คอลัมนิสต์

กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สังคมให้ความสนใจ เมื่อเด็กหญิงเผยว่า ตัวเองถูกว่าจ้างให้ทำกระทงการ์ตูนแล้วถูกจับเรื่องลิขสิทธิ์.. ทำไมมันดูเหมือนเป็นขบวนการตบทรัพย์ ล่อลวงให้ทำผิดแล้วแจ้งจับ

            กระแสสังคมพุ่งเป้าความสนใจมาอยู่ที่ กรณีผู้รับมอบอำนาจถือลิขสิทธิ์แจ้งตำรวจจับเด็กหญิงวัย 15 ปี ฐานทำกระทงลวดลายการ์ตูนที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท เลยถูกจับปรับขั้นต่ำ 50,000 – 400,000 บาท จำคุก 3 เดือน-2 ปี

            แต่เมื่อนำตัวมาที่ สภ.เมือง นครราชสีมา การรุมล้อม เจรจา ต่อรองกับผู้ปกครอง จนจบที่ 5,000 บาท แลกกับการถอนแจ้งความ
            แต่เรื่องที่สังคมให้ความสนใจ เพราะเด็กหญิง ให้สัมภาษณ์ว่า ตัวเองถูกว่าจ้างให้ทำกระทงการ์ตูนลายนี้ แล้ววางเงินมัดจำ นัดหมายให้เอากระทงมาส่ง แล้วก็ถูกเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์จับ
           แบบนี้มันใช่การจับกุมแบบถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม ตามหลักการจับกุมลิขสิทธิ์หรือไม่ ทำไมมันดูเหมือนเป็นขบวนการตบทรัพย์ ล่อลวงประชาชนให้กระทำความผิดแล้วเรียกออกมาให้จับ
         ยิ่งเรื่องถูกตีแผ่ จำนวนผู้เสียหายที่ถูกกรรโชกจากคนกลุ่มนี้ยิ่งมีจำนวนมากขึ้น ถูกดำเนินการในลักษณะแบบเดียวกันหมด เฉพาะในพื้นที่ สภ.เมืองนครราชสีมากว่า 10 คน  จนคนไทยทั้งประเทศให้ความสนใจว่า วันนี้ มันมีกลุ่มบุคคลที่หากินกับใบมอบอำนาจให้จับลิขสิทธิ์ เอาไปหากิน จะกินเดี่ยวๆ หรือจะกินแบบที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่นั้น อันนี้ ผู้เกี่ยวข้องก็ต้องไปหาคำตอบ
        แต่ที่น่าดีใจ เมื่อผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนักกฎหมาย ก็ต่างยื่นมือให้ความช่วยเหลือเด็กหญิงวัย 15 ที่ตกเป็นเหยื่อ และให้แง่คิด มุมมอง ในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า เรื่องนี้ใครเป็นคนผิด

        นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 

         กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์

        "กรณีเด็กหญิงวัย 15 ปีถูกตัวแทนลิขสิทธิ์ล่อซื้อจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์จากกรณีประดิษฐ์กระทงตัวการ์ตูนต้องจ่ายค่าปรับ 5,000 บาท ว่า ได้สั่งการให้ยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ช่วยเหลือเด็กคนดังกล่าวแล้ว และเบื้องต้นทราบว่าบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่เคยมอบอำนาจให้บุคคลใด ๆ จับลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย ดังนั้น การเรียกค่าปรับลิขสิทธิ์จึงเข้าข่ายกรรโชกทรัพย์ที่เยาวชนและผู้ปกครองสามารถแจ้งความเอาผิดได้ "
       ชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา

        กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
    “ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือได้รับมอบอำนาจตามกฎหมาย เท่ากับว่าอนุญาตให้เด็กใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ดังกล่าว เด็กจึงไม่มีความผิด เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกค่าเสียหายจากเด็ก จึงมีความผิดฐานกรรโชก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
        อนึ่งมีข่าวว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นยืนยันว่าไม่ได้มอบอำนาจให้บุคคลใดไปจับกุมผู้นำตัวการ์ตูนไปใช้ หากข่าวนี้เป็นความจริง แสดงว่าผู้ไปว่าจ้างเด็กไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะไปจับกุมหรือแจ้งความดำเนินคดีแก่เด็ก"

           เดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความจากเพจทนายคลายทุกข์

       กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
      “การล่อซื้อเด็กเพื่อจับลิขสิทธิ์ถือเป็นวิธีการที่สกปรกที่สุด เด็กอายุ 15 ปีถือว่าอายุน้อยมากอย่างแยกไม่ออกระหว่างการทำมาหากินกับการกระทำความผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายที่สร้างสรรค์ไม่ใช่เอามาเป็นเครื่องมือในการตบทรัพย์ ส่วนการข่มขู่เรียกเงิน 50,000 บาทอาจมีความผิดฐานกรรโชกได้ เพราะการจับลิขสิทธิ์จะต้องส่งดำเนินคดีไม่ใช่ตบทรัพย์”

      รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความ ทนายคู่ใจ

            กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
     “การทำตัวการ์ตูนมาทำกระทงเป็นการดัดแปลงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กรณีตามข่าวถูกจ้างให้ทำกระทง เมื่อเสร็จตามสั่งและนำไปส่งก็ถูกจับ ถือว่าเป็นการล่อซื้อ เคยมีคดีลักษณะนี้สู้กันมาถึงศาลฎีกา เมื่อฝ่ายผู้เสียหายว่าจ้างให้จำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิติ และหลักฐานต่างๆ ถือเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9600/2554)”
.
      รัชพล ศิริสาคร ทนายความ สายตรงกฎหมาย ยึดมั่นความยุติธรรม

            กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
     "เจ้าของลิขสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ว่าทำถูกต้องแล้ว ถ้าเด็กทำผิดจริง แค่ตักเตือนเด็กก็คงไม่กล้าแล้ว ไม่เห็นต้องไปจับกันขนาดนั้นเลย  ส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นหลายคนยังสงสัยว่า ทำไมบริษัทนึงบอกว่า ไม่ได้มอบอำนาจให้มาจับ แต่อีกคนบอกว่า ได้รับมอบอำนาจ อธิบายได้ก็คือ ญี่ปุ่นอาจจะจ้าง 2 บริษัท บริษัทที่ 1 ดูแลการตลาดจึงไม่ได้มอบหมายให้ใครไปจับ ส่วนบริษัทที่ 2 มีหน้าที่จับอย่างเดียว ฟังแล้วอาจดูขัดกัน แต่มันก็คือเรื่องที่น่าจะเป็นไปได้
       ส่วนการล่อซื้อนั้น อย่าลืมว่า การที่จะไปจับได้ ต้องอาศัยการแจ้งความของบริษัทที่ 2 ดังนั้น ถ้าบริษัทที่ 2 จะบอกว่าไม่รู้เรื่องในการล่อซื้อ มันก็ไม่น่าจะปักใจเชื่อ เพราะถ้าคุณอยู่ในวันที่เค้าไปจับ ก็จะเกิดคำถามว่า ถ้าคุณไม่ได้เกี่ยวข้องแล้วคุณไปทำอะไรที่นั่น?
       การจับลิขสิทธิ์ น่าจะไปจับพวกโรงงานผลิต ผู้ผลิตรายใหญ่ มากกว่าที่จะมาจับผู้ค้าที่หาเช้ากินค่ำ ทุกวันก็แทบจะไม่มีรายได้อยู่แล้ว ผู้จับจึงควรมีเมตตาและนึกถึงหลักมนุษยธรรมด้วย ไม่ใช่เอาแต่ใช้กฎหมายอย่างเดียว..."

       นายธวัชชัย ไทยเขียว อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

      กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
     "กระบวนการล่อซื้อ พร้อมเรียกเงินค่าปรับจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นการไกล่เกลี่ยกับเด็กที่อายุขนาดนั้น นอกจากทำให้เด็กขวัญกระเจิงแล้ว ยังเป็นฝังภาพแผลเป็นทางจิตใจที่ไม่มีวันลืม  แต่ควรเริ่มต้นด้วยกระบวนการอย่างอื่นก่อนวิธีการล่อซื้อและจับเพื่อไกล่เกลี่ยก่อนจะได้หรือไม่ฝากให้ช่วยกันคิดต่อ"
      พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

       กระทงการ์ตูนสำแดงผลบทเรียนจับลิขสิทธิ์สุจริตหรือกรรโชกทรัพย์
     " ชัดเจนพวกนี้เป็นขบวนการซื้อขายลายเซ็นมอบอำนาจ ให้เอาไปหากินโดยมิชอบ จะใช้โอกาสนี้ล้างบางพวกหากินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และจะสอบวินัยตำรวจที่เกี่ยวข้องและปรับวิธีการของตำรวจในการดำเนินการเรื่องลิขสิทธิ์ใหม่ทุกโรงพักทั่วประเทศ"

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ