คอลัมนิสต์

ซีพี ลงขัน4พันล้านตั้งบริษัทเซ็นสัญญาไฮสปีด 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กลุ่มซีพี ยื่นจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใต้ชื่อ "บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้าน

            การลงนามสัญญาประวัติศาสตร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท ระยะทาง 220 กิโลเมตร ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ในวันนี้ (24 ต.ค. 2562 )

           ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา กลุ่มซีพี ได้ยื่นจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ "บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท แจ้งวัตถุประสงค์ประกอบกิจการและ/หรือลงทุนในกิจการขนส่งทางราง และ/หรือการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ที่อยู่เลขที่ 313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

        "บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด" มีกรรมการ 9 คน ประกอบด้วย1.นายศุภชัย เจียรวนนท์2.นายนพปฎล เดชอุดม  3.นางโป หง 4.หม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล5.นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข 6.นายชาติวุฒิ ตันจันทร์พงศ์  7.นายเปรมชัย กรรณสูต    8.นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล9.นายเหล่ย จั๋ว ส่วนกรรมการลงชื่อผูกพัน กำหนดให้กรรมการกลุ่มที่ 1 คนใดคนหนึ่ง ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการ กลุ่มที่ 2 คนใดคนหนึ่ง รวมเป็นสองคน และประทับตราสำคัญของบริษัท

       สำหรับกรรมการกลุ่มที่ 1 ได้แก่ นายศุภชัย เจียรวนนท์, นายนพปฎล เดชอุดม,นางโป หง และหม่อมหลวงสุภสิทธิ์ ชุมพล

       ส่วนกรรมการกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข,นายชาติวุฒิ ตันจันทร์พงศ์,นายเปรมชัย กรรณสูต, นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล และนายเหล่ย จั๋ว / บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด

                           ซีพี ลงขัน4พันล้านตั้งบริษัทเซ็นสัญญาไฮสปีด 
         

         การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดตามเอกสารคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน หมวดที่ 10 ข้อ 59 "การจัดตั้งนิติบุคคลใหม่”ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการนโยบายได้ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว เอกชนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านการเจรจาแล้วจะต้องจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจใหม่ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (Special Purpose Vehicle, SPV) และต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5  ของทั้งหมด โดยที่ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้างชำระมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ตามที่กฎหมายไทยกำหนด เพิ่มทุน2.5หมื่นล้านก่อนเปิดบริการ

          นอกจากนี้ยังกำหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ในวันลงนามในสัญญาร่วมลงทุน และก่อนเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ จะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท โดยที่ภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมทุนแล้ว นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายไทยตลอดระยะเวลาของโครงการฯ นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น(Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 4 ต่อ 1 เว้นแต่ระยะเวลาในช่วงที่ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดวางหลักประกันเพิ่ม4.5พันล้าน

        ขณะที่ “หมวดที่ 8 หลักประกันสัญญาและหนังสือรับประกัน”ยังกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับรฟท. ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนเป็นมูลค่าเท่ากับ 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงสำหรับหลักประกันสัญญาเงื่อนไขกำหนดว่า ต้องออกโดยสถาบันการเงินของไทย หรือธนาคารพาณิชย์ของไทยหรือธนาคารในต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย และออกโดยสาขาในประเทศไทยเท่านั้น หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจไทยจ่ายค่าต๋งลงนามสัญญา80ล้าน

           ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกต้องชำระค่าธรรมเนียมการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนเป็นเงินทั้งหมด  80 ล้านบาทรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยชำระเป็นเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายในนามการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 40 ล้านบาทและแบ่งจ่ายชำระให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นจำนวนเงิน 40 ล้านบาท ณ วันที่ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ