คอลัมนิสต์

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจั คอลัมน์... ชูธงทวนกระแส  โดย...  พรานข่าว 

 

 

 

          ผ่านไปแล้ว งานรำลึกครบรอบ 43 ปี 6 ตุลา 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งปีนี้มีการจัดนิทรรศการ “ประจักษ์ | พยาน” มีการนำหลักฐานบางชิ้นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มาจัดแสดงเช่น ประตูแดง นครปฐม ที่เป็นสัญลักษณ์สะท้อนความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้นำแรงงาน, ลำโพงวันที่ 6 ตุลา ที่มีร่องรอยของกระสุนปืนลูกซอง รวมถึงเครื่องแต่งกายของ ดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ที่ใส่เข้าร่วมชุมนุมและเสียชีวิตในเหตุการณ์  

 

 

          หลักฐานทั้งหมดจะถูกรวบรวมในโครงการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งข้อมูล เพื่อขยายพื้นที่ความเข้าใจของคนในสังคม

 

 

 

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

 


          ผู้ประสานงานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา แถลงว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องอดีต แต่เป็นเรื่องของปัจจุบัน เราอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และผู้ที่สนใจ มีส่วนร่วมในการจัดแสดง ทั้งหลักฐาน สิ่งของ วัตถุ เรื่องเล่า มาจัดกิจกรรมการศึกษา เช่น นิทรรศการ เสวนาและเวิร์กชอบ เพื่อให้เรื่องราวของวันที่ 6 ตุลา ได้ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง


          "พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา” เป็นความคิดริเริ่มที่ดี แต่อยากฝากให้มีการนำเรื่องราวใน “ปีกซ้าย” มาบันทึกไว้ด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งในสายธารประวัติศาสตร์ช่วง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519


          ดังที่รู้กัน ผลของกรณี 14 ตุลาคม ทำให้ประชาชนไทยได้รับสิทธิเสรีภาพ และนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐสภา และก่อให้เกิดความตื่นตัวด้านสิทธิประชาธิปไตยครั้งใหญ่แก่ประชาชนทุกระดับ 

 

 

 

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

งาน 43 ปี 6 ตุลา

 


          การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษายังดำเนินต่อไป โดยทิศทางเปลี่ยนจากการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยไปสู่เป้าหมายอื่นมากยิ่งขึ้น รวมถึงปัจจัยที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลา เช่นการเฟื่องฟูของอุดมการณ์สังคมนิยม 


          คนรุ่นไหนก็ตามที่ศึกษาประวัติศาสตร์ ด้วยหัวใจเปิดกว้าง ย่อมไม่ปฏิเสธการมีอยู่จริงของ “ขบวนการซ้ายไทย” และการเคลื่อนไหวใต้ดินของ “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” 




          เนื่องจากชัยชนะของกรณี 14 ตุลา ทำให้การผูกขาดทางความคิดโดยรัฐพังทลายลง และเป็นครั้งแรกที่สังคมไทยมีเสรีภาพทางความคิดเต็มที่ ความรู้และความคิดแบบสังคมนิยมที่เคยเป็นความคิดต้องห้ามมาแต่การรัฐประหาร 2500 จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

 

 

 

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

 


          รูปธรรมที่เห็นชัดเจนคือนิทรรศการจีนแดง โดยองค์การนักศึกษาธรรมศาสตร์ ที่หอประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 23-29 มกราคม 2517 มีผู้คนเข้ามาชมล้นหลาม จนต้องขยายวันจัดงานออกไป


          นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่เสนอความรู้เกี่ยวกับจีนและแนวทางสังคมนิยม พิมพ์เผยแพร่ในนามสำนักพิมพ์ต่างๆ เปรียบประดุจร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันแข่งใจ เช่น  คติพจน์เหมาเจ๋อตง, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง, โฉมหน้าจีนใหม่ และอื่นๆ อีกมาก


          มินับรวมหนังสือแนวทฤษฎีการเมืองที่อ่านเข้าใจยากอย่าง คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต์, หลักลัทธิเลนิน และแนวคิดสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก


          เรื่องที่เกี่ยวกับการต่อสู้ของประชาชนอินโดจีนก็มีจัดการพิมพ์รวมเล่มออกมาขาย และหนังสือที่ขายดีเล่มหนึ่งคือ เช กูวารา นายแพทย์นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2516 และต้องตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง


          ต้นปี 2519 การปะทะทางความคิดระหว่าง “ปีกซ้าย” กับ “ปีกขวา” มีความแหลมคมและรุนแรงขึ้น ได้เกิดปรากฏการณ์ “หนังสือเล่มเล็ก” ราคาเล่มละ 2-5 บาท วางขายอยู่ข้างหอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ และตามเวทีการชุมนุมมวลชน

 

 

 

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

 


          มีข้อน่าสังเกตว่า หนังสือเหล่านี้รวบรวมมาจากเอกสารเผยแพร่ในวงปิดลับ เช่น “หนทางการปฏิวัติไทย เอกราช ประชาธิปไตยที่แท้จริง มิใช่จะได้มาด้วยการลัทธิปฏิรูป หากด้วยการปฏิวัติ”, “ใต้ธงปฏิวัติ”, “การปฏิวัติประเทศไทย”, “สงครามปฏิวัติ”, “วีรชนปฏิวัติ” และ “นอร์แมน เบทูน นายแพทย์นักรบจิตใจสากลนิยมผู้ยิ่งใหญ่”


          หนังสือเล่มเล็ก มีเนื้อหายกย่องการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในเขตป่าเขา ว่าเป็นแนวทางเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทยได้อย่างถึงรากถึงโคน 


          เมื่อเราตัดสินใจเดินหน้าชำระประวัติศาสตร์ ก็ควรศึกษาให้ครบทุกด้าน มิใช่เจาะจงเอาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 มิได้เกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีที่มาที่ไป
 

 

 

อีกด้านของ 6 ตุลา คือความคิดซ้ายจัด 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ