คอลัมนิสต์

วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อดีตรัฐมนตรี-นักการเมือง-นักวิชาการ ห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

    15 ต.ค.62 - โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถ.ราชดำเนิน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และสภาที่ 3 จัดเสวนาหัวข้อ "งบประมาณพัฒนาประเทศได้จริงหรือ..? " มีอดีตรัฐมนตรี นักการเมือง นักวิชาการ และภาคประชาชน ร่วมนำเสนอข้อมูล      โดยฝั่งอดีตรัฐมตรี และนักการเมือง "นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช" อดีต รมว.คลัง ยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน ได้กล่าวถึงข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับการจัดงบประมาณไว้ว่า ประเทศเล็กๆ อย่างเราไม่ควรมี 2 สภา วุฒิสภาไม่จำเป็น และ ส.ว.ที่มีก็เป็นการแต่งตั้งมาซึ่ง ส.ว.ปัจจุบันไม่ใช่ตัวแทนของประชาชน ถ้ายกเลิกส่วนนี้ตัวอย่าง 5 ปี จะปรับงบได้ถึง 5.5 พันล้านบาท ขณะที่ในการทำงบประมาณต่อไปรัฐบาลก็ควรทำแบบตั้งฐานเป็นศูนย์ไว้ก่อน แล้วตั้งคำถามก่อนว่างานที่จะจัดสรรงบนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ แค่ไหน ไม่ใช่ว่าจัดงบให้แบบ 5% หรือ 7% หรือตัวอย่างที่ไปศูนย์ราชการ มีองค์กรพิเศษเต็มไปหมดเลย ไม่รู้ว่าทำอะไรบ้าง 

วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด
 
 

    วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

       ซึ่งการตั้งงบประมาณนั้น รัฐบาลควรจะ 1.เพื่อป้องกันประเทศ 2.รักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ มีตำรวจ , อัยการ , ศาล  3.การทำโครงสร้างบริการพื้นฐานใหญ่ๆ เช่น การดูแลภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม ขจัดความยากจนเหลื่อมล้ำรายได้จริงๆ หากอยากฟื้นเศรษฐกิจ 1.ก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ลงทุนทั้งใน-ต่างประเทศ โดยความเชื่อมั่นผู้นำจะเป็นแบบผู้ที่ยึดอำนาจมาเขาจะเชื่อมั่นได้อย่างไร  2.ต้องใช้นโยบายอย่างอื่น เช่น นโยบายการเงิน-อัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ดีหากเปรียบงบประมาณปัจจุบัน ก็เหมือนเป็นของศักดินาโดยศักดินา และเพื่อศักดินา

       ทั้งนี้หากต้องการจะแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ก็ต้องลดงบสมดุล ปี 2563 ลงอีก , ลดลงภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% เงินจะอยู่ในมือประชาชน ประมาณ 1.2 แสนล้าน ส่วนปัญหายากจนก็ต้องแก้ไขโดยให้เกิดการแข่งขัน ขณะที่รัฐสวัสดิการ ก็ลองให้เก็บเงินเพิ่มอีกแบบคล้ายประเทศสิงคโปร์ คือให้เก็บเงินออมตั้งแต่หนุ่ม-สาว แล้วให้รับเงินเมื่อถึงวัยชรา โดยรัฐเป็นผู้เก็บให้แต่ห้ามใช้เงิน ก็จะไม่เป็นลักษณะที่ต้องอ้อนวอนรัฐอยู่เหมือนขณะนี้ ซึ่งหากยังต้องอ้อนวอนรัฐอยู่ก็จะเป็นรัฐศักดินาไปอีกนาน และอย่างการบริหารให้ประเทศ มี 10 กระทรวงก็พอ มีแต่ ส.ส. ไม่ต้องมี ส.ว.  

วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

      ด้าน "นายพิชัย นริพทะพันธุ์" อดีตผู้สมัคร ส.ส.ทษช. และ อดีต รมว.พลังงาน ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวตั้งข้อสังเกตุนโยบายของรัฐบาลที่มีลักษณะแจกเงินว่า หลักคิดนั้นเหมือนผิดที่ผิดทาง ไม่มีประเทศไหนในโลกที่แจกเงินแล้วประเทศเจริญ มีแต่ประเทศเจริญแล้วถึงจะแจก หรืออย่างประเทศญี่ปุ่นเขาเคยอาจทำแต่ไม่มีประโยชน์แล้วเขาก็ไม่ทำ โดยสิ่งที่ต้องรื้อคือการมาคิดว่าจะช่วยพัฒนาประเทศอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ตนห่วงที่สุดและอยากเตือนคือ การสร้างความน่ากลัว อย่างการสร้างผีในอดีต สร้างผีทักษิณ สร้างผีคอมมิวนิสต์ ทำประเทศก็เสียหายเยอะแยะแล้วยังจะสร้างผีอนาคตใหม่ สร้างผีธนาธร ถ้าทำลายอนาคตใหม่ หรือนายธนาธร เดี๋ยวก็มีใหม่ขึ้นมาอีก ดังนั้นหากยังจะสร้างผีอย่างนี้อยู่ จะจัดงบประมาณอย่างไรก็ไม่ได้ผล ประเทศเราไม่ได้แย่ งบประมาณของเรายังมีแต่ไม่ใช่นำไปซื้อเรือดำน้ำ สไตรเกอร์ ควรนำมาสร้างคนพัฒนาประเทศ และโครงสร้าง

        โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความสามารถในการแข่งขันลดลงแม้ใช้เงินเยอะแยะ แต่ก็สร้างหนี้สาธารณะรวมงบประมาณปีนี้ด้วย เกือบ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งอีกไม่นานเราอาจเห็นประเทศเวียดนามพัฒนาแซงเราหากเราไม่พัฒนา ขณะที่เราไม่มีบริษัทเทคโนโลยีที่จะพัฒนาไปได้อีก ยกตัวอย่างการพัฒนานะบบขนส่งแก๊ส กับกัมพูชาเราอาจจะได้เงินนับแสนล้านมาช่วยพัฒนาประเทศ โดยเราควรเลิกคิดวาทะกรรมการรบแต่คิดเรื่องจะพัฒนาประเทศดีกว่า

วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

      ขณะที่ "นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวสถิติต่างๆ ว่า เมื่อดูตัวเลขการใช้กำลังการผลิต ตกลงมาในเดือน มิ.ย.62 ลักษณะกราฟชัน และการถูกเลิกจ้างมีมากกว่าในอดีต ขณะทีเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วมก็ยังซ้ำเติมชาวนาเงินลงทุนก็หายไปพร้อมกับสายน้ำ มีหนี้สินทบเพิ่มขึ้น และกดทับศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจ ส่วนความสามารถการเบิกจ่ายเงินของรัฐ การลงทุน ช่วงปี 2548-2555 ตัวเลขการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐอยู่ที่ประมาณ  60-70% แต่พอปี 2558-2562 โดยเฉลี่ยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยกระทรวงหนึ่งที่น่าสนใจคือ กระทรวงกลาโหม เดี๋ยวไว้รออภิปรายในสภา ขณะที่เมื่อดูถึงงบประมาณลงทุนด้านจัดการด้านสิ่งแวดล้อมการจัดการขยะ และการแก้ปัญหามลพิษ จาก 416 ล้านบาทเหลือเพียง 111 ล้านบาท คิดเป็น 26%

        ทั้งนี้ถ้านำปัญหาของประเทศมาวางไว้ โจทย์ที่ต้องแก้ คือ 1.เรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ-ความมั่นคงของชีวิต 2.ระบบราชการที่รวมศูนย์ 3.ปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซา 4.ความสามารถในการแข่งขันว่าประเทศไทยจะอยู่ไหนในโลกาภิวัฒน์ 5.ปัญหาประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ โดยงบประมาณปี 2563 ไม่ได้ตอบโจทย์ โดยควรมีฐานใหม่ที่ต้องคิดพัฒนาประเทศ มีหลัก คือ 1.ต้องลดงบดำเนินการลงแล้วเอาไปเป็นงบลงทุน สำคัญมากเพราะประเทศไทยมีการลงทุนน้อยเกินไปทำให้สาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ได้รับการพัฒนา เช่น โรงพยาบาล 2.เปลี่ยนจากการตัดสินใจใช้งบที่รวมศูนย์ส่วนกลาง ให้เป็นการกระจายสู่ท้องถิ่น โดยเมกกะโปรเจกต์(โครงการขนาดใหญ่) ก็ยังสำคัญอยู่ แต่ที่สำคัญด้วยคือ การลงทุนเพื่อคนทุกคน investment for all   3.สร้างสวัสดิการ สร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชน คือการขยับสวัสดิการแบบอนาถา ให้เป็นการสร้างสวัสดิการแบบถ้วนหน้า โดยงบประมาณ คือตัวแทนความฝัน เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความฝันนั้น โดยการตั้งบประมาณครั้งนี้ ยังไม่เห็นถึงความฝันของผู้กำหนดงบประมาณ ไม่มีงบประมาณเรื่องพรรคเมืองอยู่ด้วย ไม่มีอำนาจของประชาชนเข้าไปแตะงบประมาณไม่ได้เพราะพรรคการเมืองเข้มแข็งไม่พอ แต่คนกำหนดงบคือพรรรคราชการ จึงเหมือนเป็นนโยบายที่ไม่มีความฝัน ไม่มีความไว้วางใจประชาชน

วงเสวนาห่วงร่างงบปี 63 ซ้ำเติมปัญหาประเทศ จัดไม่ถูกจุด

      ฟากนักวิชาการและภาคประชาชน เริ่มต้นที่ "นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด" อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวถึงประเด็นปัญหาการเกษตรว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดเมื่อได้มเข้ามาบริหาร เราก็อยากให้ช่วยแก้ปัญหา ขณะนี้เรามีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดยมี 800,000 รายที่ไม่มีที่ดินทำกิน และมีเกษตกรที่เช่าที่ดินประมาณ 1 ล้าน -1.5 ล้านราย ส่วนงบที่จัดสรรแก้ไขปัญหาที่ดิน ในปี 2563 มีการวางเป้าจะให้มี จำนวนผู้ที่มีที่ดินทำกิน สปก.เพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นราย ตัวเลขก็ถือว่ายังไม่มากนัก  ส่วนกรมป่าไม้ ก็ช่วยพื้นที่ที่ดินของรัฐประมาณ 200,000 ไร่ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะได้กันกี่ราย ขณะที่จำนวนงบประมาณตัวอย่างธนาคารที่ดินได้รับงบประมาณ 39 ล้านบาทในการแก้ปัญหากระจายการถือครองที่ดิน ซึ่งหากเทียบกับการใช้งบไปจัดงาน Expo บางครั้งใช้มากถึง 400 ล้านบาท ก็จะเห็นว่างบในการแก้ปัญหาที่ดินไม่ถึง 100 ล้านบาท และงบประมาณเศษฐกิจการเกษตรถือว่าน้อยมาก ดังนั้นตนเสนอว่างบการเกษตรนั้นสำคัญมาก

      ขณะที่เรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตัวเลขความเสียหาย เชิงเศรษฐกิจประมาณ 8.7 แสนล้านบาท ส่วนงบที่ใช้ในกรมควบคุมมลพิษมี 15 ล้านบาท ส่วนกรมป่าไม้ 120 ล้านบาท , กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีประมาณ 177 ล้านบาท , กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 56 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่แต่เราได้รับการดูแลจากรัฐบาลน้อยมาก หากเทียบงบประมาณด้านสิ่งแวเล้อมกับทั่วโลก กับ EU เราต่างถึง 10 เท่า นี่คือสิ่งที่ต้องระวังไว้ที่จะถูกละเลยไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาแก้ไขปัญหา ต่างจากการที่ให้ความสนใจใช้งบ "ชิม ช็อป ใช้" 

      ขณะที่ "นายนิติรัฐ ทรัพย์สมบูรณ์" ผู้ประสานงนเครือข่ายเพื่อรัฐสวัสดิการเท่าเทียมและเป็นธรรม We fair กล่าวถึงประเด็นรัฐสวัสดิการว่า จากที่ได้รับทราบรู้สึกน่าผิดหวังมาก ทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรคฝ่ายค้าน เพราะติดว่าเมื่อมีการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกันสูงแล้วแต่ไม่พบว่านโยบายและเจตจำนงค์เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ ไม่พบในร่างบประมาณครั้งนี้อย่างที่หวัง

        โดยคิดว่าการจัดทำงบประมาณก็ทำตามที่รัฐราชการกำหนด ซึ่งโจทย์สำคัญของสังคมที่จริงก็คือความเหลื่อมล้ำการเมือง ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสิทธิต่างๆ พร้อมๆกัน เช่น ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเรื่องการเข้าเรียน ซึ่งแม้จะมีรัฐธรรมนูญให้เรียนฟรี ก็ถึงแค่ ม.3 หรือสัดส่วนความเหลื่อมล้ำทางการแพทย์ ในอีสานมีถึงแพทย์   1 คน ต่อผู้ป่วย 5,000 ราย ใน จ.บึงกาฬ  ซึ่งร่างงบนี้ก็ไม่ได้ตอบจะแก้ปัญหาสัดส่วนหมอ-คนไข้ อย่างไร ส่วนเบี้ยยังชีพเป็นที่มาหลักของผู้สูงอายุ ร่างงบนี้ก็ไม่มีเจตจำนงจะพาไปสู่การดูแลไม่ทอดทิ้งกัน แล้วนโยบายหาเสียงไปไหนหมด ทั้งของพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ทั้ง มารดาประชารัฐ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชน การเรียนฟรี ถึง ปวส. การเรียนฟรีออนไลน์ บ้านล้านหลังประชารัฐ  เรื่องค่าแรง 400-425 บาท งบกระทรวง

       ขณะที่งบกระทรวงที่พิ่มขึ้น 5 อันดับ คือ กระทรวงมหาดไทย , กระทรวง พม. , กระทรวงแรงงาน , กระทรวงการคลัง ,  กระทรวงกลาโหม 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ