้องถิ่นไทย 3 คน พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 คน พรรคประชาชาติ 1 คน พรรคพลังปวงชนไทย 1 คน คะแนนถึงเกณฑ์ที่มีส.ส.พึงมีได้ พรรคพลังชาติไทย 1 คน คะแนนถึงเกณฑ์ที่มีส.ส.พึงมีได้

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง        พรรคจิ๋วมีที่นั่งส.ส.บัญชีรายชื่อในสภาพรรคละ 1 คน โดยได้คะแนน 3.3 หมื่น-6.8 หมื่นเสียง คือพรรคประชาภิวัฒน์, พรรคพลังไทยรักไทย, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคประชานิยม, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชาธรรมไทย, พรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งต่อมายุบพรรคไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ, พรรคพลเมืองไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทรักธรรม

           แต่สุดท้ายพรรคไทรักธรรมโดนตัดปาร์ตี้ลิสต์ออก เพราะวันที่ 26 พ.ค.2562 มีการเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 8 เชียงใหม่ ซึ่งผลการเลือกตั้งมีการนำคะแนนมาคำนวณเพื่อหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ และจากการประกาศผลการคำนวณสัดส่วนบัญชีรายชื่อใหม่ในครั้งนี้ ได้ประกาศ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ทำให้ "พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค “ได้พ้นสภาพการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ หลังจากปฏิบัติหน้าที่ในสภาได้เพียง 3 วัน

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
             เมื่อผลโดยรวมส.ส.ทั้งสองระบบออกมาพบว่าพรรคเพื่อไทยคว้าอันดับหนึ่งด้วยกำลังพล 135 ส.ส. ส่วนพรรคพลังประชารัฐ มีส.ส.ในลำดับที่สองด้วยจำนวน 117 ส.ส. และเพิ่มมาอีก 1 เก้าอี้ จากการเลือกตั้งซ่อมเขต 7 ขอนแก่น เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562 โดยผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครหมายเลข 2 นายสมศักดิ์ คุณเงิน พรรคพลังประชารัฐ ได้ 40,252 คะแนน ส่วนหมายเลข 1 นายธนิก มาสีพิทักษ์ พรรคเพื่อไทย ได้ 38,010 คะแนน มีคะแนนส่วนต่าง 2,242 คะแนน ขณะที่พรรคอนาคตใหม่ เป็นอันดับที่สามด้วยตัวเลข 80 ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีส.ส.53 คน พรรคภูมิใจไทยที่มี 51 ผู้แทนราษฎร แม้ยังต้องรอผลอีก 2 เก้าอี้ในการเลือกตั้งซ่อม จ.กำแพงเพชร และ จ.สมุทรปราการ

     อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :เปิดผลวิจัยเลือกตั้ง 24 มี.ค. ปัญหาสารพัด

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
         แต่สิ่งที่สังคมประหลาดใจคือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งหลายครั้ง (2544-2562 พรรคสีฟ้าครองอันดับ 2 มาตลอด) คราวนี้รูดมาอยู่อันดับที่ 4 และมีส.ส.53 เสียงเท่านั้น จนทำให้ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค เพราะพรรคสีฟ้าแพ้หลายสิบเขตโดยเฉพาะการสูญพันธุ์ในเมืองหลวง ด้วยเหตุที่ก่อนหน้านั้นคลิปที่อภิสิทธิ์เผยแพรว่า "ไม่เอาประยุทธ์” นั้น น่าจะช่วยปลุกกองเชียร์ให้มากาแต้มให้ แต่ความจริงมันไม่ใช่แบบที่อภิสิทธิ์หวังไว้ และต่อมาในวันที่ลงมติเลือก สร.1  อภิสิทธิ์แถลงลาออกจากส.ส.เพื่อรักษาจุดยืนทางการเมือง

       อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :'อภิสิทธิ์' ประกาศลาออก แฟนคลับ ปล่อยโฮ

             2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

           2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

 

             2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
           การตั้งลำของ "ครม.เรือเหล็ก" ค่อนข้างวุ่นวายในช่วงต้นเพราะตอนแรกมีข่าวสารการจับขั้วการเมืองของเจ็ดพรรคร่วมฝ่ายค้าน (ตอนนั้นใช้ชื่อฝ่ายประชาธิปไตย) ที่ชิงแถลงก่อนว่าการคำนวณเบื้องต้นนั้นฝ่ายประชาธิปไตยมีเสียงข้างมากแล้ว โดยพรรคเพื่อไทยมีจำนวนส.ส.มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง สิทธิในการตั้งรัฐบาลควรอยู่ที่อาคาร OAI Tower แต่พรรคพลังประชารัฐก็อ้างว่าได้รับคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตมากที่สุดและมีสิทธิตั้งรัฐบาลเช่นกันและเมื่อผลการคำนวณส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ออกมา กลายเป็นว่าพปชร.กลับเป็นพรรคที่ชิงธงนำในการตั้งรัฐบาล เพราะตัวแปรการเมืองในวันนั้นคือ "พรรคประชาธิปัตย์ที่มีห้าสิบสามส.ส.และพรรคภูมิใจไทยที่มี 51 ส.ส.” ว่าจะแตะมือขั้วใดกันแน่ 

          2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
            แม้ตอนนั้น “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” หนึ่งในสามแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย โยนผ้าสละสิทธิ์การทำหน้าที่ สร.1 ให้พรรคใดก็ได้ที่ไม่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ แต่สุดท้ายไม่มีใครมาแตะมือกับสิ่งที่คุณหญิงหน่อยเสนอไป และมอบสิทธิการชิงเก้าอี้ประมุขฝ่ายบริหารให้ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ไปแทน และสุดท้ายลุงตู่คือผู้ที่มารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากกติกาหลักฉบับที่ 20

            2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
             ส่วนการตั้ง"รัฐบาลเรือเหล็ก"ที่หลายพรรคมาแตะมือแบบเสียงปริ่มน้ำ โดยเริ่มจากกระแสข่าวการชิงเก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะพปชร.อยากได้ตำแหน่งนี้ในฐานะแกนนำตั้งรัฐบาล แต่เมื่อเจอเงื่อนไขบางข้อเข้าไปส่งผลให้...“ชวน หลีกภัย” แกนนำ ปชป.เป็นผู้เข้าชิงแทน โดยแข่งขันกับ “สมพงษ์ อมรวิวัฒน์” ตัวแทนของพท.

           โดยที่ประชุมส.ส.เลือก "นายหัวชวน” มาทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่สองท่ามกลางเกมชิงไหวชิงพริบในตอนนั้นเพราะมีกระแสข่าวการต่อรองกันยันนาทีสุดท้ายว่า อาจจะมีการหักเหลี่ยมกันในวินาทีสุดท้าย

          2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

       2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
           ต่อมาคือการแย่งเก้าอี้ “รมต.” กันไม่เว้นวันบังเกิดขึ้น ซึ่งกว่าจะต่อรองกันจบก็เล่นเอาภาพลักษณ์ ครม.เรือเหล็กไม่ดีนัก รวมทั้งการตีรวนของพรรคจิ๋ว เช่น ไทยศรีวิไลย์ และประชาธรรมไทย จากนั้นมีกระแสข่าวซื้องูเห่าขั้วตรงข้าม, ลิงกินกล้วย, การปล่อยข่าวปรับบางพรรคที่ฝืนมติวิปรัฐบาลหลังเหตุสภาล่มสองวันซ้อน พ้นเรือเหล็กในเรื่องการตั้งกมธ.วิสามัญศึกษา การใช้คำสั่งและประกาศหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 จนเกิดคำขู่จาก 3 ป. เรื่องปรับ ครม.และยุบสภา จนเป็นที่มาของดินเนอร์หูฉลาม ณ สโมสรราชพฤกษ์ เพื่อเคลียร์ใจกัน

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
           ฉะนั้นภาวะเสียงปริ่มน้ำและไม่เป็นเนื้อเดียวกันเท่าที่ควรของรัฐบาลลุงตู่ 2 ในช่วงสถานการณ์ปีหน้าน่าจะมีอะไรตื่นเต้นกันอีก เพราะไม่ว่าจะเป็นการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, คดียุบพรรคสีส้ม, การลงมติร่างกฎหมายงบประมาณประจำปี 2563 และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม. ต่างๆ นานา

       อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :ศึกภายใน"รัฐบาลประยุทธ์ 2" เข้มข้น

          เหล่านี้คือปรากฏการณ์ในปีหน้าของคนไทยที่ต้องลุ้นว่าการเมืองจะไปรอดหรือไม่.. เพราะผลของการเมืองปี 2562 ยังมีอิทธิฤทธิ์และสัมพันธ์กับห้วงเวลาในปี 2563 แบบเลี่ยงมิได้...

2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

 

     2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง
 

        2562 เลือกตั้งสู่ประชาธิปไตย ปีแห่งความวุ่นวายการเมือง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ