คอลัมนิสต์

อวสาน3เคมีอันตราย เส้นตาย1ธ.ค.62ต้องสูญพันธุ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อวสาน3เคมีอันตราย เส้นตาย1ธ.ค.62ต้องสูญพันธุ์

 

 

          มาตรการแบน 3 สารเคมีอันตรายกำลังเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเริ่มเข้าสู่กระบวนการเรียกคืนและกำจัดทิ้งภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2562

 

อ่านข่าว...  แบน 3สารเคมีเกษตรแค่จุดเริ่ม จับตาสารทดแทน-ช่วยเกษตรกร

 

 

          ล่าสุดเมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 1511/2562 เรื่อง การดำเนินการกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้

 

 

อวสาน3เคมีอันตราย เส้นตาย1ธ.ค.62ต้องสูญพันธุ์

 


          ข้อ 1 วัตถุอันตรายตามคำสั่งนี้ หมายความว่า วัตถุอันตราย ไกลโฟเซต, ไกลโฟเซต-เซสควิโซเดียม, ไกลโฟเซต-โซเดียม, ไกลโฟเซต-ไดแอมโมเนียม, ไกลโฟเซต-ไตรมีเซียม, ไกลโฟเซต-โพแทสเซียม, ไกลโฟเซต-โมโนเอทิลแอมโมเนียม, ไกลโฟเซต-โมโนแอมโมเนียม, ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม, คลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส-เมทิล, พาราควอต พาราควอตไดคลอไรด์ และ พาราควอตไดคลอไรด์ บิส (เมทิลซัลเฟต) ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535


          ข้อ 2 ให้วัตถุอันตราย ตามข้อ 1 ที่อยู่ในความครอบครองก่อนวันที่ประกาศกำหนดให้วัตถุอันตรายนั้นเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ต้องแจ้งปริมาณที่มีไว้ในครอบครองภายใน 15 วัน นับแต่ประกาศกำหนดให้วัตถุอันตรายดังกล่าว เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้ 

 

 

 

 

อวสาน3เคมีอันตราย เส้นตาย1ธ.ค.62ต้องสูญพันธุ์

 



          กรุงเทพมหานคร แจ้งที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร 


          ภูมิภาค แจ้งที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา


          ข้อ 3 ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ส่งมอบวัตถุอันตรายดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แจ้งปริมาณการครอบครอง ดังนี้ 


          กรุงเทพมหานคร ส่งมอบที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร 


          ภูมิภาค ส่งมอบที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา 


          ทั้งนี้คำสั่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2562

 

 

อวสาน3เคมีอันตราย เส้นตาย1ธ.ค.62ต้องสูญพันธุ์

 


          มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าหลังจากนี้ รมว.อุตสาหกรรม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จะลงนามในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิดตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ ร้านจำหน่ายและเกษตรกรที่ครอบครอง 3 สารดังกล่าว ทราบวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจะประชุมสารวัตรเกษตรและอาสาสมัครสารวัตรเกษตรทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องข้อควรปฏิบัติหลังการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด โดยก่อนวันที่ 1 ธันวาคม ต้องไปให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ ร้านจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรให้ส่งคืนบริษัท


          “วันที่ 22 พฤศจิกายน จะประชุมสารวัตรเกษตรทั่วประเทศเพื่อรับทราบแนวทางในการลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกรและประชาชนที่มีสารทั้ง 3 ตัวในครอบครองว่าต้องไปส่งคืนบริษัทหรือร้านค้าหรือเอเย่นต์สายส่ง เพราะตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม เป็นต้นไป ใครครอบครองสารทั้ง 3 ตัวมีความผิดตามกฎหมายและโทษหนักจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นแสนเป็นล้านบาท จึงไม่อยากให้มีภาพเกษตรกรโดนจับเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์”


          รมช.เกษตรฯ แสดงความเป็นห่วงเกษตรกรที่อาจยังมีผู้ไม่รู้ว่าหลังจากนี้การมีสารเคมีทั้ง 3 ชนิดไว้ในครอบครองจะต้องถูกดำเนินคดี จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในทุกพื้นที่เร่งชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับเกษตรกร เพราะแม้จะโดยประมาทก็มีโทษปรับสูงไม่เกิน 800,000 บาท หากจงใจฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยได้เน้นย้ำว่า อย่าให้มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเกษตรกร


          นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว.) ได้ให้ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) 8 เขตทั่วประเทศแจ้งสต็อกล่าสุดของสารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ภายในพื้นที่ส่งให้ สคว.มาเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งให้จัดทำแผนการรับแจ้งและเก็บรวบรวมเพื่อจะนำเสนอคณะทำงานของกระทรวงติดตามการทำลายสาร 


          สำหรับค่าทำลายสารเคมีเป็นความรับผิดชอบของผู้ครอบครองตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย มาตรา 52 วรรคท้าย ซึ่ง รมช.เกษตรฯ ระบุชัดเจนว่าสารเคมีเหล่านั้นเป็นภาระบริษัทเอกชนที่นำเข้าต้องรับผิดชอบในการส่งกลับไปต้นทาง หรือการทำลายตามกฎหมาย และไม่สามารถเอาเงินหลวงไปใช้ในการทำลาย ดังนั้นวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ จะเชิญบริษัทค้าสารเคมีนำเข้า ส่งออก มาประชุมเพื่อจะได้กำหนดแนวทางการรับคืนสารเคมีจากเกษตรกร จากร้านผู้แทนจำหน่าย รวมทั้งการส่งออกกลับไปประเทศอื่นหรือประเทศต้นทาง เพราะหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ต้องไม่มีสารเหล่านี้ในประเทศไทยอีก 


          ขณะที่ เสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุก่อนหน้านี้ว่า กรมวิชาการเกษตรได้สำรวจปริมาณวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดจากร้านค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าทั่วประเทศ พบว่าปัจจุบัน ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 มีจำนวนคงเหลือประมาณ 38,855 ตัน คาดว่าภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 จะมีวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายส่งมอบให้กรมวิชาการเกษตรนำไปทำลายตามหลักวิชาการที่ถูกต้องในจำนวนที่ลดลงกว่านี้ เนื่องจากในช่วงระหว่างนี้ร้านค้ายังสามารถจำหน่ายสารทั้ง 3 ชนิดให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการอบรมตามมาตรการจำกัดการใช้ได้จนกว่าจะถึงวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ